พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลาออก, ตัวแทน, ผลการเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อบุคคลภายนอก
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส. ช. และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช.ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, ใบมอบอำนาจ, และการปฏิเสธข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมาย
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจผู้แทนนิติบุคคลนั้นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021และ 1022 แม้หนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ ไม่มีข้อความอ้างอิงระบุว่าบริษัทโจทก์มีกรรมการจำนวนเท่าใด มีใครเป็นกรรมการ และใครเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์และไม่แจ้งชัดแต่อย่างใดไม่
อ.ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยโดยส่งสำเนาใบมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง จำเลยมิได้โต้แย้งในความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจกรณีถือได้ว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจ โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจต่อศาล แม้โจทก์จะส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจฉบับอื่น มิใช่ต้นฉบับของใบมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และทำขึ้นในภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยแล้วก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตามสำเนาใบมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุโดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลย แต่ก็ปรากฏตามข้อความใบมอบอำนาจว่าเป็นใบมอบอำนาจทั่วไปให้อ.มีอำนาจฟ้องร้องคดีแพ่งและคดีอาญาและมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 ได้ทุกประการดังนั้น อ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ โจทก์หาจำต้องระบุชื่อจำเลยในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
อ.ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยโดยส่งสำเนาใบมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง จำเลยมิได้โต้แย้งในความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจกรณีถือได้ว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจ โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจต่อศาล แม้โจทก์จะส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจฉบับอื่น มิใช่ต้นฉบับของใบมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และทำขึ้นในภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยแล้วก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตามสำเนาใบมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุโดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลย แต่ก็ปรากฏตามข้อความใบมอบอำนาจว่าเป็นใบมอบอำนาจทั่วไปให้อ.มีอำนาจฟ้องร้องคดีแพ่งและคดีอาญาและมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 ได้ทุกประการดังนั้น อ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ โจทก์หาจำต้องระบุชื่อจำเลยในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หนังสือมอบอำนาจ, และการพิสูจน์หนี้จากบัญชีเดินสะพัด
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจผู้แทนนิติบุคคลนั้นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022 แม้หนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ ไม่มีข้อความอ้างอิงระบุว่าบริษัทโจทก์มีกรรมการจำนวนเท่าใด มีใครเป็นกรรมการและใครเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์และไม่แจ้งชัดแต่อย่างใดไม่
อ.ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยโดยส่งสำเนาใบมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง จำเลยมิได้โต้แย้งในความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจกรณีถือได้ว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจ โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจต่อศาล แม้โจทก์จะส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจฉบับอื่น มิใช่ต้นฉบับของใบมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และทำขึ้นในภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยแล้วก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตามสำเนาใบมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุโดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลย แต่ก็ปรากฏตามข้อความใบมอบอำนาจว่าเป็นใบมอบอำนาจทั่วไปให้ อ.มีอำนาจฟ้องร้องคดีแพ่งและคดีอาญาและมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 ได้ทุกประการดังนั้น อ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โจทก์หาจำต้องระบุชื่อจำเลยในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
อ.ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยโดยส่งสำเนาใบมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง จำเลยมิได้โต้แย้งในความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจกรณีถือได้ว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจ โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจต่อศาล แม้โจทก์จะส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจฉบับอื่น มิใช่ต้นฉบับของใบมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และทำขึ้นในภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยแล้วก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตามสำเนาใบมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุโดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลย แต่ก็ปรากฏตามข้อความใบมอบอำนาจว่าเป็นใบมอบอำนาจทั่วไปให้ อ.มีอำนาจฟ้องร้องคดีแพ่งและคดีอาญาและมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 ได้ทุกประการดังนั้น อ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โจทก์หาจำต้องระบุชื่อจำเลยในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928-1931/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หนังสือมอบอำนาจ, การซื้อขายที่ดิน, และการตัดพยาน: หลักเกณฑ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1021 และ 1022 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และบ.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามฟ้องหรือไม่จำเลยไม่ทราบและไม่รับรองคำให้การของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายจึงไม่เป็นประเด็นที่โจทก์ จะต้องนำสืบ
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ทราบไม่รับรองมิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของใบมอบอำนาจการที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ไม่ปรากฏเหตุผลจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ศ. มีอำนาจบอกกล่าวฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย ผู้เช่าที่ดินผู้เช่าอาคารและผู้อยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3997 เลขที่ดิน 72 เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่พิพาทซึ่ง ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวศ.ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทน โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์นำสืบผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนประกอบ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบกรรมการของโจทก์หรือผู้ขาย หรือเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นเมื่อศาลสืบพยานจำเลยในเรื่องค่าเสียหายไปบ้างแล้วจึงสั่งตัดพยาน จำเลยดังนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ทราบไม่รับรองมิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของใบมอบอำนาจการที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ไม่ปรากฏเหตุผลจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ศ. มีอำนาจบอกกล่าวฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย ผู้เช่าที่ดินผู้เช่าอาคารและผู้อยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3997 เลขที่ดิน 72 เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่พิพาทซึ่ง ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวศ.ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทน โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์นำสืบผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนประกอบ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบกรรมการของโจทก์หรือผู้ขาย หรือเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นเมื่อศาลสืบพยานจำเลยในเรื่องค่าเสียหายไปบ้างแล้วจึงสั่งตัดพยาน จำเลยดังนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928-1931/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หนังสือมอบอำนาจ, การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, และการตัดพยาน: หลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1021 และ 1022จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และบ.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามฟ้องหรือไม่จำเลยไม่ทราบและไม่รับรองคำให้การของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายจึงไม่เป็นประเด็นที่โจทก์ จะต้องนำสืบ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ทราบไม่รับรองมิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของใบมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ไม่ปรากฏเหตุผลจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ศ.มีอำนาจบอกกล่าวฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย ผู้เช่าที่ดินผู้เช่าอาคารและผู้อยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3997เลขที่ดิน 72 เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่พิพาทซึ่ง ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวศ.ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทน โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์นำสืบผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนประกอบ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบกรรมการของโจทก์หรือผู้ขาย หรือเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นเมื่อศาลสืบพยานจำเลยในเรื่องค่าเสียหายไปบ้างแล้วจึงสั่งตัดพยาน จำเลยดังนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องของนิติบุคคล: วัตถุประสงค์ของบริษัทจำกัดตามหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนแล้ว ถือเป็นที่รู้แก่บุคคลทั่วไป
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนเลขที่ 1430 ถึงแม้ว่าจะมิได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ แต่การจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนและนายทะเบียนจะต้องแต่งย่อรายการไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นอันแก่บุคคลทั้งปวง จึงต้องถือว่าจำเลยทราบวัตถุประสงค์ของโจทก์ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายวัตถุประสงค์มาในฟ้องอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องของนิติบุคคล: วัตถุประสงค์บริษัทและฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนเลขที่ 1430 ถึงแม้ว่าจะมิได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ แต่การจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนและนายทะเบียนจะต้องแต่งย่อรายการไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวง จึงต้องถือว่าจำเลยทราบวัตถุประสงค์ของโจทก์ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายวัตถุประสงค์มาในฟ้องอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดละเมิดแม้เปิดบัญชีให้ผู้ปลอมแปลงเอกสาร หากตรวจสอบเอกสารด้วยความระมัดระวังตามปกติ
ข้อที่ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว บุคคลทั้งหลายย่อมรู้นั้น จะผูกพันบุคคลทั่วไปเฉพาะนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ไม่มีผลถึงเรื่องละเมิด
ผ. มิได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์ ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลย แล้วนำเช็คที่ลูกค้าออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์เข้าบัญชีเงินฝากนั้น และออกเช็คเบิกเงินโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่ ผ. ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ ได้มีเอกสารมาครบถ้วนตามระเบียบที่ธนาคารจำเลยวางไว้ ทั้งเอกสารระบุว่า ผ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ และพนักงานของธนาคารจำเลยตรวจพิจารณาเอกสารเหล่านั้นด้วยความระมัดระวังตามปกติธรรมดาที่เคยปฏิบัติมาของธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว เชื่อโดยสุจริตว่า ผ. เป็นกรรมการของบริษัทโจทก์จริง จึงรับเปิดบัญชีเงินฝากให้ ผ. และไม่ได้สอบถามบริษัทโจทก์หรือกองทะเบียนกระทรวงพาณิชย์อีกแม้ต่อมาปรากฏว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ ผ. กับพวกร่วมกันปลอมขึ้น ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ผ. มิได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์ ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลย แล้วนำเช็คที่ลูกค้าออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์เข้าบัญชีเงินฝากนั้น และออกเช็คเบิกเงินโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่ ผ. ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ ได้มีเอกสารมาครบถ้วนตามระเบียบที่ธนาคารจำเลยวางไว้ ทั้งเอกสารระบุว่า ผ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ และพนักงานของธนาคารจำเลยตรวจพิจารณาเอกสารเหล่านั้นด้วยความระมัดระวังตามปกติธรรมดาที่เคยปฏิบัติมาของธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว เชื่อโดยสุจริตว่า ผ. เป็นกรรมการของบริษัทโจทก์จริง จึงรับเปิดบัญชีเงินฝากให้ ผ. และไม่ได้สอบถามบริษัทโจทก์หรือกองทะเบียนกระทรวงพาณิชย์อีกแม้ต่อมาปรากฏว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ ผ. กับพวกร่วมกันปลอมขึ้น ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดเมื่อเปิดบัญชีให้ผู้ปลอมเอกสาร หากตรวจสอบเอกสารตามปกติและเชื่อโดยสุจริต
ข้อที่ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว บุคคลทั้งหลายย่อมรู้นั้น จะผูกพันบุคคลทั่วไปเฉพาะนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ไม่มีผลถึงเรื่องละเมิด
ผ. มิได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์ ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลย แล้วนำเช็คที่ลูกค้าออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์เข้าบัญชีเงินฝากนั้น และออกเช็คเบิกเงินโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่ ผ. ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ ได้มีเอกสารมาครบถ้วนตามระเบียบที่ธนาคารจำเลยวางไว้ ทั้งเอกสารระบุว่า ผ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ และพนักงานของธนาคารจำเลยตรวจพิจารณาเอกสารเหล่านั้นด้วยความระมัดระวังตามปกติธรรมดาที่เคยปฏิบัติมาของธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว เชื่อโดยสุจริตว่า ผ. เป็นกรรมการของบริษัทโจทก์จริง จึงรับเปิดบัญชีเงินฝากให้ ผ. และไม่ได้สอบถามบริษัทโจทก์หรือกองทะเบียนกระทรวงพาณิชย์อีก แต่ต่อมาปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ ผ. กับพวกร่วมกันปลอมขึ้น ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ผ. มิได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์ ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลย แล้วนำเช็คที่ลูกค้าออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์เข้าบัญชีเงินฝากนั้น และออกเช็คเบิกเงินโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่ ผ. ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ ได้มีเอกสารมาครบถ้วนตามระเบียบที่ธนาคารจำเลยวางไว้ ทั้งเอกสารระบุว่า ผ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ และพนักงานของธนาคารจำเลยตรวจพิจารณาเอกสารเหล่านั้นด้วยความระมัดระวังตามปกติธรรมดาที่เคยปฏิบัติมาของธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว เชื่อโดยสุจริตว่า ผ. เป็นกรรมการของบริษัทโจทก์จริง จึงรับเปิดบัญชีเงินฝากให้ ผ. และไม่ได้สอบถามบริษัทโจทก์หรือกองทะเบียนกระทรวงพาณิชย์อีก แต่ต่อมาปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ ผ. กับพวกร่วมกันปลอมขึ้น ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์