พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดจากละเมิด: การคำนวณดอกเบี้ยสำหรับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังวันละเมิดและค่าเสียหายในอนาคต
ดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามวินิจฉัยข้างต้นว่า โจทก์ทั้งสองมีสิทธิคิดค่าเสียหายจากจำเลยนับแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 ถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่จำเลยกระทำละเมิด โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นับแต่วันที่ 13 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2552 อันเป็นวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามที่โจทก์ขอมา ส่วนที่โจทก์ขอค่าเสียหายรายเดือนหลังวันฟ้อง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากทรัพย์พิพาทนั้น ค่าเสียหายรายเดือนภายหลังวันฟ้อง โจทก์ทั้งสองมีคำขอในลักษณะค่าเสียหายในอนาคต จึงมิใช่หนี้เงินผิดนัดที่โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8192/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหาย
แม้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาทก็ตาม แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 40 บัญญัติว่า "การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง" การที่บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาโดยกำหนดให้รัฐ (พนักงานอัยการ) และผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีส่วนแพ่งรวมไปกับคดีอาญาและให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งไปในคราวเดียวกัน โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องกันใหม่ ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น ถึงแม้ว่าในบางกรณีเขตอำนาจปกติของศาลที่พิจารณาคดีอาญาไม่อาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นได้ก็ตาม ต้องถือว่าเป็นกรณีที่กฎหมายประสงค์จะยกเว้นให้ทำได้ ดังเช่นพนักงานอัยการร้องขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 หรือผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 กรณีจึงไม่จำต้องคำนึงว่าศาลที่พิจารณาคดีอาญาจะเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 2 (1) และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) วรรคหนึ่งหรือไม่ และผู้เสียหายที่ยื่นฟ้องจะขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด ดังนี้ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำนวนเงินที่ขอเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งได้
จำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินโดยไม่ให้ดอกเบี้ยก่อนฟ้องจึงไม่ชอบ
จำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินโดยไม่ให้ดอกเบี้ยก่อนฟ้องจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6282/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากละเมิดและการผิดนัดชำระหนี้: กรณีนายจ้าง ผู้รับประกันภัย และระยะเวลาการคิดดอกเบี้ย
การวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันใด ศาลจำต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งกำหนดให้ลูกหนี้ผิดนัดนับตั้งแต่เวลาใดและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่เวลานั้น กรณีจึงเป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 บัญญัติว่า ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนี้ จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์นับแต่วันทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเช่นกัน สำหรับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนหรือเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ไม่ใช่ผู้กระทำละเมิดหรือผู้ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์กำหนดแต่เพียงวงเงินความรับผิดที่จำเลยที่ 3 ต้องชดใช้ โดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด โดยต้องรับผิดนับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ผิดนัดเท่านั้น และเมื่อหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัย อันเกิดขึ้นตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แล้วและจำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 แต่หนังสือทวงถามโจทก์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 3 ปฏิบัติการชำระหนี้ ดังนี้ เมื่อเป็นหนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และจำเลยที่ 3 ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 เมื่อจำเลยที่ 3 รับหนังสือทวงถามในวันที่ 2 สิงหาคม 2545 แล้ว ไม่ชำระค่าสินไหมทดแทน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2545 และต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 บัญญัติว่า ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนี้ จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์นับแต่วันทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเช่นกัน สำหรับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนหรือเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ไม่ใช่ผู้กระทำละเมิดหรือผู้ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์กำหนดแต่เพียงวงเงินความรับผิดที่จำเลยที่ 3 ต้องชดใช้ โดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด โดยต้องรับผิดนับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ผิดนัดเท่านั้น และเมื่อหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัย อันเกิดขึ้นตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แล้วและจำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 แต่หนังสือทวงถามโจทก์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 3 ปฏิบัติการชำระหนี้ ดังนี้ เมื่อเป็นหนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และจำเลยที่ 3 ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 เมื่อจำเลยที่ 3 รับหนังสือทวงถามในวันที่ 2 สิงหาคม 2545 แล้ว ไม่ชำระค่าสินไหมทดแทน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2545 และต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดตามกฎหมาย: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขความผิดพลาดแม้ไม่มีการฎีกา, ผู้รับประกันภัยรับผิดเฉพาะวงเงินตามกรมธรรม์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจรับประกันภัยวินาศภัยทุกประเภทและเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน วค 5927 กรุงเทพมหานคร เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิด จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย โดยขอให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนที่โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 รับผิดไม่เกินวงเงิน 100,000 บาท ของส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 เท่ากับโต้แย้งแล้วว่ามีข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าไม่ได้เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ก็คงถือได้เพียงว่าจำเลยที่ 2 รับแล้วว่าเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งความรับผิดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
กรมธรรม์ภาคสมัครใจที่จำเลยที่ 2 ส่งมาตามคำสั่งเรียกและโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานระบุความรับผิดในเรื่องความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. 100,000 บาทต่อคน อันเป็นการกำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ในความเสียหายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วย ซึ่งกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามชนิด ประเภท และขนาดของรถ พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน 2546 ข้อ 3 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อคนดังต่อไปนี้ (1) ห้าหมื่นบาทต่อคน สำหรับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัยนอกจากกรณีตาม (2) และ (2) หนึ่งแสนบาทต่อคน สำหรับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัยอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ...... (ช) ทุพพลภาพอย่างถาวร โจทก์เบิกความเพียงว่าสภาพร่างกายของโจทก์ไม่สามารถกลับไปประกอบอาชีพเสริมสวยได้เหมือนเดิม โดยไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็นว่าอาการบาดเจ็บที่โจทก์ได้รับนั้นรุนแรงหรือส่งผลถึงขนาดไม่สามารถประกอบอาชีพเสริมสวยที่ทำประจำอยู่ได้โดยสิ้นเชิงอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพอย่างถาวร ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงมีเพียง 50,000 บาท เมื่อรวมกับความรับผิดในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย 100,000 บาท และความรับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งมีวงเงิน 1,000,000 บาทต่อครั้ง ตามกรมธรรม์ภาคสมัครใจที่โจทก์ต้องเสียค่าซ่อมรถจักรยานยนต์โดยศาลชั้นต้นกำหนดให้ 2,385 บาทแล้ว รวมเป็นเงิน 152,385 บาท ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 รับผิดเต็มตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา และโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันทำละเมิด แต่จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุนมีความผูกพันต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่ต้องรับผิด ไม่ได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด เมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เมื่อใด จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ปัญหาเรื่องการกำหนดความรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
กรมธรรม์ภาคสมัครใจที่จำเลยที่ 2 ส่งมาตามคำสั่งเรียกและโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานระบุความรับผิดในเรื่องความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. 100,000 บาทต่อคน อันเป็นการกำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ในความเสียหายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วย ซึ่งกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามชนิด ประเภท และขนาดของรถ พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน 2546 ข้อ 3 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อคนดังต่อไปนี้ (1) ห้าหมื่นบาทต่อคน สำหรับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัยนอกจากกรณีตาม (2) และ (2) หนึ่งแสนบาทต่อคน สำหรับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัยอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ...... (ช) ทุพพลภาพอย่างถาวร โจทก์เบิกความเพียงว่าสภาพร่างกายของโจทก์ไม่สามารถกลับไปประกอบอาชีพเสริมสวยได้เหมือนเดิม โดยไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็นว่าอาการบาดเจ็บที่โจทก์ได้รับนั้นรุนแรงหรือส่งผลถึงขนาดไม่สามารถประกอบอาชีพเสริมสวยที่ทำประจำอยู่ได้โดยสิ้นเชิงอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพอย่างถาวร ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงมีเพียง 50,000 บาท เมื่อรวมกับความรับผิดในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย 100,000 บาท และความรับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งมีวงเงิน 1,000,000 บาทต่อครั้ง ตามกรมธรรม์ภาคสมัครใจที่โจทก์ต้องเสียค่าซ่อมรถจักรยานยนต์โดยศาลชั้นต้นกำหนดให้ 2,385 บาทแล้ว รวมเป็นเงิน 152,385 บาท ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 รับผิดเต็มตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา และโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันทำละเมิด แต่จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุนมีความผูกพันต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่ต้องรับผิด ไม่ได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด เมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เมื่อใด จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ปัญหาเรื่องการกำหนดความรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7383/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: การประเมินค่าเสียหายจากเหตุสูญเสียการมองเห็นและผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
อ. ครูประจำชั้นของโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนของจำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อในการดูแลความปลอดภัยของโจทก์โดยละเลยไม่รีบนำโจทก์ไปให้แพทย์ตรวจรักษาดวงตา หลังจากทราบว่าโจทก์ถูกเด็กชาย ณ. ใช้หนังยางยิงแท่งดินสอถูกดวงตาข้างซ้าย ซึ่งการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวน่าเชื่อว่ามีส่วนทำให้ดวงตาข้างซ้ายของโจทก์ติดเชื้อ โดย ว. จักษุแพทย์พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า หากดวงตาข้างซ้ายของโจทก์ไม่ติดเชื้อก็อาจจะไม่ถึงขนาดสูญเสียการมองเห็น เมื่อโจทก์นำสืบรับฟังได้ว่า โจทก์ต้องสูญเสียการมองเห็นในเวลาต่อมาตามใบรับรองแพทย์ โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ในข้อนี้ให้เห็นเป็นอย่างอื่น เช่นนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดในผลของความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 420
โจทก์มิได้นำสืบในรายละเอียดของค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าเจ็บป่วยต้องทนทุกขเวทนาและกระทบกระเทือนจิตใจที่สูญเสียดวงตาข้างซ้าย กับค่าสูญเสียดวงตาในการทำมาหาเลี้ยงชีพตามที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้องแต่ละจำนวน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายและมีค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้อง ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่เวลาที่ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันถัดจากวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องฎีกา
โจทก์มิได้นำสืบในรายละเอียดของค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าเจ็บป่วยต้องทนทุกขเวทนาและกระทบกระเทือนจิตใจที่สูญเสียดวงตาข้างซ้าย กับค่าสูญเสียดวงตาในการทำมาหาเลี้ยงชีพตามที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้องแต่ละจำนวน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายและมีค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้อง ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่เวลาที่ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันถัดจากวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4304/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดในความเสียหายจากการตอกเสาเข็ม แม้จะจ้างผู้รับเหมาช่วง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตอกเสาเข็มในโครงการบ้านพักอาศัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ติดกับอาคารพิพาทของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้าง ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 1 คือผู้ว่าจ้าง ส่วนจำเลยที่ 2 คือผู้รับจ้าง และแม้ความจริงจะปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เพียงรับจ้างก่อสร้างอาคาร มิได้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วย อันทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น ไม่ว่าจะจ้างใครเข้าไปตอกเสาเข็มในที่ดินพิพาท ก็ยังคงสถานะความเป็นผู้ว่าจ้างอยู่เช่นเดิม จำเลยที่ 1 จึงไม่พ้นความผูกพันในฐานะผู้ว่าจ้างทำของ ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 428 ฉะนั้น การพ้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 เนื่องเพราะมิได้เป็นผู้รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ในการตอกเสาเข็มจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัว คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นเรื่องของการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 1 เริ่มก่อสร้างบ้านโดยใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในวันใด จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2558
โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 1 เริ่มก่อสร้างบ้านโดยใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในวันใด จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2558
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10408/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สิน การละเมิด และความรับผิดของผู้กระทำละเมิดกับนายจ้าง
แม้โจทก์ไม่ได้แต่งตั้งให้ ฐ. ไปทำสัญญาเช่าซื้อเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทกับบริษัท ท. มีผลให้สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าบริษัท ท. สละเจตนาครอบครองเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทพร้อมอุปกรณ์ เมื่อโจทก์เข้ายึดถือเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องผู้ทำละเมิดและฟ้องเรียกเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทคืนได้
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทโดยนำไปร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 นำเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อโดยพลการและโดยไม่มีสิทธิ แม้จำเลยที่ 3 จะสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก็ไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และต้องคืนเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทพร้อมอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ซึ่งมีสิทธิดีกว่า และโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่คืนจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206
การที่จำเลยที่ 2 ลูกจ้าง เคลื่อนย้ายเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทออกจากสวนสนุกไปเพื่อทำสีใหม่นั้น เป็นเพราะจำเลยที่ 1 นายจ้างสั่งการ แต่จำเลยที่ 2 กลับนำเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทไปเก็บและนำไปให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและจำเลยที่ 1 ไม่รู้เห็นด้วยก็ไม่ใช่สาระสำคัญ จำเลยที่ 1 นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ลูกจ้างต่อโจทก์ตามฟ้อง
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทโดยนำไปร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 นำเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อโดยพลการและโดยไม่มีสิทธิ แม้จำเลยที่ 3 จะสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก็ไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และต้องคืนเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทพร้อมอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ซึ่งมีสิทธิดีกว่า และโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่คืนจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206
การที่จำเลยที่ 2 ลูกจ้าง เคลื่อนย้ายเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทออกจากสวนสนุกไปเพื่อทำสีใหม่นั้น เป็นเพราะจำเลยที่ 1 นายจ้างสั่งการ แต่จำเลยที่ 2 กลับนำเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทไปเก็บและนำไปให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและจำเลยที่ 1 ไม่รู้เห็นด้วยก็ไม่ใช่สาระสำคัญ จำเลยที่ 1 นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ลูกจ้างต่อโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ตามคำพิพากษา ถือเป็นการกระทำละเมิด ผู้กระทำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์และพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยไม่วินิจฉัยในประเด็นฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยแก้อุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ โดยมิได้แก้อุทธรณ์ในปัญหาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัย เพราะไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยข้อต่อไปมีว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ และโจทก์ฎีกาปัญหาข้อนี้มา โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยย่อมทราบดีว่าการขายทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัท บ. ให้แก่บุคคลอื่น จะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่อาจบังคับเอาทรัพย์สินของบริษัท บ. มาชำระหนี้ได้ เป็นการจงใจทำโดยผิดกฎหมาย โจทก์ย่อมเสียหายทางทรัพย์สินแล้ว การกระทำผิดกฎหมายดังนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้ผิดคือได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ การกำหนดจำนวนค่าเสียหายศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 400,000 บาท และโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 เมื่อฟังว่า การโอนทรัพย์สินของจำเลยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นการกระทำละเมิดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันดังกล่าวตามฟ้องด้วย
