พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรเมื่อไม่ได้ส่งออกสินค้าตามกำหนด และสิทธิการเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศโดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวางประกัน และรับของไปจากอารักขาของศุลกากรเป็นเพียงการผ่อนผันชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตสินค้าส่งออกไปต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามกฎหมาย ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำเงินอากรขาเข้าและภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องติดตามทางถามให้จำเลยชำระ ทั้งตาม พ.ร.บ. ศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยตามกฎหมาย
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางก็ไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรว่าถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) ตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ และเมื่อเรียกจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วหนี้ยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่มแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) และเงินเพิ่ม จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและภายในชอบที่กฎหมายบัญญัติ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางก็ไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรว่าถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) ตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ และเมื่อเรียกจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วหนี้ยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่มแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) และเงินเพิ่ม จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและภายในชอบที่กฎหมายบัญญัติ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147-148/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกัน, การบังคับชำระหนี้, การผิดสัญญาซื้อขาย และค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ธนาคาร ก. ค้ำประกันบริษัท จ. ต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า หากบริษัท จ. ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา ซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยมีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆจากบริษัท จ. ได้แล้ว ธนาคาร ก. ยอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้บริษัท จ. ชำระก่อน การที่บริษัท จ. ผิดสัญญาซื้อขาย การสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมมีสิทธิเรียกค่าปรับ และค่าเสียหายตามสัญญาและเมื่อบริษัท จ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดแล้วการสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมมีอำนาจฟ้องธนาคาร ก. ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 แม้ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิก สัญญาซื้อขายต่อบริษัท จ. ก่อนก็ตาม
สัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท จ. กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 3 กรกฎาคม2528 เมื่อบริษัท จ. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิที่จะเรียกให้ธนาคาร ก. ผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ชำระหนี้ได้แต่นั้นตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่จำเลย อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่ธนาคาร ก. ได้อายุความจึงเริ่มนับแต่ วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันในวันที่ 19 กรกฎาคม 2526 และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อนับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องบริษัท จ. โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายและได้มีคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาโดยส่งมอบชุมสายเทเล็กซ์พร้อมการติดตั้งในระบบสมบูรณ์ตามสัญญาซื้อขายแล้ว หากให้บริษัท จ. ชำระค่าเสียหายในราคาอุปกรณ์ชุมสายเทเล็กซ์ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยซื้อมาใช้งานก็จะเป็นการให้ค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกับคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ไม่ได้
สัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท จ. กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 3 กรกฎาคม2528 เมื่อบริษัท จ. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิที่จะเรียกให้ธนาคาร ก. ผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ชำระหนี้ได้แต่นั้นตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่จำเลย อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่ธนาคาร ก. ได้อายุความจึงเริ่มนับแต่ วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันในวันที่ 19 กรกฎาคม 2526 และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อนับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องบริษัท จ. โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายและได้มีคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาโดยส่งมอบชุมสายเทเล็กซ์พร้อมการติดตั้งในระบบสมบูรณ์ตามสัญญาซื้อขายแล้ว หากให้บริษัท จ. ชำระค่าเสียหายในราคาอุปกรณ์ชุมสายเทเล็กซ์ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยซื้อมาใช้งานก็จะเป็นการให้ค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกับคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันการชำระเงินค่าจ้างล่วงหน้าเกินกว่าวงเงินค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการจ่ายเงินล่วงหน้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเต็มจำนวนหรือบางส่วนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายคืนเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นแทนในวงเงิน 500,000 บาท จึงเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระเงินล่วงหน้าคืนเท่านั้น มิใช่เรื่องค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างแต่คิดคำนวณเนื้องานที่ทำไปแล้วเป็นเงิน 683,077 บาท ดังนั้น เมื่อผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไปคำนวณเป็นเงินเกินกว่า 500,000 บาท จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวจึงพ้นจากความรับผิด
