คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 686

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8951/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ค้ำประกันในการไล่เบี้ยลูกหนี้และรับช่วงสิทธิเจ้าหนี้เมื่อชำระหนี้แทน
โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันมีความผูกพันในอันจะต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระ และโจทก์ได้เข้าชำระหนี้นั้นแล้ว โจทก์จึงย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยรวมถึงเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งการรับช่วงสิทธิของโจทก์ย่อมมีขึ้นด้วยอำนาจกฎหมายและย่อมสำเร็จเป็นประโยชน์แก่โจทก์ในทันทีตามมาตรา 229 (3)
กรณีเจ้าหนี้เรียกให้โจทก์ชำระค่าประกันชดเชยตามสัญญาค้ำประกัน แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้วตามมาตรา 686 ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิทั้งหลายของเจ้าหนี้อันมีต่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเพื่อต้นเงินและดอกเบี้ยที่ชำระแก่เจ้าหนี้ไป รวมทั้งดอกเบี้ยผิดนัดของต้นเงินนั้นในทันทีที่ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ เพียงแต่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อเงินที่โจทก์ชำระให้แก่เจ้าหนี้ไม่ปรากฏว่าเป็นดอกเบี้ย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินที่ได้ชำระแทนไปพร้อมดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่กฎหมายกำหนดตามที่โจทก์เรียกร้อง นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลย เพราะจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดมาก่อนแล้ว หาใช่จะตกเป็นผู้ผิดนัดก็ต่อเมื่อโจทก์ได้เรียกให้ชำระหนี้ตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ และสิทธิของฝ่ายขายในการบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านเอื้ออาทรกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินเพื่อชำระค่าที่ดินพร้อมบ้านให้แก่จำเลยที่ 1 ต่อมาโจทก์ผิดนัด 3 งวดติดต่อกัน จำเลยที่ 2 จึงขอให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดแทน ซึ่งตามสัญญาค้ำประกันข้อ 2 กำหนดว่า "หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่ธนาคารไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ โดยมีจำนวนหนี้ค้างชำระทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นสะสมรวมกันตั้งแต่ 3 งวดขึ้นไป ... ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดสัญญากู้เงิน และเป็นผลให้หนี้ตามสัญญากู้ถึงกำหนดชำระทันที และผู้ค้ำประกันยินยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน." และตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่มีข้อตกลงว่าก่อนจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้จำเลยที่ 2 แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อน เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนแล้วตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านเอื้ออาทร ข้อ 9 ให้ถือว่าโจทก์ผู้ซื้อผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
การใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนไม่อยู่ในบังคับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2544 ข้อ 3 (2) เพราะประกาศดังกล่าวเป็นการควบคุมเฉพาะธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา มิได้หมายรวมถึงธุรกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรในการกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 2 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อการบริโภค กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฯ ดังกล่าว ทั้งเมื่อโจทก์ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด จำเลยที่ 2 เจ้าหนี้จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่จำเลยที่ 2 เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่ค้างชำระแทนโจทก์ผู้กู้ยืมจึงชอบแล้ว กรณีไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ต้องแก้ไขการผิดสัญญาก่อน จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทได้ตามฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619-6620/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันก่อนล้มละลาย สิทธิเรียกร้องต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากไม่ยื่นสิทธิขาด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์และได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้ว โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นการทำสัญญาค้ำประกันก่อนวันที่จำเลยที่ 2 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มูลหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันจึงเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดการที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดโจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้เพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 เท่านั้นหาทำให้มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหมดไป โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายภายในกำหนด 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันมาฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21413/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับชำระหนี้ทายาทของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองก่อนถึงกำหนดชำระหนี้หลัก
โจทก์กับบริษัท ด. ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดย ด. ผูกพันยอมรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันและตามสัญญาจำนองที่มีอยู่เดิม ต่อมา ด. ถึงแก่ความตาย ไม่ปรากฏว่าบริษัท ด. ตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้กองมรดกของ ด. และจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ด. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองประกันหนี้ของบริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กรณียังไม่ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ในการฟ้องบังคับให้กองมรดกของ ด. รวมทั้งจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ด. ให้รับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296-297/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาค่าก่อสร้าง, ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ค้ำประกัน, ค่าเสียหาย, การแก้ไขคำพิพากษา
ว. กรรมการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 เคยมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ระงับการชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนโดยระบุว่าคดีได้ขึ้นสู่ศาลแล้วซึ่งเป็นหนังสือลงวันที่ 2 เมษายน 2546 ดังนั้น ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ว่าเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2546 จึงรับฟังไม่ได้ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าถูกโจทก์ฟ้อง อย่างช้าที่สุดก็ในวันที่ 2 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่ ว. ทำหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยังมีเวลาอีกหลายวันพอแก่การจัดทำคำให้การเพื่อยื่นต่อศาลได้ เนื่องจากวันที่ 12 เมษายน 2546 ซึ่งครบกำหนดยื่นคำให้การเป็นวันเสาร์ ต่อจากนั้นเป็นวันหยุดตรุษสงกรานต์ซึ่งศาลหยุดทำการ แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้จัดทำคำให้การมายื่นต่อศาลในวันแรกที่ศาลเปิดทำการไม่ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดยื่นคำให้การไปแล้วหลายวัน จำเลยที่ 1 จึงได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างเหตุซึ่งไม่เป็นความจริง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 1 มิได้สนใจเกี่ยวกับการที่ถูกโจทก์ฟ้องและไม่เอาใจใส่ที่จะดำเนินการต่อสู้คดี ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่จงใจหรือมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่เพราะข้อความในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวมิได้ระบุไว้เช่นนั้นโดยชัดแจ้ง การที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและการบังคับค้ำประกัน: เริ่มนับจากวันทำละเมิด ไม่ใช่แค่วันบอกกล่าวหนี้
อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ที่จำเลยที่ 2 ได้ยักยอกเงินของโจทก์ไป อันเป็นการรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดตามมาตรา 206 ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อผู้ค้ำประกันกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สำนักงานตรวจสอบภายในของโจทก์ได้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานการไฟฟ้าของโจทก์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการทุจริตยักยอกเงินกระแสไฟฟ้าที่เก็บจากประชาชนจำนวนหนึ่งเมื่อปี 2541 ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายครึ่งหนึ่งโดยโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 ดังนี้ เมื่อมีการยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้าไปอันเป็นการกระทำละเมิดเมื่อปี 2541 ถือว่าผู้ที่ยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้ารวมทั้งจำเลยที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดคือปี 2541เป็นต้นไป อายุความที่จะฟ้องร้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 ผู้ค้ำประกันจึงเริ่มนับแต่เมื่อนั้น โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดเป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 มิจำต้องบังคับจากผู้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดทุกคนก่อนตามที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 อ้าง โจทก์จึงฟ้องร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระหนี้อันเกิดจากค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้เมื่อลูกหนี้กระทำละเมิด แม้ศาลยกฟ้องลูกหนี้ด้วยเหตุอื่น
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะเป็นฟ้องซ้อนมิได้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ถ้าลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้แต่นั้นประกอบกับมาตรา 691 ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิตามมาตรา 688,689 และ 690 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันที่ต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้ศาลยกฟ้องลูกหนี้เนื่องจากไม่ใช่หนี้ตามฟ้อง
ศาลแรงงานกลางมิได้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ถ้าลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้แต่นั้นประกอบกับมาตรา 691 ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเบียดบังยักยอกสินค้าของโจทก์ และเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบแก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6100/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงานที่ขอบเขตครอบคลุมถึงตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงภายหลัง ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการทุจริต
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 โดยระบุว่า "ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 2) ขอเข้าเป็นผู้ค้ำประกันของนาย ม. (จำเลยที่ 1) ซึ่งทำงานในตำแหน่ง? ในธนาคารศรีนคร จำกัด (โจทก์) หรือในตำแหน่งอื่นใดซึ่งจะได้มีการโยกย้ายในภายหน้า?" หมายความว่า จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งขณะที่เข้าทำงานกับโจทก์ และตำแหน่งอื่นใดซึ่งจะมีการโยกย้ายในภายหน้าด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะเลื่อนตำแหน่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขา ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมค้ำประกันด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทุจริตต่อหน้าที่ทำความเสียหายแก่โจทก์ และผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 และ 686

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6100/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงานที่ครอบคลุมตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลง และความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ทุจริต
จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งขณะที่เข้าทำงานกับโจทก์และตำแหน่งอื่นใดซึ่งจะมีการโยกย้ายในภายหน้าด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะเลื่อนตำแหน่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมค้ำประกันด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ทำความเสียหายแก่โจทก์ และผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 และ 686
of 13