ปัญหาต้องวินิจฉัยข้อต่อไปมีว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ และโจทก์ฎีกาปัญหาข้อนี้มา โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยย่อมทราบดีว่าการขายทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัท บ. ให้แก่บุคคลอื่น จะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่อาจบังคับเอาทรัพย์สินของบริษัท บ. มาชำระหนี้ได้ เป็นการจงใจทำโดยผิดกฎหมาย โจทก์ย่อมเสียหายทางทรัพย์สินแล้ว การกระทำผิดกฎหมายดังนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้ผิดคือได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ การกำหนดจำนวนค่าเสียหายศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 400,000 บาท และโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 เมื่อฟังว่า การโอนทรัพย์สินของจำเลยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นการกระทำละเมิดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันดังกล่าวตามฟ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4202/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการก่อสร้าง: ผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้างต้องร่วมรับผิดชอบต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนและเป็นผู้เข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างถนนกาญจนาภิเษกจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของโครงการ วันเกิดเหตุ อ. ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปตามถนนกาญจนาภิเษกบริเวณซึ่งเป็นที่เกิดเหตุ โดยทางเดินรถช่องขวาสุดกำลังก่อสร้างทางมีลักษณะเป็นทางต่างระดับกับทางปกติ และมีวัสดุอุปกรณ์วางเกะกะอยู่ โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ติดตั้งสัญญาณและไฟส่องสว่าง เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะทราบ เป็นเหตุให้ อ. ขับรถเฉี่ยวชนวัสดุก่อสร้างจนรถยนต์ได้รับความเสียหาย คำฟ้องโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาโดยละเอียดแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว แม้ตามสำเนารายงานประจำวันเอกสารท้ายฟ้องจะระบุว่าขณะเกิดเหตุ อ. ขับรถมาในช่องทางเดินรถซ้ายสุดแตกต่างจากที่ระบุในฟ้อง แต่คำฟ้องโจทก์อยู่ในวิสัยที่จำเลยทั้งสองสามารถเข้าใจได้ว่า รถยนต์คันเกิดเหตุชนกับวัสดุก่อสร้างในช่องเดินรถด้านขวาซึ่งเป็นทางต่างระดับ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยที่ 1 ไม่ติดตั้งเครื่องหมายหรือสัญญาและไฟส่องสว่าง เพื่อให้ผู้ขับขี่รถยนต์ในเวลากลางคืนมีโอกาสเห็นถนนที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ เป็นเหตุให้ อ. ขับรถชนแท่งเหล็กที่จำเลยที่ 1 วางไว้ จนได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของโครงการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ในการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ควบคุมดูแล ถือเป็นความประมาทของจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย แม้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างจะกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ก็เป็นเรื่องตกลงกันภายในระหว่างจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวด้วย
ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เพราะโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 บัญญัติว่า หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น โจทก์ในฐานะผู้เข้ารับช่วงสิทธิจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าซ่อมรถครั้งสุดท้ายได้
การที่จำเลยที่ 1 ไม่ติดตั้งเครื่องหมายหรือสัญญาและไฟส่องสว่าง เพื่อให้ผู้ขับขี่รถยนต์ในเวลากลางคืนมีโอกาสเห็นถนนที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ เป็นเหตุให้ อ. ขับรถชนแท่งเหล็กที่จำเลยที่ 1 วางไว้ จนได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของโครงการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ในการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ควบคุมดูแล ถือเป็นความประมาทของจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย แม้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างจะกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ก็เป็นเรื่องตกลงกันภายในระหว่างจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวด้วย
ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เพราะโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 บัญญัติว่า หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น โจทก์ในฐานะผู้เข้ารับช่วงสิทธิจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าซ่อมรถครั้งสุดท้ายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
จำเลยที่ 4 ไม่นำสืบว่าเหตุใดจึงยอมรับทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันนี้กับจำเลยที่ 3 ทั้งๆ ที่น่าจะทราบดีว่าจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามพฤติการณ์เชื่อว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 โดยไม่เปิดเผยชื่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใดๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำให้แทนตนก็ได้ สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมีผลบังคับใช้ได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์นำรถยนต์คันนี้ไปใช้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้ว และตามสัญญาประกันภัย หมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 ข้อ 2.6 ระบุว่าการคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแต่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์กำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิดเมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแต่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์กำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิดเมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป