พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 พ้นผิดฐานร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และจำเลยที่ 1 พ้นผิดฐานรับคนต่างด้าวทำงานเนื่องจากกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน ตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มาตรา 27, 54 รวมกับความผิดฐานอื่น ๆ แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มี พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ประกาศใช้บังคับให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป โดยมาตรา 3 กำหนดให้ยกเลิก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 และตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 นำข้อหาความผิดเดิมตามมาตรา 27, 54 ฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานมาบัญญัติเป็นความผิดไว้ซึ่งตรงกับมาตรา 9, 102 ของพระราชกำหนดฉบับดังกล่าว แต่ต่อมามีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 33/2560 เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ 1 ให้มาตรา 102 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป และข้อ 6 ให้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 ซึ่งตรงกับวันที่ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับ ความผิดฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นก่อนวันที่ 23 มิถุนายน 2560 จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป จำเลยที่ 1 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: การพิพากษาความผิดและบทลงโทษของตัวการร่วม
การที่จำเลยที่ 1 ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินราดใส่ผู้ตายแล้วจุดไฟเผาผู้ตายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างกะทันหันโดยจำเลยที่ 2 มิได้คบคิดนัดหมายกับจำเลยที่ 1 มาก่อน จึงไม่ใช่เรื่องการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่พฤติการณ์ที่ผู้ตายโทรศัพท์ติดต่อกับจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 บอกจำเลยที่ 1 ว่า ผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ไปพบผู้ตายที่บ้าน จำเลยที่ 1 บอกให้จำเลยที่ 2 แจ้งให้ผู้ตายไปพบยังสถานที่เกิดเหตุโดยไม่ต้องบอกว่า จำเลยที่ 1 จะเดินทางไปด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะทำร้ายผู้ตายซึ่งมีการคิดไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว และจำเลยที่ 2 เพียงแต่มีเจตนาที่จะร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อจะทำให้ผู้ตายได้รับอันตรายแก่กายหรืออันตรายสาหัสเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 เลือกที่จะทำร้ายผู้ตายโดยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินราดใส่ผู้ตายและจุดไฟเผาผู้ตายซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนือเจตนาของจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นด้วย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคสอง ประกอบมาตรา 289 (4) อันเป็นความผิดหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามที่โจทก์ฟ้องและเป็นความผิดได้ในตัว ศาลฎีกาสามารถลงโทษในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141-8145/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมกันมีใช้อาวุธปืนเถื่อน ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลแก้โทษกระทงความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ร่วมกับพวกฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่าผู้อื่น ยิงปืนโดยใช่เหตุ และใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 5 ตลอดชีวิต จำเลยที่ 3 และที่ 5 ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในความผิดดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ก็มิใช่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น และร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ฆ่าผู้ตาย ความผิดข้อหาดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ส่วนความผิดฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวและโดยเปิดเผย จำเลยที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์ ความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ไม่อาจฎีกาได้ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย และพิพากษาว่าเป็นคนละกรรมกับฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ เป็นการแก้บทกำหนดโทษ ปรับบทความผิดและพิพากษาแก้เป็นคนละกรรมกัน เป็นเพียงการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้จำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 ฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 5
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 และฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ตามมาตรา 376 มีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2557 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 12 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงขาดอายุความ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวโดยเปิดเผยแม้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง ก็มีอำนาจยกฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225 ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย และจำเลยที่ 8 มิได้ฎีกา แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 ร่วมกระทำความผิดอย่างไร ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 มิได้ถืออาวุธปืน พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะเช่นเดียวกันกับจำเลยที่ 2 จึงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 กระทำความผิดหรือไม่ เห็นสมควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 และที่ 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ประกอบมาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวแม้คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกา และจำเลยที่ 8 ไม่ได้ฎีกา แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 กระทำความผิดหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225 และมาตรา 185 ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยคดีของจำเลยที่ 3 และที่ 8 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 และที่ 12 ร่วมกันมีอาวุธปืนและใช้อาวุธปืนดังกล่าวเพื่อความประสงค์อันเดียวกันและร่วมกันใช้อาวุธปืนต่อเนื่องจากการร่วมกันมีอาวุธปืน ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้จึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 และเป็นกรรมเดียวกับฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น และฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และแม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 5 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายและอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ถอนฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 5 และที่ 9 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 213 และ 225
