พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานประกอบคำซัดทอด – บันทึกถ้อยคำไต่สวนไม่ถือเป็นพยานหลักฐานอิสระ
แม้คำเบิกความของ ส. จะสอดคล้องกับบันทึกถ้อยคำที่ ส. ให้ถ้อยคำไว้ในชั้นไต่สวนข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัดมุกดาหารดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย แต่บันทึกถ้อยคำของ ส. ดังกล่าวไม่ใช่พยานหลักฐานอื่นที่มีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากคำเบิกความของ ส. อันเป็นพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคสอง คำเบิกความของ ส. ที่มีลักษณะเป็นคำซัดทอดจึงไม่มีพยานหลักฐานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องปฏิบัติตามข้อบังคับบริษัท แม้ไม่มีการจัดทำใบหุ้น การโอนหุ้นให้บุตรก็ต้องแจ้งผู้ถือหุ้นเดิม
ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และข้อบังคับจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ระบุว่า หุ้นของบริษัทเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อ ส่วนข้อ 3 ระบุด้วยว่า การโอนหุ้นนั้น ผู้จะโอนจะต้องบอกกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อน และหลังจากนั้นแล้ว 30 วัน หากไม่มีผู้ใดประสงค์จะรับโอน จึงจะโอนให้แก่บุคคลภายนอกได้ และจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการด้วย แม้จำเลยที่ 1 ไม่มีการจัดทำใบหุ้นให้ผู้ถือหุ้นแต่ละราย แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ด้วย แม้จำเลยที่ 1 ไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการ แต่เมื่อข้อบังคับบริษัทซึ่งได้จดทะเบียนไว้และผูกพันเป็นสัญญาในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทกำหนดให้การโอนหุ้นต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ย่อมเป็นหน้าที่ของบริษัทต้องดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริษัทเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับ การไม่มีคณะกรรมการบริษัทมิใช่เหตุที่จะยกขึ้นปฏิเสธการปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการโอนหุ้นดังกล่าว ทั้งข้อบังคับจำเลยที่ 1 มิได้มีข้อยกเว้นว่า ถ้าเป็นการโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายในครอบครัวหรือการโอนหุ้นให้แก่บุตรแล้วมิต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 3 การที่ จ. โอนหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่ 3 บุตรของ จ. ซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมแต่เป็นบุคคลภายนอก โดยมิได้บอกกล่าวให้แก่โจทก์และผู้ถือหุ้นเดิมคนอื่น ๆ ทราบเพื่อให้โจทก์และผู้ถือหุ้นเดิมมีโอกาสรับโอนหุ้นจาก จ. ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลยที่ 1 เสียก่อนจึงไม่เป็นไปตามข้อบังคับและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นที่ฝ่าฝืนต่อข้อบังคับนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนำ: สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ
พยานโจทก์และพยานจำเลยเบิกความยันกันอยู่ว่าโจทก์จำนำหรือขายฝากรถยนต์ ยากที่รับฟังว่าฝ่ายใดเบิกความตามจริง แต่ตามคำเบิกความของโจทก์และ ส. ได้ความว่า โจทก์ชำระหนี้จำนำรถยนต์แก่จำเลย 5 ครั้ง และ ส. เบิกความตอบคำถามติงทนายโจทก์ว่าโจทก์และจำเลยเข้าใจตรงกันว่าให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน นอกจากนั้น จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์รับว่า โจทก์โอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยและข้อความสนทนาทางแอปพลิเคชันไลน์เป็นการติดต่อระหว่างโจทก์และจำเลย โดยข้อความดังกล่าวระบุว่าเป็นการโอนเงินชำระดอกเบี้ยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าซื้อรถยนต์คืนจากจำเลย ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่า โจทก์ส่งมอบรถยนต์ให้จำเลยเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้อันเป็นการจำนำรถยนต์ อีกทั้งการขายฝากนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายฝากย่อมตกเป็นของผู้ซื้อฝากตั้งแต่เมื่อทำสัญญาขายฝาก แต่ตามคำเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ปรากฏว่าจำเลยหักเงินที่จ่ายให้โจทก์เป็นค่าจอดรถยนต์และค่าดูแลรักษาไว้ด้วย ส่อแสดงว่าจำเลยถือว่ารถยนต์ดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และตามสำเนาสัญญาขายฝากรถยนต์ มีข้อความว่า "ข้อ 1 ผู้ขายตกลงขายฝากและผู้ซื้อตกลงซื้อรถยนต์...ในราคา 90,000 บาท...ผู้ขายได้รับเงินไปเรียบร้อยแล้ว จึงได้มอบรถพร้อมใบคู่มือจดทะเบียน...ให้แก่ผู้ซื้อไว้เพื่อกระทำการโอนรถได้หากพ้นกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนแล้ว ข้อ 2 ผู้ขายฝากจะกระทำการไถ่รถในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ทำสัญญามิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ 6 ถ้าในระหว่างสัญญาขายฝาก...จะด้วยเหตุผลใดก็ตามทำให้รถที่ขายฝากไม่สามารถที่จะกระทำการโอนได้ในภายหลังที่ผู้ขายฝากสละสิทธิ์ไถ่รถ...ผู้ขายฝากจะต้องคืนเงินที่รับไปตามข้อ 1 พร้อมด้วยดอกเบี้ย...ให้แก่ผู้ซื้อ..." ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า โจทก์จะยอมให้รถยนต์ตกไปยังจำเลยก็ต่อเมื่อโจทก์ไม่ชำระเงิน 90,000 บาท คืนแก่จำเลยเมื่อถึงเวลาที่กำหนด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ตกลงให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตกไปยังจำเลยทันทีโดยมีข้อตกลงกันว่าโจทก์อาจไถ่รถยนต์นั้นคืนได้ในภายหลัง อันจะต้องด้วยลักษณะของสัญญาขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยมีเจตนาผูกพันตามสัญญาจำนำ หาได้มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายฝากไม่ สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนำจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญาจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่รับชำระหนี้จำนำในส่วนที่เหลือ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับชำระหนี้จำนำในส่วนที่เหลือกับขอให้จำเลยคืนรถยนต์ตามฟ้องได้ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหลักประกันหลังจำเลยเสียชีวิต: ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล vs. ผู้รับมรดกตามพินัยกรรม
คดีนี้ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว โดยนำสมุดบัญชีเงินฝากประจำธนาคารเป็นหลักประกัน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 ในระหว่างพิจารณา แต่ในระหว่างการเลื่อนคดีไปเพื่อนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 4 สัญญาประกันตัวจำเลยที่ 4 เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลชั้นต้นต้องคืนหลักประกันแก่ผู้ประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118 แต่เมื่อจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ประกันถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและผู้คัดค้านซึ่งอ้างว่าเป็นผู้รับมรดกหลักประกันดังกล่าวตามพินัยกรรมต่างยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น การพิจารณาคำร้องดังกล่าวย่อมเป็นกรณีพิจารณาความเกี่ยวกับสัญญาประกันตัวจำเลยที่ 4 ในคดีอาญา และเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 และลักษณะ 2 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติว่าเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเป็นอย่างไรแล้ว ให้คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นถึงที่สุดแต่ประการใด ผู้คัดค้านจึงชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้คืนหลักประกันให้แก่ผู้ร้องได้
ป.วิ.อ. มาตรา 118 บัญญัติว่า "เมื่อคดีถึงที่สุดหรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปตามมาตรา 116 หรือโดยเหตุอื่น ให้คืนหลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป" ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตายอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) สัญญาประกันตัวจำเลยที่ 4 เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงชอบที่จะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ที่ควรรับไป แม้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 ตามคำสั่งศาลมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรวบรวมทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 4 ผู้ตายรวมเข้าไว้ในกองมรดกผู้ตายรวมถึงการขอคืนหลักประกันของจำเลยที่ 4 ผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันดังกล่าวด้วย โดยอ้างว่าจำเลยที่ 4 ทำพินัยกรรมยกมรดกเป็นสมุดบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกและผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดเพชรบุรี กรณีจึงยังฟังได้ไม่แน่นอนว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นผู้ที่ควรได้รับสมุดบัญชีเงินฝากประจำอันเป็นหลักประกันไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นผู้สั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวใช้ดุลพินิจให้รอฟังคำสั่งศาลจังหวัดเพชรบุรีในคดีดังกล่าว จึงชอบแล้ว
ป.วิ.อ. มาตรา 118 บัญญัติว่า "เมื่อคดีถึงที่สุดหรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปตามมาตรา 116 หรือโดยเหตุอื่น ให้คืนหลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป" ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตายอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) สัญญาประกันตัวจำเลยที่ 4 เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงชอบที่จะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ที่ควรรับไป แม้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 ตามคำสั่งศาลมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรวบรวมทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 4 ผู้ตายรวมเข้าไว้ในกองมรดกผู้ตายรวมถึงการขอคืนหลักประกันของจำเลยที่ 4 ผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันดังกล่าวด้วย โดยอ้างว่าจำเลยที่ 4 ทำพินัยกรรมยกมรดกเป็นสมุดบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกและผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดเพชรบุรี กรณีจึงยังฟังได้ไม่แน่นอนว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นผู้ที่ควรได้รับสมุดบัญชีเงินฝากประจำอันเป็นหลักประกันไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นผู้สั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวใช้ดุลพินิจให้รอฟังคำสั่งศาลจังหวัดเพชรบุรีในคดีดังกล่าว จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2779/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของนายจ้างและลูกจ้าง, สิทธิเรียกร้องข้ามทอด, การรับช่วงสิทธิ, และการตกลงเรื่องความรับผิดในสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างบริษัท จ. กับโจทก์มีข้อตกลงกันว่า โจทก์ต้องรับผิดในความผิดและความประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างช่วงหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้รับจ้างช่วง และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างช่วงมีข้อตกลงกันว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่ออุปัทวเหตุ ความเสียหายหรือภยันตรายใด ๆ อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และพนักงานของจำเลยที่ 2 ดังนั้น เมื่อมีข้อตกลงตามสัญญากำหนดความรับผิดเป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา และเมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัท ฮ. แล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และ 296 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดในฟ้องอาญา: การบรรยายข้อเท็จจริงครบถ้วน แม้ไม่ใช้ถ้อยคำตามกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติให้ฟ้องต้องระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด หรือฟ้องต้องบรรยายให้ครบองค์ประกอบความผิด แต่การบรรยายฟ้องส่วนของข้อเท็จจริงในองค์ประกอบความผิดไม่ได้เคร่งครัดว่าจะต้องใช้ถ้อยคำตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายทุกประการ
ฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดฐานปลอมเอกสาร ฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม และฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน เป็นลำดับและมีรายละเอียดต่อเนื่องกัน เมื่ออ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ และมีการบรรยายข้อความต่อเนื่องอีกว่า การกระทำตามฟ้องข้อดังกล่าวทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการบรรยายองค์ประกอบความผิดแล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ฟ้องโจทก์ทั้งสามฐานนี้จึงครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
ฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ฟ้องโจทก์บรรยายแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำต้นฉบับโฉนดที่ดินของโจทก์ไปเสียจากโจทก์ ต่อมานำไปจดทะเบียนซื้อขายกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นฟ้องที่บรรยายว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
ฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดฐานปลอมเอกสาร ฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม และฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน เป็นลำดับและมีรายละเอียดต่อเนื่องกัน เมื่ออ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ และมีการบรรยายข้อความต่อเนื่องอีกว่า การกระทำตามฟ้องข้อดังกล่าวทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการบรรยายองค์ประกอบความผิดแล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ฟ้องโจทก์ทั้งสามฐานนี้จึงครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
ฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ฟ้องโจทก์บรรยายแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำต้นฉบับโฉนดที่ดินของโจทก์ไปเสียจากโจทก์ ต่อมานำไปจดทะเบียนซื้อขายกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นฟ้องที่บรรยายว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์ของกลางของผู้รับจำนำในคดีอาญา: การดำเนินการทางแพ่งเพื่อคุ้มครองสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้คืนของกลางรวม 80 รายการ ให้แก่ผู้ร้อง โดยอ้างว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวตกเป็นสิทธิแก่ผู้ร้องตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องรับจำนำไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ซึ่งแม้ตามคำร้องขอจะไม่ต้องด้วยกรณีตาม ป.อ. มาตรา 36 แต่ตามคำร้อง ผู้ร้องประสงค์จะได้รับทรัพย์ของกลางคืนมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อคดีนี้มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม ในการทำคำพิพากษา ศาลก็ต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนทรัพย์ของกลางว่าให้คืนแก่โจทก์ร่วม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 44 หากผู้ร้องมีข้อโต้แย้งสิทธิด้วยเห็นว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์ของกลางที่แท้จริงก็ชอบที่จะไปดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 48 วรรคท้าย ด้วยการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจชำระตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ประกอบกับการเป็นคู่ความในคดีอาญานั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) บัญญัติคำนิยามของคำว่าคู่ความไว้ว่าหมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ไม่มีคู่ความฝ่ายที่สาม ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในกรณีเช่นว่านี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบอนุญาต ป.4 ไม่ใช่เอกสารสิทธิ แต่เป็นเอกสารราชการควบคุมการใช้อาวุธปืน ความผิดใช้เอกสารปลอมขาดอายุความ
ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) เป็นเพียงเอกสารซึ่งนายทะเบียนอาวุธปืนออกให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง ซึ่งผู้ขอใบอนุญาตต้องยื่นคำขอและผ่านการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และไม่อาจโอนให้แก่บุคคลอื่นได้ รวมถึงไม่ตกทอดแก่ทายาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้อาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 จึงเป็นเพียงเอกสารราชการ ไม่ใช่เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค้ามนุษย์ที่ค้างพิจารณา: การบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดี และการรับฎีกาโดยความเห็นชอบของอัยการสูงสุด
แม้โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังวันที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 ใช้บังคับ แต่ก่อนฟ้องคดีต่อศาลและก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นสืบพยานรายผู้เสียหายไว้ล่วงหน้าแล้ว ย่อมถือว่าคดีนี้เป็นคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 ใช้บังคับ จึงต้องนำ ป.วิ.อ. ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 ใช้บังคับมาใช้บังคับต่อไปตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 48 การฎีกาของโจทก์ย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ไม่ใช่ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 ซึ่งฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามต้องห้ามคู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 แต่ตามหนังสือรับรองของอัยการสูงสุดแนบท้ายคำร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาของโจทก์ไว้พิจารณา รับรองว่าฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสามมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย พอถือได้ว่าอัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงให้รับฎีกาของโจทก์ไว้พิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยโจทก์ไม่ต้องขออนุญาตฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่: สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกหลังศาลพิพากษาถึงที่สุด
ในคดีหมายเลขดำที่ ม.395/2549 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาด้วยการใช้อุปกรณ์งัดประตูรั้วบ้านและประตูบ้านของโจทก์และบุกรุกเข้าไปครอบครองบ้านของโจทก์โดยละเมิด ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยกับพวกชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามาจากจำเลยกระทำผิดต่อกฎหมายอาญาเป็นละเมิดต่อโจทก์ และขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ม.395/2549 นั้น โจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท เนื่องจากยังเป็นประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำลังพิจารณาอยู่ในคดีหมายเลขดำที่ 8822/2548 ว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท ส่วนการที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาชี้ขาดมาในคดีหมายเลขดำที่ 8822/2548 แล้ว จำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไป ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้มาจากโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาชี้ขาดมา โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในบ้านและที่ดินของโจทก์อีกต่อไป ดังนั้นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซ้ำในความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 144 และขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ยังมีคดีหมายเลขดำที่ 8822/2548 กำลังพิจารณาอยู่ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ ม.395/2549 ชั่วคราวก่อน เพื่อรอฟังผลการชี้ขาดในคดีหมายเลขดำที่ 8822/2548 ก่อน ขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้รับการตัดสินว่าเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่อยู่ในฐานะที่สามารถฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารได้ การที่จะให้โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดแล้วให้โจทก์มีคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยเข้ามาด้วย ย่อมไม่ชอบ เพราะข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นคนละเรื่องกัน ส่วน ป.วิ.พ. มาตรา 142 นั้น ก็เป็นบทบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจได้ว่าในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ ไม่ใช่บทบัญญัติที่บังคับให้โจทก์ต้องมีคำขอให้บังคับเข้ามาในคำฟ้องแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในคดีนี้สภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแตกต่างจากคดีหมายเลขดำที่ ม.395/2549 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาศาลฎีกา ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินพิพาท