พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของตัวการและตัวแทน, ค่าขาดไร้อุปการะ, การกำหนดค่าเสียหาย, และความร่วมรับผิด
คดีฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิดแม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่าค่าขาดไร้อุปการะเป็นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายโจทก์ที่1ที่2ควรได้เป็นรายเดือนรายปีคนละเท่าใดแต่เมื่อได้ระบุจำนวนที่ขอมาศาลก็พิจารณากำหนดให้ได้ไม่เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม จำเลยที่1ประกอบกิจการรถทัวร์ได้เช่ารถทัวร์คันเกิดเหตุมาใช้แทนรถของจำเลยที่1ที่เสียการที่คนขับรถทัวร์ขับรถทัวร์ในกิจการของจำเลยที่1โดยจำเลยที่1เป็นผู้กำหนดให้คนขับกระทำคนขับจึงเป็นผู้กระทำการแทนของจำเลยที่1ถือว่าจำเลยที่1กระทำการนั้นด้วยตนเองเมื่อคนขับรถทัวร์กระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่1ในฐานะตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา427ประกอบมาตรา425 การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะต้องพิจารณาถึงโอกาสแห่งการมีชีวิตของผู้ขอด้วยขณะยื่นฟ้องโจทก์มีอายุ90ปีเศษและถึงแก่กรรมเมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์จึงควรได้รับค่าขาดไร้อุปการะน้อยลง เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถโดยประมาทของคนขับรถทั้งสองคันทำให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นตัวการและนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าจำเลยคนใดต้องรับผิดเฉพาะส่วนไหนเท่าใดจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายนั้น ค่าขาดไร้อุปการะเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากกรณีละเมิดถือว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้รับช่วงสิทธิประกันภัย: การคิดดอกเบี้ยเริ่มต้นเมื่อใด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปฉะนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกละเมิดโดยตรงมิได้เมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนแต่ละจำนวนไปในวันใดโจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยในจำนวนค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวนับแต่วันนั้นเป็นต้นไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิในคดีละเมิด: เริ่มนับจากวันที่ชำระค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป ฉะนั้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกละเมิดโดยตรงมิได้ เมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนแต่ละจำนวนไปในวันใดโจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยในจำนวนค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวนับแต่วันนั้นเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, การประมาทเลินเล่อ, ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะ, และดอกเบี้ย
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างขับรถของบริษัท ข.บริษัท ข.เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารประจำทางได้นำรถยนต์มาเดินร่วมในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 1โดยพ่นสีเดียวกับสีรถยนต์โดยสารประจำทางของจำเลยที่ 1 และมีตราของจำเลยที่ 1 ที่ข้างรถทั้งสองข้างพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารได้รับเงินเดือนจากจำเลยที่ 1 ถือว่าบริษัท ข.ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 1 การที่รถยนต์โดยสารประจำทางมาเดินรับส่งคนโดยสารในลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย
การที่ห้ามล้อเท้าของรถยนต์เกิดใช้การไม่ได้ในขณะขับ เป็นเหตุให้รถยนต์ชนรถยนต์สามล้อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย เพราะยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขับขี่อาจป้องกันได้ถ้าหากใช้ความระมัดระวังตามสมควร โดยตรวจดูสภาพของรถให้เรียบร้อยก่อนนำออกไปรับส่งผู้โดยสาร
การที่รัฐวิสาหกิจออกค่ารักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของตนไปแล้วหาทำให้ผู้ทำละเมิดและนายจ้างพ้นความรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลนั้นต่อผู้เสียหายไม่
ผู้ตายอายุ 50 ปี ไม่ปรากฏว่ามีโรคร้ายประจำตัว และขณะนั้นโจทก์ที่ 1 อายุ 46 ปีปัจจุบันการแพทย์และสาธารณสุขเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ช่วงชีวิตของบุคคลทั่วไปยาวขึ้น การกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเวลา 10 ปีนั้น ควรแก่พฤติการณ์แล้ว
การที่ศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะเป็นกำหนดเวลาแน่นอนและคำนวณเป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งออกมาโดยไม่ต้องรอฟังว่าผู้ขาดไร้อุปการะจะมีชีวิตต่อไปอีกเป็นเวลานานเท่าใดนั้น เป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องและใช้ดุลพินิจไปตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
หนี้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์มิใช่หนี้ในอนาคต แต่เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ผู้เสียหายย่อมฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ทำละเมิดกระทำไปในทางการที่จ้างได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายก่อน เพราะถือว่านายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้ว
การที่ห้ามล้อเท้าของรถยนต์เกิดใช้การไม่ได้ในขณะขับ เป็นเหตุให้รถยนต์ชนรถยนต์สามล้อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย เพราะยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขับขี่อาจป้องกันได้ถ้าหากใช้ความระมัดระวังตามสมควร โดยตรวจดูสภาพของรถให้เรียบร้อยก่อนนำออกไปรับส่งผู้โดยสาร
การที่รัฐวิสาหกิจออกค่ารักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของตนไปแล้วหาทำให้ผู้ทำละเมิดและนายจ้างพ้นความรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลนั้นต่อผู้เสียหายไม่
ผู้ตายอายุ 50 ปี ไม่ปรากฏว่ามีโรคร้ายประจำตัว และขณะนั้นโจทก์ที่ 1 อายุ 46 ปีปัจจุบันการแพทย์และสาธารณสุขเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ช่วงชีวิตของบุคคลทั่วไปยาวขึ้น การกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเวลา 10 ปีนั้น ควรแก่พฤติการณ์แล้ว
การที่ศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะเป็นกำหนดเวลาแน่นอนและคำนวณเป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งออกมาโดยไม่ต้องรอฟังว่าผู้ขาดไร้อุปการะจะมีชีวิตต่อไปอีกเป็นเวลานานเท่าใดนั้น เป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องและใช้ดุลพินิจไปตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
หนี้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์มิใช่หนี้ในอนาคต แต่เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ผู้เสียหายย่อมฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ทำละเมิดกระทำไปในทางการที่จ้างได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายก่อน เพราะถือว่านายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง, การร่วมกิจการ, และการประเมินค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างขับรถของบริษัท ข.บริษัท ข.เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารประจำทางได้นำรถยนต์มาเดินร่วมในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 1โดยพ่นสีเดียวกับสีรถยนต์โดยสารประจำทางของจำเลยที่ 1 และมีตราของจำเลยที่1 ที่ข้างรถทั้งสองข้างพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารได้รับ เงินเดือนจากจำเลยที่ 1 ถือว่าบริษัท ข.ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่1 การที่รถยนต์โดยสารประจำทางมาเดินรับส่งคนโดยสารในลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นกิจการของ จำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่1ด้วย การที่ห้ามล้อเท้าของรถยนต์เกิดใช้การไม่ได้ในขณะขับเป็นเหตุให้รถยนต์ชนรถยนต์สามล้อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเพราะยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขับขี่อาจป้องกันได้ถ้าหากใช้ความระมัดระวังตามสมควรโดยตรวจดูสภาพของรถให้เรียบร้อยก่อนนำออกไปรับส่งผู้โดยสาร การที่รัฐวิสาหกิจออกค่ารักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของตนไปแล้วหาทำให้ผู้ทำละเมิดและนายจ้างพ้นความรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลนั้นต่อผู้เสียหายไม่ ผู้ตายอายุ 50 ปี ไม่ปรากฏว่ามีโรคร้ายประจำตัว และขณะนั้นโจทก์ที่ 1 อายุ 46 ปีปัจจุบันการแพทย์และสาธารณสุขเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนมากช่วงชีวิตของบุคคลทั่วไปยาวขึ้นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ที่ 1เป็นเวลา 10 ปีนั้น ควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่ศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะเป็นกำหนดเวลาแน่นอนและคำนวณเป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งออกมาโดยไม่ต้องรอฟังว่าผู้ขาดไร้อุปการะจะมีชีวิตต่อไปอีกเป็นเวลานานเท่าใดนั้นเป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องและใช้ดุลพินิจไปตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด หนี้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์มิใช่หนี้ในอนาคต แต่เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระทันทีจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด ผู้เสียหายย่อมฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ทำละเมิดกระทำไปในทางการที่จ้างได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายก่อนเพราะถือว่านายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลละเมิด-ค่าเสียหาย-ดอกเบี้ย-ค่าทนายความ: กรณีรถชน-บาดเจ็บ-ทุพพลภาพ-กำหนดค่าเสียหายเหมาะสม
ข้อเท็จจริงได้ความว่ารถยนต์ของจำเลยทุกคันที่จอดไว้ที่ซอยหน้าโรงงานของจำเลยในช่วงเวลากลางวัน เมื่อเลิกงานแล้วจะต้องนำเข้าไปเก็บในโรงงาน ธ. ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้รับมอบกุญแจรถจาก ส. ยามประตูโรงงานผู้มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจรถยนต์ของจำเลย ในช่วงเวลาที่โรงงานจำเลยเลิกงานตามปกติแล้ว และ ธ. ขับรถคันดังกล่าวซึ่งจอดอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงงานนำไปที่ด้านข้างโรงงาน โดยมิได้ขับไปที่อื่นใดหรือขับไปเที่ยวเล่นเพราะในช่วงนั้นเป็นเวลาที่จะต้องนำรถไปเก็บไว้ภายในโรงงาน ดังนี้ เมื่อ ธ. ขับรถไปชนโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บสาหัส ย่อมถือ ได้ว่า ธ. ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย
โดยปกติการนำผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาลย่อมจะส่งไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อให้มีการรักษาพยาบาลรวดเร็วและทันท่วงที เมื่อโรงพยาบาลเอกชนอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่สุด และขณะเกิดเหตุมีผู้อื่นนำโจทก์ที่ 2 ซึ่งอยู่ในอาการช็อคส่งโรงพยาบาลดังกล่าวโดยไม่มีทางเลือกโรงพยาบาลอื่นใดได้อีก เช่นนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองได้เสียค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนั้นไปเพียงใด ค่ารักษาพยาบาลจำนวนนั้นจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงซึ่งโจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเต็มจำนวน แม้ค่ารักษาพยาบาลจะแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐก็ตาม
ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจึงเป็นหนี้เงิน ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด จำต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นไปโดยผลแห่งกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยอีก
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้ศาลพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น ตามอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงแห่งทุนทรัพย์ เมื่อศาลเห็นว่าคดีมีข้อยุ่งยากต้องใช้เวลามาก ทนายความทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติงานนานและใช้เวลามิใช่น้อย และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะเต็มตามฟ้อง ในทุนทรัพย์ 700,000 บาท และกำหนดค่าทนายความในอัตรา ร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าอัตราขั้นสูงตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่นับว่า สูงเกินสมควร
โดยปกติการนำผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาลย่อมจะส่งไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อให้มีการรักษาพยาบาลรวดเร็วและทันท่วงที เมื่อโรงพยาบาลเอกชนอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่สุด และขณะเกิดเหตุมีผู้อื่นนำโจทก์ที่ 2 ซึ่งอยู่ในอาการช็อคส่งโรงพยาบาลดังกล่าวโดยไม่มีทางเลือกโรงพยาบาลอื่นใดได้อีก เช่นนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองได้เสียค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนั้นไปเพียงใด ค่ารักษาพยาบาลจำนวนนั้นจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงซึ่งโจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเต็มจำนวน แม้ค่ารักษาพยาบาลจะแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐก็ตาม
ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจึงเป็นหนี้เงิน ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด จำต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นไปโดยผลแห่งกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยอีก
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้ศาลพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น ตามอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงแห่งทุนทรัพย์ เมื่อศาลเห็นว่าคดีมีข้อยุ่งยากต้องใช้เวลามาก ทนายความทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติงานนานและใช้เวลามิใช่น้อย และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะเต็มตามฟ้อง ในทุนทรัพย์ 700,000 บาท และกำหนดค่าทนายความในอัตรา ร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าอัตราขั้นสูงตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่นับว่า สูงเกินสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การชดใช้ค่ารักษาพยาบาล, และดอกเบี้ยจากหนี้ที่เกิดจากละเมิด
ข้อเท็จจริงได้ความว่ารถยนต์ของจำเลยทุกคันที่จอดไว้ที่ซอยหน้าโรงงานของจำเลยในช่วงเวลากลางวัน เมื่อเลิกงานแล้วจะต้องนำเข้าไปเก็บในโรงงาน ธ.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้รับมอบกุญแจรถจาก ส. ยามประตูโรงงานผู้มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจรถยนต์ของจำเลย ในช่วงเวลาที่โรงงานจำเลยเลิกงานตามปกติแล้ว และ ธ. ขับรถคันดังกล่าวซึ่งจอดอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงงานนำไปที่ด้านข้างโรงงาน โดยมิได้ขับไปที่อื่นใดหรือขับไปเที่ยวเล่นเพราะในช่วงนั้นเป็นเวลาที่จะต้องนำรถไปเก็บไว้ภายในโรงงาน ดังนี้ เมื่อ ธ. ขับรถไปชนโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บสาหัส ย่อมถือ ได้ว่า ธ. ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลย จำเลยจึงต้อง ร่วมรับผิดด้วย โดยปกติการนำผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาลย่อมจะส่งไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อให้มีการรักษาพยาบาลรวดเร็วและทันท่วงที เมื่อโรงพยาบาลเอกชนอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด และขณะเกิดเหตุมีผู้อื่นนำโจทก์ที่ 2 ซึ่งอยู่ในอาการช็อคส่งโรงพยาบาลดังกล่าวโดยไม่มีทางเลือกโรงพยาบาลอื่นใดได้อีก เช่นนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองได้เสียค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนั้นไปเพียงใดค่ารักษาพยาบาลจำนวนนั้นจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงซึ่งโจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้คืน เต็มจำนวน แม้ค่ารักษาพยาบาลจะแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐก็ตาม ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจึงเป็นหนี้เงิน ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด จำต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นไปโดยผลแห่งกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยอีก
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้ศาลพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น ตามอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงแห่งทุนทรัพย์ เมื่อศาลเห็นว่าคดีมีข้อยุ่งยากต้องใช้เวลามาก ทนายความทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติงานนานและใช้เวลามิใช่น้อย และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะเต็มตามฟ้อง ในทุนทรัพย์ 700,000 บาท และกำหนดค่าทนายความในอัตรา ร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าอัตราขั้นสูงตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่นับว่า สูงเกินสมควร
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้ศาลพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น ตามอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงแห่งทุนทรัพย์ เมื่อศาลเห็นว่าคดีมีข้อยุ่งยากต้องใช้เวลามาก ทนายความทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติงานนานและใช้เวลามิใช่น้อย และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะเต็มตามฟ้อง ในทุนทรัพย์ 700,000 บาท และกำหนดค่าทนายความในอัตรา ร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าอัตราขั้นสูงตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่นับว่า สูงเกินสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในละเมิดที่เกิดจากการทำงาน โจทก์ไม่ต้องแจ้งค่าเสียหายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้าง จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ก่อนฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง: ไม่ต้องบอกกล่าวค่าเสียหายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ก่อนฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรหัสประเภทกิจการเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ต้องพิจารณาจากกิจการหลัก แม้มีหลายกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
นายจ้างประกอบกิจการหลายอย่างแต่เกี่ยวข้องกัน ต้องกำหนดรหัสประเภทกิจการเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพียงรหัสเดียว โดยพิจารณาจากกิจการหลักของนายจ้างผู้นั้น
โจทก์ประกอบกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และมีโรงงานกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย จึงเป็นการประกอบกิจการหลายอย่างเกี่ยวข้องกัน เมื่อฟังได้ว่ากิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นกิจการหลัก กิจการทั้งหมดของโจทก์จึงต้องใช้รหัส 1502
การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสผิดไปทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ต้องนำไปวางตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรมแรงงานจำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยของเงินส่วนที่วางเกินไปนั้น
โจทก์ประกอบกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และมีโรงงานกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย จึงเป็นการประกอบกิจการหลายอย่างเกี่ยวข้องกัน เมื่อฟังได้ว่ากิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นกิจการหลัก กิจการทั้งหมดของโจทก์จึงต้องใช้รหัส 1502
การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสผิดไปทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ต้องนำไปวางตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรมแรงงานจำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยของเงินส่วนที่วางเกินไปนั้น