คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 206

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดเริ่มต้นเมื่อเกิดความเสียหายจากการยึดทรัพย์ ไม่ใช่เมื่อชดใช้ค่าเสียหาย
การที่จำเลยทั้งสองใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ประกาศยึดทรัพย์ของโจทก์โดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อได้ ทำให้เกิดความเสียหายตั้งแต่วันนั้น หาใช่โจทก์เพิ่งจะได้รับความเสียหายในวันที่โจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อไม่ จึงเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, ผู้จัดการมรดก, การทำละเมิด, และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ. ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน 3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 และ 224 โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส: เงินสดและที่ดิน โดยสิทธิในสินสมรสเป็นของโจทก์กึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ.ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 และ 224
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของนายกเทศมนตรีที่ไม่ฟ้องบังคับทายาทตามสัญญา ทำให้โจทก์ขาดสิทธิเรียกร้อง
บันทึกข้อตกลงที่ร.ยกที่ดินให้เทศบาลเมืองยโสธรโจทก์สร้างตลาดสดโดยมีข้อตกลงว่าร.จะสร้างอาคารพาณิชย์ให้เสร็จครบทุกหลังภายในกำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ และจะยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 2 คูหาโดยจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่สร้างตลาดสดเสร็จแล้วเปิดดำเนินการ แล้วโจทก์จะให้ร.เช่าอาคารพาณิชย์2 คูหา มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าคู่หาละ 200 บาท ต่อเดือนหากร.สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะต้องเสียค่าเช่าตามอัตราดังกล่าวแก่โจทก์มีกำหนด 12 ปี เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องให้บังคับกันได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และร. จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และร.ด้วย จำเลยที่ 1 ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่าร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฎิบัติ ต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจากส.จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1คงปล่อยปละละเลยเรื่องมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรมและจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2 ได้ไปทวงถามทายาทของร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคแรกบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ร.ถึงแก่กรรมแต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความจึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากหน้าที่ดูแล-อายุความมรดก: นายกเทศมนตรีละเลยไม่ฟ้องบังคับทายาทตามข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงที่ ร.ยกที่ดินให้เทศบาลเมืองยโสธรโจทก์สร้างตลาดสด โดยมีข้อตกลงว่า ร.จะสร้างอาคารพาณิชย์ให้เสร็จครบทุกหลังภายในกำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ และจะยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 2 คูหา โดยจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ แล้วโจทก์จะให้ ร.เช่าอาคารพาณิชย์ 2 คูหา มีกำหนด 12 ปีค่าเช่าคูหาละ 200 บาท ต่อเดือน หาก ร.สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะต้องเสียค่าเช่าตามอัตราดังกล่าวแก่โจทก์มีกำหนด 12 ปี เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องให้บังคับกันได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และ ร.
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ร.ด้วย จำเลยที่ 1ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่า ร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจาก ส. จำเลยที่ 1มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรม และจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2ได้ไปทวงถามทายาทของ ร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคแรก บังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ร.ถึงแก่กรรม แต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความ จึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานในครอบครัวเป็นค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะ, ค่าใช้จ่ายงานศพจำเป็น, ดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่ง ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย
ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าแรงงานในครอบครัวจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากการเสียชีวิตจากละเมิด ครอบคลุมค่าขาดไร้อุปการะและค่าขาดแรงงานในครอบครัว
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งหากเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจากการกระทำละเมิดทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีผู้ตายต้องขาดแรงงานในครอบครัวไปด้วย โจทก์ที่ 1 ก็สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้อีก ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานใน ครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระภิกษุที่สวดพระอภิธรรมเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์เจ้าหนี้ลูกหนี้เกิดทันทีที่ละเมิด, ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
สภาพการเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ระหว่างผู้ถูกละเมิดคือโจทก์และผู้ต้องรับผิดจากมูลละเมิดคือจำเลย เกิดขึ้นทันทีที่มีการละเมิดขึ้น คำพิพากษาของศาลที่บังคับให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กันมิได้เป็นการก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์จำเลย แต่เป็นการบังคับตามความรับผิดแห่งหนี้ที่โจทก์กับจำเลยได้มีต่อกันจึงถือว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์นับแต่ขณะที่ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อชนท้าย รถยนต์สามล้อที่สามีโจทก์ขับขี่ เป็นเหตุให้สามีโจทก์ถึงแก่ความตายและความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ก็มิได้ถือเอาคำพิพากษาของศาลให้รับผิดทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบความผิดในทางอาญา โดยเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวก็ถือว่าเป็นความผิดแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน เริ่มนับจากวันผิดนัดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ไปเก็บจากลูกค้าเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2526 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2526 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2526 รวมเป็นเงิน 28,989.20 บาท จำเลยที่ 1ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 โจทก์จึงอาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์รับผิดใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันเกิดเหตุตามมาตรา 686อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนั้นมิใช่เริ่มนับตั้งวันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
of 13