พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากละเมิด: ดอกเบี้ยไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ใช้ อายุความ 10 ปี
หนี้ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เพื่อทดแทนความเสียหายของโจทก์ เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมดทันทีนับจากวันผิดนัดคือวันที่เกิดการทำละเมิดเป็นต้นไป ดอกเบี้ยของค่าเสียหายดังกล่าวจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) และกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำละเมิดจากการสำแดงเท็จเพื่อรับเงินชดเชยภาษีอากร และความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการ
การที่จำเลยที่ 1 สำแดงข้อความอันเป็นเท็จในใบขนสินค้าขาออกฉบับพิพาท โดยไม่มีการส่งออกไปต่างประเทศจริง จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีและไม่มีสิทธิโอนสิทธิตามบัตรภาษีให้บุคคลอื่น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 คือวันที่จำเลยที่ 3 รับบัตรภาษีพิพาทไปจากโจทก์ มิใช่นับแต่วันที่มีการนำบัตรภาษีไปชำระค่าภาษีอากร จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาโอนสิทธิบัตรภาษีจากการทุจริตของผู้โอนสิทธิ และผลของการสำแดงเท็จในการขอเงินชดเชยภาษี
ในการยื่นบัญชีระบุพยาน โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ เนื่อจากต้นฉบับอยู่ในความครอบครองดูแลของทางราชการ และทางราชการมีความจำเป็นต้องใช้ต้นฉบับเอกสารดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้สำเนาเอกสารที่รับรองโดยถูกต้องแทนต้นฉบับได้ ทั้งบัญชีสินค้าสำหรับเรือเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องนำพยานดังกล่าวมาสืบ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ โจทก์จึงมีสิทธินำสำเนาบัญชีสินค้าสำหรับเรือมาสืบได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 20 ประกอบข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ ข้อ 16 วรรคสอง
เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจึงต้องพิจารณาว่าคำฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ หากมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลก็ต้องพิจารณาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีไปตามคำฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาภาษีอากรฯ มาตรา 17 ซึ่งคดีนี้โจทก์มีผู้จัดการฝ่ายเอกสารของบริษัทตัวแทนเรือเบิกความยืนยันว่ารายละเอียดสินค้าตามบัญชีสินค้าสำหรับเรือที่บริษัทตันแทนเรือรวบรวมนำส่งโจทก์ไม่ปรากฏสินค้าตามที่จำเลยที่ 1 สำแดงในใบขนสินค้าขาออก แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสินค้าและรับรองการรับบรรทุกในใบขนสินค้าขาออกพิพาทไม่มีการตรวจสอบจริงและจำเลยที่ 1 มิได้ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศตามที่สำแดงในใบขนสินค้าขาออกพิพาทนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกในรูปบัตรภาษี การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกโดยสำแดงใบขนสินค้าขาออกเป็นเท็จ จึงเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดคืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดคือวันที่จำเลยที่ 2 รับบัตรภาษีพิพาท
ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี จำเลยที่ 2 สัญญาว่า กรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น นั้น เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ว่าในการขอรับสิทธิตามบัตรภาษี หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจกท์ไม่ว่ากรณีใด จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์โดยไม่มีข้อโต้แย้ง เป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายห้ามและมิใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 2 นำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรแทนเงินสดแล้ว จึงมีความรับผิดตามสัญญาต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามมูลค่าบัตรภาษีรายพิพาทที่เกิดจากการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจึงต้องพิจารณาว่าคำฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ หากมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลก็ต้องพิจารณาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีไปตามคำฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาภาษีอากรฯ มาตรา 17 ซึ่งคดีนี้โจทก์มีผู้จัดการฝ่ายเอกสารของบริษัทตัวแทนเรือเบิกความยืนยันว่ารายละเอียดสินค้าตามบัญชีสินค้าสำหรับเรือที่บริษัทตันแทนเรือรวบรวมนำส่งโจทก์ไม่ปรากฏสินค้าตามที่จำเลยที่ 1 สำแดงในใบขนสินค้าขาออก แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสินค้าและรับรองการรับบรรทุกในใบขนสินค้าขาออกพิพาทไม่มีการตรวจสอบจริงและจำเลยที่ 1 มิได้ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศตามที่สำแดงในใบขนสินค้าขาออกพิพาทนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกในรูปบัตรภาษี การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกโดยสำแดงใบขนสินค้าขาออกเป็นเท็จ จึงเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดคืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดคือวันที่จำเลยที่ 2 รับบัตรภาษีพิพาท
ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี จำเลยที่ 2 สัญญาว่า กรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น นั้น เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ว่าในการขอรับสิทธิตามบัตรภาษี หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจกท์ไม่ว่ากรณีใด จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์โดยไม่มีข้อโต้แย้ง เป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายห้ามและมิใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 2 นำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรแทนเงินสดแล้ว จึงมีความรับผิดตามสัญญาต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามมูลค่าบัตรภาษีรายพิพาทที่เกิดจากการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินชดเชยภาษีอากรโดยเท็จถือเป็นการทำละเมิด จำเลยต้องรับผิดดอกเบี้ยนับจากวันที่ธนาคารได้รับบัตรภาษี
การที่จำเลยยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรโดยอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก ซึ่งเป็นความเท็จ จนได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีไปจากโจทก์นั้น เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สิน อันเป็นการทำละเมิด จำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, 206 และ 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรภาษีเท็จชำระภาษีอากรทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินและดอกเบี้ย
จำเลยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อ้างว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกซึ่งเป็นเท็จ ความจริงจำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากร จึงออกบัตรภาษีให้แก่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ตามคำขอของจำเลย ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ได้นำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรแทนเงินสดและโจทก์ได้ใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีเป็นค่าภาษีอากรแทนแล้ว โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีดังกล่าว การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นการทำละเมิด ซึ่งจำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารดังกล่าวได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, 206 และ 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5178-5179/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของบริษัทฟื้นฟูกิจการ, อายุความ, และดอกเบี้ยค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีผลประกอบการที่ดีและมีกำไรมาโดยตลอด แต่ต่อมาเมื่อกลางปี 2540 โจทก์เกิดขาดสภาพคล่องกะทันหันจนถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2541 และแต่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้ทำแผน เมื่อมีการตรวจสอบรายการทางการเงินของโจทก์พบว่า การรายงานสินทรัพย์สุทธิและกำไรสุทธิมีความคลาดเคลื่อน และระหว่างเดือนธันวาคม 2537 ถึงกรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นผู้บริหารงานของโจทก์ได้ร่วมกันชำระเงิน 3,950,000,000 บาทให้แก่บุคคลหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชอบ โดยโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยแต่ละคนโดยละเอียดถึงวันที่มีการเบิกถอนเงิน จ่ายเงิน และโอนเงินจำนวนเท่าใดจากธนาคารอะไร ให้ใคร ที่บัญชีเลขที่เท่าใด พร้อมรายละเอียดแห่งความเสียหายที่จำเลยแต่ละคนได้ก่อให้แก่โจทก์ตามเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นคำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำผิดสัญญาโดยโอนเงินให้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกโดยไม่ชอบ พร้อมทั้งบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำการอย่างไร เมื่อใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เท่าใด โดยแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องมาท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายโดยชัดแจ้งแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่แก้ไข มาตรา 90/25 บัญญัติว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และมาตรา 90/24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นแก่ผู้ทำแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวโดยไม่ชักช้า อำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนให้เริ่มแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว และให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ หรือผู้บริหารชั่วคราวสิ้นสุดลง หมายความว่า เมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวเป็นอันสิ้นสุดลง โดยให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน การฟ้องคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สำเร็จลุล่วง ผู้ทำแผนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีนี้ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันทำละเมิดในการทำงานตามหน้าที่ในทางการที่จ้าง อันถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 โดยนำคดีมาฟ้องในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ซึ่งไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดแก่โจทก์ด้วยการเบิกถอนเงินจากบัญชีธนาคารแล้วจ่ายให้แก่บริษัทและบุคคลอื่นโดยไม่ชอบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 3,950,000,000 บาท ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดหลายครั้ง แม้โจทก์จะได้นำเช็คและรายการที่เรียกเก็บเงินตามเช็คมาแสดงต่อศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นยอดรวมหลายครั้งว่าแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนเท่าใด แต่ไม่ได้แยกให้ชัดว่าจำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินตามเช็คแต่ละใบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และจ่ายออกไปโดยไม่ชอบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงโดยละเอียดดังกล่าว โจทก์นำสืบได้เพียงว่าโจทก์ทราบมูลเหตุที่ฟ้องร้องคดีนี้ในวันประชุมคณะกรรมการโจทก์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2540 ดังนั้น แม้ว่ามูลหนี้จากการทำละเมิดให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดและต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ประกอบมาตรา 224 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดแต่ละครั้งเมื่อใด จำนวนเท่าใด การที่ศาลแรงงานกลางให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องนั้น จึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่แก้ไข มาตรา 90/25 บัญญัติว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และมาตรา 90/24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นแก่ผู้ทำแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวโดยไม่ชักช้า อำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนให้เริ่มแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว และให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ หรือผู้บริหารชั่วคราวสิ้นสุดลง หมายความว่า เมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวเป็นอันสิ้นสุดลง โดยให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน การฟ้องคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สำเร็จลุล่วง ผู้ทำแผนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีนี้ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันทำละเมิดในการทำงานตามหน้าที่ในทางการที่จ้าง อันถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 โดยนำคดีมาฟ้องในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ซึ่งไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดแก่โจทก์ด้วยการเบิกถอนเงินจากบัญชีธนาคารแล้วจ่ายให้แก่บริษัทและบุคคลอื่นโดยไม่ชอบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 3,950,000,000 บาท ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดหลายครั้ง แม้โจทก์จะได้นำเช็คและรายการที่เรียกเก็บเงินตามเช็คมาแสดงต่อศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นยอดรวมหลายครั้งว่าแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนเท่าใด แต่ไม่ได้แยกให้ชัดว่าจำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินตามเช็คแต่ละใบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และจ่ายออกไปโดยไม่ชอบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงโดยละเอียดดังกล่าว โจทก์นำสืบได้เพียงว่าโจทก์ทราบมูลเหตุที่ฟ้องร้องคดีนี้ในวันประชุมคณะกรรมการโจทก์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2540 ดังนั้น แม้ว่ามูลหนี้จากการทำละเมิดให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดและต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ประกอบมาตรา 224 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดแต่ละครั้งเมื่อใด จำนวนเท่าใด การที่ศาลแรงงานกลางให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องนั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดและการบังคับค้ำประกัน: เริ่มนับจากวันทำละเมิด ไม่ใช่แค่วันบอกกล่าวหนี้
อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ที่จำเลยที่ 2 ได้ยักยอกเงินของโจทก์ไป อันเป็นการรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดตามมาตรา 206 ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อผู้ค้ำประกันกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สำนักงานตรวจสอบภายในของโจทก์ได้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานการไฟฟ้าของโจทก์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการทุจริตยักยอกเงินกระแสไฟฟ้าที่เก็บจากประชาชนจำนวนหนึ่งเมื่อปี 2541 ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายครึ่งหนึ่งโดยโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 ดังนี้ เมื่อมีการยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้าไปอันเป็นการกระทำละเมิดเมื่อปี 2541 ถือว่าผู้ที่ยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้ารวมทั้งจำเลยที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดคือปี 2541เป็นต้นไป อายุความที่จะฟ้องร้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 ผู้ค้ำประกันจึงเริ่มนับแต่เมื่อนั้น โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดเป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 มิจำต้องบังคับจากผู้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดทุกคนก่อนตามที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 อ้าง โจทก์จึงฟ้องร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระหนี้อันเกิดจากค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 2 ได้
สำนักงานตรวจสอบภายในของโจทก์ได้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานการไฟฟ้าของโจทก์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการทุจริตยักยอกเงินกระแสไฟฟ้าที่เก็บจากประชาชนจำนวนหนึ่งเมื่อปี 2541 ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายครึ่งหนึ่งโดยโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 ดังนี้ เมื่อมีการยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้าไปอันเป็นการกระทำละเมิดเมื่อปี 2541 ถือว่าผู้ที่ยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้ารวมทั้งจำเลยที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดคือปี 2541เป็นต้นไป อายุความที่จะฟ้องร้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 ผู้ค้ำประกันจึงเริ่มนับแต่เมื่อนั้น โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดเป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 มิจำต้องบังคับจากผู้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดทุกคนก่อนตามที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 อ้าง โจทก์จึงฟ้องร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระหนี้อันเกิดจากค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะจากละเมิด, เงินทดแทนสปส., ดอกเบี้ย, และการคำนวณหนี้ผิดนัด
เงินที่โจทก์ได้รับจากสำนักงานประกันสังคมเป็นค่าทดแทนที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 18 ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม ได้จำเลยไม่อาจเอาค่าทดแทนที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับดังกล่าวมาขอลดหย่อนค่าขาดไร้อุปการะได้
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่เวลาทำละเมิดมิใช่เป็นการชดเชยหนี้ในอนาคต และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของค่าขาดไร้อุปการะซึ่งเป็นหนี้เงินอย่างหนึ่งได้ในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่เวลาทำละเมิดมิใช่เป็นการชดเชยหนี้ในอนาคต และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของค่าขาดไร้อุปการะซึ่งเป็นหนี้เงินอย่างหนึ่งได้ในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้บัตรภาษีที่พิพาทร่วมกันระหว่างผู้ขอออกบัตรและผู้รับโอน รวมถึงการคิดดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยที่ 1 สำเนาข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าได้มีการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วยื่นคำขอรับเงินค่าชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้นต่อมาโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1ที่หลอกลวงโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของบัตรภาษีโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 และที่ 6 ได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบเงินชดเชยค่าภาษีอากรที่จ่ายในรูปบัตรภาษีดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องชดใช้จำนวนเงินตามบัตรภาษีที่พิพาทและตกเป็นผู้ผิดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิดหรือวันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4และที่ 6 รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ต้องรับผิดในมูลหนี้อันเป็นลาภมิควรได้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 สุจริต จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 จะต้องคืนเงินหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษี
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องชดใช้จำนวนเงินตามบัตรภาษีที่พิพาทและตกเป็นผู้ผิดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิดหรือวันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4และที่ 6 รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ต้องรับผิดในมูลหนี้อันเป็นลาภมิควรได้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 สุจริต จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 จะต้องคืนเงินหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้มูลละเมิด ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิฟ้องได้ทันที ไม่ต้องทวงถาม และข้อจำกัดการยกเหตุแปลงหนี้ใหม่
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 เจ้าหนี้หาจำต้องเตือนหรือทวงถามก่อนไม่ เจ้าของรถผู้ถูกกระทำละเมิดย่อมเป็นเจ้าหนี้ ชอบที่จะฟ้องผู้ขับรถที่ทำละเมิดนั้นได้เลยโดยไม่ต้องทวงถามให้ใช้ค่าเสียหายก่อน ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วชอบที่จะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 226 และ 880 การที่ ก. ผู้เอาประกันภัยทำความตกลงกับจำเลยผู้ขับรถชนให้นำรถยนต์เข้าซ่อมที่อู่ของ ส.แต่ก.ได้ให้ส. ซ่อมส่วนที่เสียหายอย่างอื่นที่มีอยู่ก่อนเกิดเหตุด้วยทำให้ระยะเวลาในการซ่อมเนิ่นนานออกไปอันทำให้โจทก์ผู้รับประกันภัยต้องเข้ามาดำเนินการซ่อมต่ออีกครั้งหนึ่งก็ดี และการที่ ก. ตกลงกับจำเลยให้นำรถยนต์เข้าซ่อมดังกล่าวเป็นการผิดข้อตกลงกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกปัดไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ก. ก็ได้แต่โจทก์กลับยอมตนเข้าชดใช้ค่าเสียหายโดยเสี่ยงภัยเอาเอง อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากจำเลยได้ก็ดีนั้น หาใช่ข้อต่อสู้ในเรื่องแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ปัญหาดังกล่าวจำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นทั้งไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง