พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยค้ำจุนและการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย หาได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องจึงเกิดจากสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่จำเลยทำกับผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา887 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ต้องเสียหายเข้าใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ต้องเสียหายซึ่งควรจะได้รับจากจำเลยแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหาย ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงในนามของโจทก์เองได้ตามมาตรา 880 เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวจึงนำอายุความละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้
เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย อีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย ฟ้องจำเลยให้รับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิด เพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา 206 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน
เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย อีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย ฟ้องจำเลยให้รับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิด เพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา 206 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการชนทางรถยนต์ การคำนวณค่าเสียหาย และดอกเบี้ย
โจทก์เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวาและรถจักรยานยนต์ของโจทก์ได้แล่นไปถึงกึ่งกลางถนนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกตามหลังรถจักรยานยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังให้โอกาสแก่โจทก์ได้ผ่านไปก่อน จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกมาชนรถจักรยานยนต์โจทก์ในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว
ค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ตามรายการแสดงค่ารักษาพยาบาลของโจทก์มีข้อความตรงกับเอกสารที่โรงพยาบาลได้ส่งศาลตามคำสั่งเรียกที่จำเลยที่ 2ยื่นคำร้องมา และโจทก์มีหัวหน้าแผนกเวชระเบียน โรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวยืนยันว่า โจทก์ได้เสียค่ารักษาพยาบาลไปตามเอกสารเช่นว่านั้นจริง แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเพียงสำเนาแต่ก็มีเจ้าหน้าที่รับรองสำเนามาแล้ว ทั้งกรณีไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความ เอกสารดังกล่าวจึงจะรับฟังได้
ค่าที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่าที่โจทก์ต้องเสียบุคลิกภาพทางร่างกาย และค่าที่โจทก์สูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ไม่อาจมีบุตรได้อีกต่อไปนั้นเป็นค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446
การที่ศาลกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา แต่เป็นกรณีที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อชดใช้ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 206 แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง นับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว
โจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า โจทก์เสียหายส่วนใดเป็นเงินเท่าใด ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์รักษาตัวที่โรงพยาบาลใด จำนวนเท่าใด รักษากี่วันนั้น เป็นข้อที่จะต้องนำสืบพยาน-หลักฐานกันต่อไป เมื่อมีประเด็นข้อโต้เถียงกันในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนค่าเสียหายจึงไม่เคลือบคลุม
ค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ตามรายการแสดงค่ารักษาพยาบาลของโจทก์มีข้อความตรงกับเอกสารที่โรงพยาบาลได้ส่งศาลตามคำสั่งเรียกที่จำเลยที่ 2ยื่นคำร้องมา และโจทก์มีหัวหน้าแผนกเวชระเบียน โรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวยืนยันว่า โจทก์ได้เสียค่ารักษาพยาบาลไปตามเอกสารเช่นว่านั้นจริง แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเพียงสำเนาแต่ก็มีเจ้าหน้าที่รับรองสำเนามาแล้ว ทั้งกรณีไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความ เอกสารดังกล่าวจึงจะรับฟังได้
ค่าที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่าที่โจทก์ต้องเสียบุคลิกภาพทางร่างกาย และค่าที่โจทก์สูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ไม่อาจมีบุตรได้อีกต่อไปนั้นเป็นค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446
การที่ศาลกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา แต่เป็นกรณีที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อชดใช้ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 206 แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง นับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว
โจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า โจทก์เสียหายส่วนใดเป็นเงินเท่าใด ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์รักษาตัวที่โรงพยาบาลใด จำนวนเท่าใด รักษากี่วันนั้น เป็นข้อที่จะต้องนำสืบพยาน-หลักฐานกันต่อไป เมื่อมีประเด็นข้อโต้เถียงกันในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนค่าเสียหายจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดทางแพ่ง นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายทางจิตใจ
โจทก์เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวาและรถจักรยานยนต์ของโจทก์ได้แล่นไปถึงกึ่งกลางถนนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกตามหลังรถจักรยานยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังให้โอกาสแก่โจทก์ได้ผ่านไปก่อน จำเลยที่ 1ขับรถยนต์บรรทุกมาชนรถจักรยานยนต์โจทก์ในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว ค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ตามรายการแสดงค่ารักษาพยาบาลของโจทก์มีข้อความตรงกับเอกสารที่โรงพยาบาลได้ส่งศาลตามคำสั่งเรียกที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องมา และโจทก์มีหัวหน้าแผนกเวชระเบียน โรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวยืนยันว่า โจทก์ได้เสียค่ารักษาพยาบาลไปตามเอกสารเช่นว่านั้นจริง แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเพียงสำเนาแต่ก็มีเจ้าหน้าที่รับรองสำเนามาแล้ว ทั้งกรณีไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความ เอกสารดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ ค่าที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่าที่โจทก์ต้องเสียบุคลิกภาพทางร่างกาย และค่าที่โจทก์สูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ไม่อาจมีบุตรได้อีกต่อไปนั้นเป็นค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินโจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 การที่ศาลกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา แต่เป็นกรณีที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อชดใช้ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง นับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า โจทก์เสียหายส่วนใดเป็นเงินเท่าใด ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2ฎีกาว่า โจทก์รักษาตัวที่โรงพยาบาลใด จำนวนเท่าใด รักษากี่วันนั้น เป็นข้อที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานกันต่อไป เมื่อมีประเด็นข้อโต้เถียงกันในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนค่าเสียหายจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8157/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ละเมิด
จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายจำเลยที่2มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคหนึ่งดังนั้นแม้ว.จะเป็นผู้จ่ายแทนโจทก์โดยว.ไม่ได้เรียกร้องเงินนี้และโจทก์ไม่ได้ชำระเงินจำนวนนี้แก่ว.ก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากจำเลยที่2ได้ จำเลยที่2เป็นนายจ้างของจำเลยที่1มีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลจำเลยที่1ไม่ให้กระทำการใดๆอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นเมื่อจำเลยที่2ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่1กระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในผลแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425แต่จำเลยที่2มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่1ได้ตามมาตรา426 หนี้ละเมิดจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา206จำต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ7ครึ่งต่อปีตามมาตรา224วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8157/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของลูกจ้าง-นายจ้าง, ค่าปลงศพ, ความรับผิดร่วม, ดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพให้โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ ว.จะเป็นผู้จ่ายแทนโจทก์โดย ว.ไม่ได้เรียกร้องเงินนี้และโจทก์ไม่ได้ชำระเงินจำนวนนี้แก่ ว.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ไม่ให้กระทำการใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เมื่อจำเลยที่ 2 ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 แต่จำเลยที่ 2มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 426
หนี้ละเมิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 จำต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ไม่ให้กระทำการใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เมื่อจำเลยที่ 2 ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 แต่จำเลยที่ 2มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 426
หนี้ละเมิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 จำต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับจ้างดูแลรักษารถยนต์ที่สูญหายจากการประมาทของลูกจ้าง และข้อยกเว้นการสละสิทธิไล่เบี้ยในกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้จากผู้เอาประกันภัยเพื่อรับจ้างติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าสจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์มิให้สูญหายเพื่อจะได้คืนรถยนต์ให้ผู้ว่าจ้างเมื่อรถยนต์สูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากส.ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ส.เอาประกันภัยไว้กับโจทก์สูญหายไปเมื่อส.มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามก่อนโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากส.จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามเงื่อนไขท้ายกรมธรรม์ประกันภัยแต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัยเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเองโดยไม่ย้อนสำนวน ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยบริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้นหมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะแต่จำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้างส.ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าสจึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะกรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าวที่ถือว่าโจทก์สละสิทธิไล่เบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ครอบครองรถยนต์จากการประมาทเลินเล่อ และข้อยกเว้นการสละสิทธิไล่เบี้ยตามกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันไว้จากผู้เอาประกันภัยเพื่อรับจ้างติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์มิให้สูญหายเพื่อจะได้คืนรถยนต์ให้ผู้ว่าจ้าง เมื่อรถยนต์สูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว
โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ส.ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ ส.เอาประกันภัยไว้กับโจทก์สูญหายไป เมื่อ ส.มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามก่อน โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจาก ส. จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดตามเงื่อนไขท้ายกรมธรรม์ประกันภัย แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเอง โดยไม่ย้อนสำนวน
ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย บริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น หมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ แต่จำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้าง ส.ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ กรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าวที่ถือว่าโจทก์สละสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ส.ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ ส.เอาประกันภัยไว้กับโจทก์สูญหายไป เมื่อ ส.มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามก่อน โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจาก ส. จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดตามเงื่อนไขท้ายกรมธรรม์ประกันภัย แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเอง โดยไม่ย้อนสำนวน
ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย บริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น หมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ แต่จำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้าง ส.ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ กรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าวที่ถือว่าโจทก์สละสิทธิไล่เบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, การรับผิดของนายจ้าง, ผู้รับประกันภัย, และดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปตามถนนพหลโยธินซึ่งแบ่งเส้นทางจราจรเป็น 2 ช่องเดินรถ โดยมีเกาะกลางถนนคั่นเมื่อถึงหน้ากรมการขนส่งทางบก จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทด้วยความเร็วสูง ไม่ระมัดระวังในการบังคับรถ เป็นเหตุให้รถแล่นขึ้นมาบนเกาะกลางถนนชนเสาไฟฟ้าหักและเป็นเหตุให้โคมไฟฟ้าสาธารณะของโจทก์ที่ติดอยู่บนเสาไฟฟ้าดังกล่าวแตกเสียหาย ซึ่งเป็นการบรรยายถึงลักษณะแห่งความประมาทของจำเลยที่ 1 แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ส่วนจำเลยที่ 1 จะขับรถมาจากทิศทางใด จะไปไหนและออกนอกเส้นทางอย่างไรไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่ผู้เดียว การที่ผู้อำนวยการกองก่อสร้างและบูรณะซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจะถือว่าโจทก์รู้ด้วยไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงชื่อรับทราบและอนุมัติให้ฟ้องคดีในหนังสือแจ้งเหตุละเมิดและขออนุมัติฟ้องคดีในวันที่ 27มิถุนายน 2533 จึงถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2533 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2533 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างซึ่งกฎหมายกำหนดให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันทำละเมิดแก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน เพราะถือว่าจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด การที่โจทก์มีข้อตกลงให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ซ่อมโคมไฟฟ้าสาธารณะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น และโจทก์จะจ่ายเงินค่าซ่อมให้การไฟฟ้านครหลวง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าเสียหายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ จำเลยที่ 3ได้รับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2532 แต่ไม่ชำระภายในกำหนด จำเลยที่ 3จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2532
โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่ผู้เดียว การที่ผู้อำนวยการกองก่อสร้างและบูรณะซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจะถือว่าโจทก์รู้ด้วยไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงชื่อรับทราบและอนุมัติให้ฟ้องคดีในหนังสือแจ้งเหตุละเมิดและขออนุมัติฟ้องคดีในวันที่ 27มิถุนายน 2533 จึงถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2533 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2533 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างซึ่งกฎหมายกำหนดให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันทำละเมิดแก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน เพราะถือว่าจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด การที่โจทก์มีข้อตกลงให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ซ่อมโคมไฟฟ้าสาธารณะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น และโจทก์จะจ่ายเงินค่าซ่อมให้การไฟฟ้านครหลวง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าเสียหายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ จำเลยที่ 3ได้รับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2532 แต่ไม่ชำระภายในกำหนด จำเลยที่ 3จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2532
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, การรับผิดของนายจ้าง, ผู้รับประกันภัย, และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์ไปตามถนน พหลโยธินซึ่งแบ่งเส้นทางจราจรเป็น2ช่องเดินรถโดยมีเกาะกลางถนนคั่นเมื่อถึงหน้ากรมการขนส่งทางบกจำเลยที่1ขับรถด้วยความประมาทด้วยความเร็วสูงไม่ระมัดระวังในการบังคับรถเป็นเหตุให้รถแล่นขึ้นมาบนเกาะกลางถนนชนเสาไฟฟ้าหักและเป็นเหตุให้โคมไฟฟ้าสาธารณะของโจทก์ที่ติดอยู่บนเสาไฟฟ้าดังกล่าวแตกเสียหายซึ่งเป็นการบรรยายถึงลักษณะแห่งความประมาทของจำเลยที่1แล้วคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ส่วนจำเลยที่1จะขับรถมาจากทิศทางใดจะไปไหนและออกนอกเส้นทางอย่างไรไม่ใช่ข้อสาระสำคัญฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่ผู้เดียวการที่ผู้อำนวยการกองก่อสร้างและบูรณะซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจะถือว่าโจทก์รู้ด้วยไม่ได้เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงชื่อรับทราบและอนุมัติให้ฟ้องคดีในหนังสือแจ้งเหตุละเมิดและขออนุมัติฟ้องคดีในวันที่27มิถุนายน2533จึงถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่27มิถุนายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่12ตุลาคม2533ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิดจำเลยที่3จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคแรก จำเลยที่2เป็นนายจ้างซึ่งกฎหมายกำหนดให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่1ได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่2จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่1และต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันทำละเมิดแก่โจทก์โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนเพราะถือว่าจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้วส่วนจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดการที่โจทก์มีข้อตกลงให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ซ่อมโคมไฟฟ้าสาธารณะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นและโจทก์จะจ่ายเงินค่าซ่อมให้การไฟฟ้านครหลวงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่3ชำระค่าเสียหายภายใน15วันนับแต่วันได้รับหนังสือจำเลยที่3ได้รับเมื่อวันที่25สิงหาคม2532แต่ไม่ชำระภายในกำหนดจำเลยที่3จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่10กันยายน2532
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดเริ่มต้นเมื่อเกิดความเสียหายจากการยึดทรัพย์ ไม่ใช่เมื่อชดใช้ค่าเสียหาย
การที่จำเลยทั้งสองใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ประกาศยึดทรัพย์ของโจทก์โดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อได้ ทำให้เกิดความเสียหายตั้งแต่วันนั้น หาใช่โจทก์เพิ่งจะได้รับความเสียหายในวันที่โจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อไม่ จึงเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2532