พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดีของบุคคลที่ไม่ได้เป็นทนายความ การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามกฎหมาย
มูลเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกอุทธรณ์ของจำเลย เนื่องจาก ส. ขณะทำคำแก้อุทธรณ์และอุทธรณ์ไม่ปรากฏว่าเป็นทนายความ จึงต้องห้ามมิให้เป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์และอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคำคู่ความและคำฟ้องอุทธรณ์ตามลำดับที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ในส่วนคำแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขคำแก้อุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ในส่วนอุทธรณ์เมื่อจำเลยอุทธรณ์โดย ส. ผู้รับมอบอำนาจจำเลยลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียง และผู้พิมพ์ เช่นเดียวกันกับคำแก้อุทธรณ์ของจำเลย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 ถือเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ให้อำนาจแก่ศาลที่จะสั่งให้จำเลยแก้ฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้ แต่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะเพิกถอนการรับฟ้องอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาใหม่ หรือศาลอุทธรณ์ภาค 9 ดำเนินการเสียเองให้จำเลยแก้ไขให้ถูกต้องก่อนก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียว จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่ข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นฎีกาว่า จำเลยโดย ส. ผู้รับมอบอำนาจได้ยื่นใบแต่งทนายความแต่งตั้ง ส. ให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้แล้ว อันไม่จำต้องดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการกระทำชำเราเด็ก: ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและลงโทษฐานสนับสนุน แม้ฟ้องเป็นตัวการ
จำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุขณะโจทก์ร่วมที่ 1 ถูกกระทำชำเรา แม้มิได้ร่วมกระทำชำเราด้วย แต่ก็มิได้ขัดขวางหรือห้ามปราม กลับได้ความว่าจำเลยมอบถุงยางอนามัยให้แก่ ต. ก่อนที่ ต. จะเข้าไปกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 ทั้งเมื่อบุคคลอื่นจะเข้าไปช่วยเหลือโจทก์ร่วมที่ 1 จำเลยกลับดึงแขนอันเป็นการขัดขวางมิให้บุคคลนั้นเข้าไปช่วยเหลือ พฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่พวกของจำเลยกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 ก่อนกระทำความผิด จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการกระทำความผิด แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องก็ตาม แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้เพราะโทษเบากว่าความผิดฐานเป็นตัวการ ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการกระทำความผิด แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องก็ตาม แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้เพราะโทษเบากว่าความผิดฐานเป็นตัวการ ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยสนับสนุนการกระทำชำเราเด็กหญิง ศาลแก้โทษเป็นผู้สนับสนุน ลดโทษตามกฎหมาย
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยคบคิดกับพวกที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ทั้งขณะพวกของจำเลยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์และมิได้ร่วมกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการกระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง แต่การที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปให้พวกของจำเลยกระทำชำเรา และมิได้ช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 หรือห้ามปรามพวกของจำเลย เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่พวกของจำเลยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ก่อนกระทำความผิด จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ เพราะโทษเบากว่าความผิดฐานเป็นตัวการ และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้ว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ศาลฎีกายกฟ้องและยกคำขอชดใช้ค่าเสียหาย
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยในความผิดฐานนี้จึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 หรือไม่ และยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย ศาลฎีกาก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยในข้อหาความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3851/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นผู้อื่นและการเปลี่ยนแปลงฐานะหน่วยงาน: ผลกระทบต่อความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
ภายหลังจากจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ได้มี พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2559 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2541 โดยมาตรา 5 วรรคสอง ให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น ดังนั้น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงเป็นองค์การมหาชนที่แยกออกจากระบบราชการ หาใช่ส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง ทบวง กรมของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกต่อไปไม่ และตาม ป.อ. มาตรา 1 (16) บัญญัติว่า "เจ้าพนักงาน" หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2559 มิได้กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เสียหายซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่ตรวจข้อมูลข่าวสารก็หาใช่การปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ ผู้เสียหายจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น แม้จำเลยจะดูหมิ่นผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยดูหมิ่นผู้เสียหายในฐานะบุคคลธรรมดา ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบของความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าตาม ป.อ. มาตรา 393 (เดิม) แล้ว ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่โจทก์ฟ้องคดีและได้ตัวจำเลยมายังศาลเกิน 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยดูหมิ่นผู้เสียหายในฐานะบุคคลธรรมดา ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบของความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าตาม ป.อ. มาตรา 393 (เดิม) แล้ว ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่โจทก์ฟ้องคดีและได้ตัวจำเลยมายังศาลเกิน 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค การชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเกินอัตรา อำนาจฟ้อง และเหตุบรรเทาโทษ
ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันออกเช็คธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคาร ก. สาขาบางรัก ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น ย่อมแสดงว่า ธนาคาร ก. สาขาบางรัก มิได้เป็นผู้จ่ายเงินตามเช็คให้แก่โจทก์คงเป็นแต่เพียงตัวแทนของโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้เท่านั้น เมื่อธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ปฏิเสธการจ่ายเงิน ท้องที่จังหวัดภูเก็ตอันเป็นสถานที่ตั้งของธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ซึ่งเป็นธนาคารตามเช็คที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น ความผิดคดีนี้จึงเกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น ซึ่งมีอำนาจรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่า ผู้กู้ตกลงกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ 5,000,000 บาท และตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้กู้ 150,000 บาท แม้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามจะมีการตกลงดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อได้ความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ในวันทำสัญญากู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ 5,450,000 บาท เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน ปรากฎว่าโจทก์ไม่สามารถนำเช็คไปขึ้นเงินได้ โจทก์จึงนำเช็คไปพบจำเลยที่ 2 จนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ให้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท และ 450,000 บาท ตามลำดับ อันเป็นการแยกให้เห็นชัดว่าเช็คฉบับใดชำระเงินต้นและเช็คฉบับใดชำระดอกเบี้ยประกอบกับโจทก์ยังบรรยายฟ้องอีกด้วยว่า เป็นการสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยพร้อมทั้งแนบสัญญากู้ยืมเงินมาท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง กรณีจึงไม่อาจฟังว่าเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 เป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยโดยไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้น ส่วนเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 สั่งจ่ายเงิน 450,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 ก็จะถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบและเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สำหรับความผิดในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจฟังลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 แต่ในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 นั้นเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้นมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย จึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 เพื่อชำระเงินต้นตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคล เมื่อเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ถึงกำหนดชำระแล้วปรากฎว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุผลว่า "เงินในบัญชีไม่พอจ่าย" จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่า ผู้กู้ตกลงกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ 5,000,000 บาท และตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้กู้ 150,000 บาท แม้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามจะมีการตกลงดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อได้ความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ในวันทำสัญญากู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ 5,450,000 บาท เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน ปรากฎว่าโจทก์ไม่สามารถนำเช็คไปขึ้นเงินได้ โจทก์จึงนำเช็คไปพบจำเลยที่ 2 จนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ให้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท และ 450,000 บาท ตามลำดับ อันเป็นการแยกให้เห็นชัดว่าเช็คฉบับใดชำระเงินต้นและเช็คฉบับใดชำระดอกเบี้ยประกอบกับโจทก์ยังบรรยายฟ้องอีกด้วยว่า เป็นการสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยพร้อมทั้งแนบสัญญากู้ยืมเงินมาท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง กรณีจึงไม่อาจฟังว่าเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 เป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยโดยไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้น ส่วนเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 สั่งจ่ายเงิน 450,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 ก็จะถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบและเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สำหรับความผิดในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจฟังลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 แต่ในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 นั้นเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้นมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย จึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 เพื่อชำระเงินต้นตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคล เมื่อเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ถึงกำหนดชำระแล้วปรากฎว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุผลว่า "เงินในบัญชีไม่พอจ่าย" จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กโดยการใช้ปาก การพิจารณาหลักฐานพยาน และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำความผิด
แม้ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 2 แต่ได้ความว่าจำเลยนำอวัยวะเพศของตนใส่เข้าไปในปากของผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของจำเลยโดยการใช้อวัยวะเพศของตนล่วงลํ้าช่องปากของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3009/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขายยาเสพติดมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการกระทำผิดของผู้ซื้อ แม้ไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการครอบครองหรือจำหน่าย
เมทแอมเฟตามีนของกลาง 565 เม็ด เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่ ส. ซื้อมาจากจำเลย หลังจากที่จำเลยขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ส. โดยจำเลยได้รับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนไปแล้ว การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายล้วนเป็นการกระทำของ ส. กับพวกโดยจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้อง อีกทั้งในวันเกิดเหตุในคดีนี้จำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุหรือมีส่วนร่วมในการครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยร่วมกับ ส. กับพวกมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย แต่การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ส. ย่อมถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ ส. ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการ แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ถือว่าข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาแก้โทษคดีพรากเด็ก-กระทำชำเรา: ศาลฎีกามีอำนาจรอการลงโทษแม้ข้อหาบางส่วนต้องห้ามฎีกา
แม้ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีมีเหตุสมควรที่จะลงโทษจำเลยให้เหมาะสมตามความผิดและพฤติการณ์แห่งคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยในความผิดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดและกฎหมายการทำงานของคนต่างด้าวกระทบแก่ความผิดเดิม และการใช้ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันผลิตพืชกระท่อมและร่วมกันมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26, 75, 76/1 ต่อมาในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 8 และมาตรา 9 ให้ยกเลิกมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และเพิ่มเติมมาตรา 26/2 ฐานผลิตพืชกระท่อม และมาตรา 26/3 ฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยข้อความตามกฎหมายเดิมและที่แก้ไขใหม่ยังเป็นทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับในส่วนบทความผิด และมาตรา 17 ให้ยกเลิกมาตรา 75 และมาตรา 76/1 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 โดยให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งบทกำหนดโทษฐานผลิตพืชกระท่อมในมาตรา 75 วรรคสอง ตามกฎหมายเดิม และมาตรา 75 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษเท่ากัน และบทกำหนดโทษฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามมาตรา 76/1 วรรคสี่ ตามกฎหมายเดิม และมาตรา 76/1 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษเท่ากันเช่นเดียวกัน ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน ตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มาตรา 27, 51, 54 รวมกับความผิดฐานอื่น ๆ แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์มี พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ประกาศใช้บังคับให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป โดยมาตรา 3 กำหนดให้ยกเลิก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 และตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 นำข้อหาความผิดเดิมตามมาตรา 51 ฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และตามมาตรา 27, 54 ฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานมาบัญญัติเป็นความผิดไว้ซึ่งตรงกับมาตรา 8, 9, 101, 102 ของพระราชกำหนดฉบับดังกล่าว แต่ต่อมามีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 33/2560 เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ 1 ให้มาตรา 101, 102 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป และข้อ 6 ให้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 ซึ่งตรงกับวันที่ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับ ความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 และความผิดฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เกิดขึ้นก่อนวันที่ 23 มิถุนายน 2560 จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสามจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225