เมื่อจำเลยที่ 9 ยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา คดีของจำเลยที่ 9 จึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยที่ 9 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา คดีของจำเลยที่ 9 ย่อมเป็นที่สุดนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งโดยปกติจะย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยที่ 9 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา จึงไม่อาจออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดย้อนหลังไปถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 9 ฟังตามที่จำเลยที่ 9 ขอได้ ให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแก่จำเลยที่ 9 นับแต่วันยื่นคำร้องนี้
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 และฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ตามมาตรา 376 มีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2557 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 12 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงขาดอายุความ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวโดยเปิดเผยแม้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง ก็มีอำนาจยกฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225 ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย และจำเลยที่ 8 มิได้ฎีกา แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 ร่วมกระทำความผิดอย่างไร ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 มิได้ถืออาวุธปืน พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะเช่นเดียวกันกับจำเลยที่ 2 จึงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 กระทำความผิดหรือไม่ เห็นสมควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 และที่ 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ประกอบมาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวแม้คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกา และจำเลยที่ 8 ไม่ได้ฎีกา แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 กระทำความผิดหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225 และมาตรา 185 ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยคดีของจำเลยที่ 3 และที่ 8 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 และที่ 12 ร่วมกันมีอาวุธปืนและใช้อาวุธปืนดังกล่าวเพื่อความประสงค์อันเดียวกันและร่วมกันใช้อาวุธปืนต่อเนื่องจากการร่วมกันมีอาวุธปืน ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้จึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 และเป็นกรรมเดียวกับฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น และฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และแม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 5 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายและอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ถอนฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 5 และที่ 9 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 213 และ 225
เมื่อจำเลยที่ 9 ยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา คดีของจำเลยที่ 9 จึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยที่ 9 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา คดีของจำเลยที่ 9 ย่อมเป็นที่สุดนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งโดยปกติจะย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยที่ 9 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา จึงไม่อาจออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดย้อนหลังไปถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 9 ฟังตามที่จำเลยที่ 9 ขอได้ ให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแก่จำเลยที่ 9 นับแต่วันยื่นคำร้องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7551/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ พิพากษายกฟ้องคดียาเสพติดและอาวุธปืน แต่ให้ริบของกลาง
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายกัญชาเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยฎีกาเฉพาะข้อหาจำหน่ายกัญชา ข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ส่วนข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และไม่ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในข้อหานี้ ซึ่งไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อศาลฎีกาฟังว่า พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าจำเลยมีกัญชาแห้ง จำนวน 4 ถุง และเมล็ดกัญชาแห้ง จำนวน 1 ถุง ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายโดยการขายกัญชาแห้งนั้นให้แก่ ป. จำนวน 1 ถุง และ พ. จำนวน 2 ถุง และมีอาวุธปืนยาวบรรจุปาก (ปืนแก๊ป) และปืนยาวอัดลม ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของนายทะเบียนประทับไว้ และเครื่องกระสุนปืนบรรจุปาก (ดินดำ แก๊ปกระดาษ เม็ดตะกั่ว ใยมะพร้าว) ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แม้ข้อหาความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน และเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด จึงให้ยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2561)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2561)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7526/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อเสพ vs. จำหน่าย: ศาลฎีกาตัดสินจำกัดความผิดฐานจำหน่าย
การที่สายลับซึ่งเป็นคนรักเก่าของจำเลยชักชวนให้จำเลยมาร่วมเสพเมทแอมเฟตามีนที่ห้องพักที่เกิดเหตุ โดยได้มอบธนบัตรจำนวน 1,500 บาท ให้จำเลยเพื่อไปเอาเมทแอมเฟตามีนมาให้ เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนมามอบให้สายลับ 10 เม็ด จากนั้นได้ร่วมกันเสพเมทแอมเฟตามีนไป 4 เม็ด พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยรับหน้าที่ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนมาให้สายลับและพวก และร่วมกันเสพเมทแอมเฟตามีนส่วนหนึ่งนั้น โดยจำเลยไม่ได้ประโยชน์อื่นตอบแทนในการนี้ ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ คงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดที่โจทก์ฟ้อง ย่อมลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215, 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7107/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกความผิดฐานครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย/เสพ และการลงโทษฐานครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ได้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 193 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 191 เม็ด แต่ทางพิจารณากลับได้ความว่าจำเลยโทรศัพท์แจ้งให้ ว. ไปรับเมทแอมเฟตามีน 191 เม็ดที่อื่น ซึ่งมิใช่ที่ห้องพักของจำเลย ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยได้นำเมทแอมเฟตามีนจากห้องพักไปวางไว้ด้วยตนเองหรือใช้ให้บุคคลใดนำไปวาง ส่วนเมทแอมเฟตามีนอีก 2 เม็ด ได้ความจาก พันตำรวจโท ก. ว่า พบอยู่บนที่นอนภายในห้องพักของจำเลย ประกอบกับจำเลยรับว่าเสพเมทแอมเฟตามีนมาก่อน และจากการตรวจปัสสาวะของจำเลยพบสารเมทแอมเฟตามีน จึงเชื่อว่าเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ที่ค้นพบภายหลังเป็นของจำเลยมีไว้เพื่อเสพและเป็นคนละส่วนกับเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่าย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 191 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายกรรมหนึ่ง และฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตกรรมหนึ่ง แม้โจทก์จะฟ้องข้อหาว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 193 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เพราะข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดร่วมและความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืนและการล่าสัตว์
ปลอกกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเป็นปลอกกระสุนปืนที่ใช้ยิงไปแล้ว ทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 จะใช้ปลอกกระสุนปืนของกลางไปอัดหรือใช้ประกอบให้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องกระสุนปืนสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ ดังนั้น ปลอกกระสุนปืนของกลางดังกล่าว จึงไม่เป็นเครื่องกระสุนปืน การที่จำเลยที่ 1 มีไว้จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จำหน่ายดีวีดีที่ไม่ใช่ผู้สร้างภาพยนตร์ ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ หากไม่ได้นำภาพยนตร์ไปตรวจพิจารณา
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 การประกอบกิจการภาพยนตร์ ซึ่งต่อเนื่องมาจากมาตรา 20 ถึงมาตรา 24 ที่บัญญัติในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์และผู้สร้างภาพยนตร์ มาตรา 26 ถึงมาตรา 29 บัญญัติในเรื่องเกี่ยวกับการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ตามมาตรา 25 ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และบทกำหนดโทษตามมาตรา 78 ดังกล่าวมุ่งประสงค์เอาความผิดแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 25 ซึ่งหมายความเฉพาะผู้สร้างภาพยนตร์ที่นำภาพยนตร์นั้นออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร โดยมิได้นำไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ก่อนเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติที่ประสงค์จะเอาความผิดแก่ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์ทั่วไปที่มิใช่ผู้สร้างภาพยนตร์ เมื่อฟ้องโจทก์ปรากฏชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นเพียงผู้ประกอบกิจการจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยจำเลยมิใช่ผู้สร้างภาพยนตร์ที่มีหน้าที่จะต้องนำภาพยนตร์นั้นไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 25 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยตามฟ้องย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 78
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2561)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2561)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5347/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องอาญา แม้จำเลยรับสารภาพ หากไม่มีความผิดตามฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาโดยขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้องในความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร ฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถ และฐานใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องทั้งสามฐาน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถ แม้จะได้ความว่าจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยจำนนต่อหลักฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: ต้องพิสูจน์ว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องคืนเจ้าของ
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 233/2554 ของศาลชั้นต้น แต่ น. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 2 และพิพากษาลงโทษ น. ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 เครื่อง และรถจักรยานยนต์ของกลาง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ คดีนี้จึงเป็นคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อ น. ในเรื่องซื้อขายเมทแอมเฟตามีนและให้ น. นำรถจักรยานยนต์ไปติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยและรถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ไม่อาจริบได้ แม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์ดังกล่าวตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 233/2554 แต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ จะต้องคืนแก่เจ้าของ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และมีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9), 215 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3