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน การชำระหนี้แทนลูกหนี้ และสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ภาษีอากรหรือภาษีอากรเพิ่มรวมกับเงินเพิ่มตลอดจนหนี้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่โจทก์ที่ 1 อาจจะต้องเสียแก่กรมศุลกากรโดยไม่ได้มีข้อตกลงให้สิทธิโจทก์ทั้งสองที่จะยกเลิกสัญญาค้ำประกันหรือมีสิทธิที่จะสั่งระงับมิให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรและภาษีอากรเพิ่มรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดจนหนี้อุปกรณ์อื่น ๆ ตามกฎหมายได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะสั่งให้จำเลยที่ 1 ระงับการจ่ายเงินให้แก่กรมศุลกากร เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือให้ไปชำระค่าภาษีอากร เนื่องจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของกรมศุลกากรผิดนัด กรมศุลกากรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องชำระเงินจำนวนที่ค้ำประกันไว้ให้แก่กรมศุลกากร เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากโจทก์ที่ 1 ลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136-8139/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้แรงงาน: สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องบังคับค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 686 บัญญัติให้เจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ผิดนัด เมื่อบริษัทนายจ้างผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามมาตรา 686 ได้ แม้มาตรา 688 และมาตรา 689 จะให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ให้โจทก์ทั้งสี่ไปเรียกร้องให้ลูกหนี้ชั้นต้นชำระหนี้ก่อนที่จะเรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกัน ก็มิได้หมายความว่า ถ้าโจทก์ทั้งสี่ไม่ฟ้องเรียกร้องเอาจากบริษัทนายจ้างลูกหนี้แล้ว โจทก์ทั้งสี่จะไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเอาจากจำเลย ประกอบกับหากจำเลยประสงค์จะให้บริษัทนายจ้างลูกหนี้ชั้นต้นรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ชอบที่จะขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบริษัทนายจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ จำเลยจึงหามีสิทธิยกมาตรา 688 และมาตรา 689 ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ได้ไม่
การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย บริษัทนายจ้างได้ตกลงแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นงวด จำนวน 10 งวด งวดละเท่า ๆ กัน แต่บริษัทนายจ้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่เพียงงวดแรกงวดเดียว จนถึงวันฟ้องก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสี่อีก แม้โจทก์ทั้งสี่จะฟ้องคดีนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้งวดสุดท้าย ก็ถือได้ว่าบริษัทนายจ้างผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว โจทก์ทั้งสี่ย่อมถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ได้ ผู้ค้ำประกันจะยกมาตรา 687 ขึ้นต่อสู้เพื่อโต้แย้งว่าตนไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระหาได้ไม่
การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย บริษัทนายจ้างได้ตกลงแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นงวด จำนวน 10 งวด งวดละเท่า ๆ กัน แต่บริษัทนายจ้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่เพียงงวดแรกงวดเดียว จนถึงวันฟ้องก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสี่อีก แม้โจทก์ทั้งสี่จะฟ้องคดีนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้งวดสุดท้าย ก็ถือได้ว่าบริษัทนายจ้างผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว โจทก์ทั้งสี่ย่อมถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ได้ ผู้ค้ำประกันจะยกมาตรา 687 ขึ้นต่อสู้เพื่อโต้แย้งว่าตนไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การค้ำประกัน, การบอกกล่าวบังคับจำนอง และการฟ้องร้องบังคับคดี
ส.เป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ และมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้พนักงานของธนาคารโจทก์กระทำการใด ๆ ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับธนาคารโจทก์ส.ได้มอบอำนาจให้ ป. รองผู้จัดการมีอำนาจกระทำการบอกกล่าว ทวงถาม เรียกเก็บหนี้สิน ฟ้องคดีแพ่ง และต่อสู้คดีทั้งปวงแทนได้ และมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อกระทำการดังกล่าวได้ และ ป.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ. และหรือ ค.ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม เมื่อการมอบอำนาจของโจทก์เป็นไปโดยต่อเนื่องไม่ขาดสาย การฟ้องและดำเนินคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์กับเดินสะพัดทางบัญชีกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ นอกจากนี้ยังระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและวันที่คิดดอกเบี้ยในแต่ละอัตราต่าง ๆ และระบุยอดหนี้คิดถึงวันที่ 31ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 128,931,527.86 บาท คิดดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน12,169,017.73 บาท รวมเป็นหนี้ 141,100,555.59 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนรายละเอียดหรือเอกสารเกี่ยวกับการคิดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความชอบที่จะนำสืบพิสูจน์พยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาได้ แม้คำฟ้องโจทก์ไม่ระบุรายละเอียดหรือเอกสารดังกล่าวมา ก็หาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นสัญญาที่ใช้ประกอบกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2527 กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนแก่โจทก์ภายใน 1 ปี สัญญาจึงย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528 เว้นแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะได้ตกลงต่อสัญญากันต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาแต่อย่างใด อีกทั้งหลังวันที่ 2 เมษายน 2528 ซึ่งสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ก็ไม่ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีหรือเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่สิ้นสุดเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระ ณ วันสิ้นสุดสัญญาโดยไม่ทบต้น หามีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันบอกเลิกสัญญาไม่
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกันตั้งแต่ปี 2522 เป็นหนี้ผูกพันกันตลอดมาจนถึงปี 2527 แล้วตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก และเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาจนสิ้นสุดเมื่อวันที่ 2เมษายน 2528 ซึ่งสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี และตามการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าชำระหนี้ตั้งแต่ปี 2527จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2533 ชำระครั้งสุดท้ายจำนวน 5,000,000 บาท อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(1) เมื่อนับอายุความใหม่จนถึงวันฟ้องวันที่ 30 กรกฎาคม 2535 ยังไม่เกิน 10 ปี สำหรับสิทธิเรียกร้องในต้นเงินค้างชำระ และไม่เกิน 5 ปี สำหรับดอกเบี้ยค้างชำระ ดังนี้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวทั้ง 2 กรณีจึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.บอกกล่าวบังคับจำนองหรือไม่ก็ตาม แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 728 บังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างใด เมื่อ อ.ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ไม่ชำระหนี้และต่อมาโจทก์ได้ฟ้องบังคับจำนอง ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 แล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์เป็นไปโดยชอบ มิได้ตกเป็นโมฆะ
ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันทุกฉบับ และข้อความในสัญญาก็ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นการแสดงฐานะของจำเลยที่ 3 ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าค้ำประกันในฐานะส่วนตัว หาใช่จำเลยที่ 3 อ้างว่าลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ส่วนเรื่องการบอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 686 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหรือไม่ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิด
ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในต้นเงินจำนวน 63,200,000 บาท ซึ่งเป็นการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และยอดหนี้ของจำเลยที่ 1 อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการนำเงินเข้าและถอนออกในบัญชี ช่วงเวลาใดที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ครบวงเงินค้ำประกันผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงินค้ำประกันเป็นต้นไป แต่หากต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นนำเงินชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะมีการเบิกถอนเงินจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนั้นอีก ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินค้ำประกันครั้งสุดท้าย เมื่อปรากฏว่าครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินตามสัญญาค้ำประกันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์ นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปแต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน2528 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 1พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2528 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น หลังจากนั้นเสียดอกเบี้ยไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ต้องคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราเดียวกับจำเลยที่ 1 และต้องนำเงินฝากในช่วงเวลาดังกล่าวตามรายการในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาหักทอนบัญชีคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์กับเดินสะพัดทางบัญชีกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ นอกจากนี้ยังระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและวันที่คิดดอกเบี้ยในแต่ละอัตราต่าง ๆ และระบุยอดหนี้คิดถึงวันที่ 31ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 128,931,527.86 บาท คิดดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน12,169,017.73 บาท รวมเป็นหนี้ 141,100,555.59 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนรายละเอียดหรือเอกสารเกี่ยวกับการคิดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความชอบที่จะนำสืบพิสูจน์พยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาได้ แม้คำฟ้องโจทก์ไม่ระบุรายละเอียดหรือเอกสารดังกล่าวมา ก็หาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นสัญญาที่ใช้ประกอบกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2527 กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนแก่โจทก์ภายใน 1 ปี สัญญาจึงย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528 เว้นแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะได้ตกลงต่อสัญญากันต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาแต่อย่างใด อีกทั้งหลังวันที่ 2 เมษายน 2528 ซึ่งสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ก็ไม่ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีหรือเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่สิ้นสุดเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระ ณ วันสิ้นสุดสัญญาโดยไม่ทบต้น หามีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันบอกเลิกสัญญาไม่
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกันตั้งแต่ปี 2522 เป็นหนี้ผูกพันกันตลอดมาจนถึงปี 2527 แล้วตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก และเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาจนสิ้นสุดเมื่อวันที่ 2เมษายน 2528 ซึ่งสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี และตามการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าชำระหนี้ตั้งแต่ปี 2527จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2533 ชำระครั้งสุดท้ายจำนวน 5,000,000 บาท อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(1) เมื่อนับอายุความใหม่จนถึงวันฟ้องวันที่ 30 กรกฎาคม 2535 ยังไม่เกิน 10 ปี สำหรับสิทธิเรียกร้องในต้นเงินค้างชำระ และไม่เกิน 5 ปี สำหรับดอกเบี้ยค้างชำระ ดังนี้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวทั้ง 2 กรณีจึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.บอกกล่าวบังคับจำนองหรือไม่ก็ตาม แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 728 บังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างใด เมื่อ อ.ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ไม่ชำระหนี้และต่อมาโจทก์ได้ฟ้องบังคับจำนอง ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 แล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์เป็นไปโดยชอบ มิได้ตกเป็นโมฆะ
ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันทุกฉบับ และข้อความในสัญญาก็ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นการแสดงฐานะของจำเลยที่ 3 ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าค้ำประกันในฐานะส่วนตัว หาใช่จำเลยที่ 3 อ้างว่าลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ส่วนเรื่องการบอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 686 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหรือไม่ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิด
ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในต้นเงินจำนวน 63,200,000 บาท ซึ่งเป็นการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และยอดหนี้ของจำเลยที่ 1 อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการนำเงินเข้าและถอนออกในบัญชี ช่วงเวลาใดที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ครบวงเงินค้ำประกันผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงินค้ำประกันเป็นต้นไป แต่หากต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นนำเงินชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะมีการเบิกถอนเงินจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนั้นอีก ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินค้ำประกันครั้งสุดท้าย เมื่อปรากฏว่าครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินตามสัญญาค้ำประกันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์ นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปแต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน2528 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 1พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2528 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น หลังจากนั้นเสียดอกเบี้ยไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ต้องคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราเดียวกับจำเลยที่ 1 และต้องนำเงินฝากในช่วงเวลาดังกล่าวตามรายการในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาหักทอนบัญชีคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหนี้เบิกเกินบัญชี, การค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, หักหนี้
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ และมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้พนักงานของธนาคารโจทก์กระทำการใด ๆตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับธนาคารโจทก์ ส. ได้มอบอำนาจให้ ป. รองผู้จัดการมีอำนาจกระทำการบอกกล่าว ทวงถามเรียกเก็บหนี้สิน ฟ้องคดีแพ่ง และต่อสู้คดีทั้งปวงแทนได้และมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อกระทำการดังกล่าวได้ และป. ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.และหรือค. ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม เมื่อการมอบอำนาจของโจทก์เป็นไปโดยต่อเนื่องไม่ขาดสาย การฟ้องและดำเนินคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์กับเดินสะพัดทางบัญชีกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียน จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ นอกจากนี้ยังระบุ ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและวันที่คิดดอกเบี้ย ในแต่ละอัตราต่าง ๆ และระบุยอดหนี้คิดถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 128,931,527.86 บาท คิดดอกเบี้ย ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 12,169,017.73 บาท รวมเป็นหนี้ 141,100,555.59 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกัน ชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่า จะชำระเสร็จอันเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงสภาพแห่งข้อหา ของโจทก์ คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนรายละเอียดหรือเอกสารเกี่ยวกับการ คิดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความชอบ ที่จะนำสืบพิสูจน์พยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาได้ แม้คำฟ้องโจทก์ไม่ระบุรายละเอียดหรือเอกสารดังกล่าวมา ก็หาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นสัญญาที่ใช้ประกอบกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2527 กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนแก่โจทก์ภายใน 1 ปี สัญญาจึงย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528เว้นแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะได้ตกลงต่อสัญญากันต่อไปแต่ไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาแต่อย่างใด อีกทั้งหลังวันที่2 เมษายน 2528 ซึ่งสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ก็ไม่ยินยอม ให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีหรือเดินสะพัดทางบัญชีกัน อีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่สิ้นสุดเมื่อโจทก์ บอกเลิกสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมมีสิทธิ คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระ ณ วันสิ้นสุดสัญญา โดยไม่ทบต้น หามีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันบอกเลิกสัญญาไม่ โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกันตั้งแต่ปี 2522 เป็นหนี้ผูกพันกันตลอดมาจนถึงปี 2527 แล้วตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก และเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาจนสิ้นสุดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 ซึ่งสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี และตามการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าชำระหนี้ตั้งแต่ปี 2527 จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2533 ชำระครั้งสุดท้ายจำนวน 5,000,000 บาท อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)เมื่อนับอายุความใหม่จนถึงวันฟ้องวันที่ 30 กรกฎาคม 2535ยังไม่เกิน 10 ปี สำหรับสิทธิเรียกร้องในต้นเงินค้างชำระและไม่เกิน 5 ปี สำหรับดอกเบี้ยค้างชำระ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวทั้ง 2 กรณีจึงไม่ขาดอายุความ แม้โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.บอกกล่าวบังคับจำนองหรือไม่ก็ตาม แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้ทำ เป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างใดเมื่อ อ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ไม่ชำระหนี้และต่อมาโจทก์ได้ฟ้องบังคับจำนอง ถือได้ว่าโจทก์ ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 แล้วการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์เป็นไปโดยชอบมิได้ตกเป็นโมฆะ ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันทุกฉบับ และข้อความในสัญญาก็ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นการแสดงฐานะของจำเลยที่ 3ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าค้ำประกันในฐานะส่วนตัว หาใช่จำเลยที่ 3 อ้างว่าลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้เป็น กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ส่วนเรื่องการบอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิ เรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหรือไม่ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิด ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในต้นเงินจำนวน 63,200,000 บาทซึ่งเป็นการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และยอดหนี้ของจำเลยที่ 1 อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการนำเงินเข้าและถอนออกในบัญชี ช่วงเวลาใดที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ครบวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกัน พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงิน ค้ำประกันเป็นต้นไป แต่หากต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น ลูกหนี้ชั้นต้นนำเงินชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิด ในหนี้ส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะมีการเบิกถอนเงินจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ย นั้นอีก ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกัน พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินค้ำประกันครั้งสุดท้ายเมื่อปรากฏว่าครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินตามสัญญาค้ำประกันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์ นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปแต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528 จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันที่1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2528อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น หลังจากนั้นเสียดอกเบี้ยไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ต้องคิดดอกเบี้ย ในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราเดียวกับจำเลยที่ 1และต้องนำเงินฝากในช่วงเวลาดังกล่าวตามรายการในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาหักทอนบัญชีคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน: สิทธิเรียกหนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัด และการหักเงินจากผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ต่อจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมได้กำหนดเวลาชำระราคาค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกวันสุดท้ายของเดือน รวม 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนใด อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อ ส.ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย จำเลยชอบที่จะเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้นับแต่ส.ผิดนัด แม้ตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาเช่าซื้อระบุว่า หาก ส.ยังมีเงินพึงได้จากจำเลย จำเลยต้องหักเงินค่าเช่าซื้อจากรายได้ของ ส. หากไม่สามารถหักได้ส.มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระ ถ้าไม่ชำระจึงจะได้ชื่อว่า ส.ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ระหว่าง ส.และจำเลยเท่านั้น เมื่อกำหนดเวลาชำระหนี้คงเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อ ซึ่ง ส.จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อ ส.ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาส.ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ถ้า ส.ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ โดยยอมให้หักจากเงินรายได้ทุกประเภทของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากจำเลยเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกเดือนในอัตราและจำนวนเดือนแทนผู้เช่าซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ ส.ค้างชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด & ค้ำประกัน: เจ้าหนี้มีสิทธิหักเงินเดือนผู้ค้ำประกันได้
สัญญาเช่าซื้อที่ ส. ทำไว้ต่อจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมได้กำหนดเวลาชำระราคาค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกวันสุดท้ายของเดือนรวม 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนที่ระบุไว้ อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อ ส. ไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย จำเลยชอบที่จะเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้นับแต่ ส. ผิดนัด แม้ตามสัญญาค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อระบุว่า หาก ส.ยังมีเงินพึงได้จากจำเลย จำเลยต้องหักเงินค่าเช่าซื้อจากรายได้ของ ส.หากไม่สามารถหักได้ส. มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระ ถ้าไม่ชำระจึงจะได้ชื่อว่าส. ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ระหว่าง ส. และจำเลยเท่านั้น เมื่อกำหนดเวลาชำระหนี้คงเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อซึ่ง ส. จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อส.ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาส. ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ถ้า ส.ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ โดยยอมให้หักจากเงินรายได้ทุกประเภทของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากจำเลยเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกเดือนในอัตราและจำนวนเดือนแทนผู้เช่าซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ ส. ค้างชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันค่าแรงล่วงหน้า: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาภายในระยะเวลาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ตามที่บริษัท ย. มีความประสงค์จะทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้ซึ่งในการนี้บริษัท ย. จะต้องมีหนังสือรับรองของธนาคารค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 4,400,000 บาท โดยหนังสือฉบับนี้จำเลยที่ 1 ขอรับเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ย. ต่อโจทก์สำหรับการทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้คราวนี้ไว้ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,400,000 บาทจากข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันแสดงเจตนายินยอมที่จะเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าแรงจ่ายล่วงหน้าจำนวน 4,400,000 บาท ตามข้อกำหนดในสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. ตามสัญญาจ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคโดยที่ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ได้จ่ายเงินค่าแรงล่วงหน้าจำนวน4,400,000 บาท ให้แก่บริษัท ย. ไปแล้ว ที่หนังสือค้ำประกันระบุไว้ตามสัญญาข้อ 3 ว่าหนังสือค้ำประกันฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป และสิ้นสุดวันที่ 15 ตุลาคม 2535หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 ไม่รับผิดชอบใด ๆทั้งสิ้น หมายความว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันมีเจตนาจะให้หนังสือค้ำประกันมีผลผูกพันและใช้บังคับกันได้ตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป กล่าวคือ หากเกิดกรณีที่บริษัท ย. จะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินจำนวน 4,400,000 บาทที่ได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รับผิดชดใช้ในจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามหนังสือค้ำประกันฉบับนี้นับแต่วันดังกล่าว กรณีมิใช่ว่าการรับเงินจำนวน 4,400,000 บาทของบริษัท ย. จากโจทก์จะต้องกระทำขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วยไม่ แต่ขณะเดียวกันหากเหตุแห่งการที่บริษัท ย.จะต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 1 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันก็หาจำต้องรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันด้วยไม่ หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงิน 4,400,000 บาท ที่โจทก์จ่ายค่าแรงล่วงหน้าให้ไว้แก่บริษัท ย.และเมื่อบริษัทย. มิได้กระทำการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาแก่บริษัท ย. โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งคำฟ้องโจทก์ไว้โดยแจ้งชัดว่า บริษัท ย. มิได้กระทำผิดสัญญาอย่างไร จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า บริษัท ย. แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่ามิได้กระทำผิดสัญญาเท่านั้น ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไว้จึงต้องฟังตามข้อนำสืบของโจทก์ว่า บริษัท ย. เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับบริษัท ย.ขณะที่อยู่ในระยะเวลาตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 1ได้กำหนดระยะเวลารับผิดชอบไว้ จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าแรงหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย. ไปจากจำเลยผู้ค้ำประกันของบริษัท ย. ไปตามสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา