คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 686

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผู้ค้ำประกัน: สะดุดหยุดเมื่อยื่นคำร้องในคดีล้มละลาย และไม่เริ่มนับใหม่จนกว่าคดีล้มละลายสิ้นสุด
การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็พิจารณาเพียงว่า ลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกันได้ แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม การมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ยังไม่สิ้นสุดลงนั้น เป็นเพียงทำให้ยังไม่เริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นผลกลับทำให้เจ้าหนี้มีระยะเวลาที่จะฟ้องลูกหนี้เป็นเวลายาวนานกว่าปกติ มิใช่ว่าจะทำให้เจ้าหนี้หมดสิทธิที่จะฟ้องผู้ค้ำประกันในขณะที่อายุความสะดุดหยุดอยู่แต่อย่างใด โจทก์ยื่นคำร้องขอพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย ย่อมทำให้อายุความฟ้องคดีของโจทก์สะดุดหยุดอยู่ แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ได้ ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด เพื่อยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลายและยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: พิจารณาจากลูกหนี้ผิดนัด แม้คดีล้มละลายยังไม่สิ้นสุด
จำเลยที่ 1 ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้คดีไว้ในคำให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าระยะเวลา 10 ปี ไม่ได้ แต่เหตุที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาเพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดเป็นเรื่องที่ว่าหนี้ของลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมพ้นความรับผิดไปด้วยเป็นคนละเรื่องกับที่ให้การไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: พิจารณาจากลูกหนี้ผิดนัด ไม่ใช่หมดอายุความของลูกหนี้ และการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยที่ 1 ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้คดีไว้ในคำให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าระยะเวลา 10 ปีไม่ได้ แต่เหตุที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาเพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดเป็นเรื่องที่ว่าหนี้ของลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมพ้นความรับผิดไปด้วยเป็นคนละเรื่องกับที่ให้การไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม
แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องของผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยและการใช้สิทธิโดยชอบธรรมของผู้ให้เช่าซื้อ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2ถึงที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกัน ซึ่งสัญญาเช่าซื้อระบุว่าจำเลยที่ 1ต้องประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และเสียเบี้ยประกันภัยโดยโจทก์เป็นผู้รับผลประโยชน์ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้กับบริษัท ร. ก็เป็นการตกลงเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก คือโจทก์ให้ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการสูญหายของรถยนต์ที่เช่าซื้อได้จากบริษัท ร.อีกทางหนึ่งด้วย อันมีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 ซึ่งสิทธิของโจทก์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อแสดงเจตนาต่อบริษัทร.ว่าจะถือประโยชน์จากสัญญานั้นแล้วแต่บริษัทร. ก็อาจจะยกข้อต่อสู้อันเกิดแก่สัญญาประกันภัยที่มีอยู่ต่อจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคู่สัญญาขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้รับประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 การที่โจทก์จะเรียกร้องให้บริษัท ร. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการสูญหายของรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ จึงมีขั้นตอนเสี่ยงต่อการที่จะไม่ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนยิ่งกว่าที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ต้องรับผิดต่อการสูญหายของรถยนต์เช่าซื้อโดยตรง การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อบริษัท ร. แต่ได้เรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 โดยตรงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็ค: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อโจทก์รับซื้อเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเอง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งตามข้อตกลง
คำขอเป็นลูกค้าประเภทขายลดเช็คของจำเลยที่ 1 ที่มีข้อความว่าลูกค้า (จำเลยที่ 1) ทราบดีว่าบริษัท (โจทก์) จะรับซื้อลดเช็คเฉพาะเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าเท่านั้นถ้าลูกค้าจะนำเช็คอื่น ๆ นอกจากเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้ามาขายลดแก่บริษัทลูกค้ามีหน้าที่ต้องแถลงความจริงเป็นหนังสือให้บริษัททราบก่อน นั้น เป็นคำขอที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์จะรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1ได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้า แต่มิได้หมายความว่า โจทก์จะรับซื้อลดเช็คหรือจำเลยที่ 1 จะขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเองมิได้เพียงแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบก่อนเพื่อโจทก์จะได้ใช้ดุลพินิจว่า สมควรรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้ออกเองหรือไม่ การที่โจทก์รับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเอง จึงไม่ขัดต่อเจตนาของจำเลยที่ 1 ตามคำขอดังกล่าวและเกิดเป็นสัญญาขายลดเช็คขึ้น เมื่อโจทก์นำเช็คที่รับซื้อลดจากจำเลยที่ 1 ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยที่ 4ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงนามแทนโจทก์ และการคำนวณระยะเวลาปฏิบัติราชการตามสัญญารับทุน
กรมโจทก์มี ผ.เป็นอธิบดีผ.มีคำสั่งมอบให้ช.รองอธิบดีรักษาราชการแทน ช.จึงมีอำนาจเช่นเดียวกับผ. ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 44 วรรคแรก และ ช.มีอำนาจมอบให้ข้าราชการของโจทก์ ลงชื่อในสัญญารับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับทุนจากโจทก์ไปศึกษายังต่างประเทศโดยสัญญาว่าเมื่อสำเร็จแล้วจะกลับมารับราชการในส่วนราชการที่โจทก์กำหนดมีกำหนดระยะเวลา 2 เท่า แม้ระหว่างศึกษาจำเลยที่ 1จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการก็ตาม แต่มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญารับทุน จำเลยที่ 1จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษามารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงภายหลังสำเร็จการศึกษาได้ ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันทุนการศึกษา: อำนาจผู้ลงนาม, การปฏิบัติตามสัญญา, และขอบเขตการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อคัดเลือกบุคคลไปศึกษา รัฐบาลไทยจึงมีส่วนได้เสียในทุนดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้สอบคัดเลือกได้และได้ทำสัญญาการรับทุนกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา จำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องรับผิดตามข้อความในสัญญาที่ทำไว้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชดใช้เงินตามข้อตกลงในสัญญา จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ขณะทำสัญญา ผ. เป็นอธิบดีกรมโจทก์ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ช. รองอธิบดีรักษาราชการแทน ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 44 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทน ช.จึงมีอำนาจมอบให้ ช. ซึ่งเป็นวิทยากรพิเศษลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทน ช. จึงลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ สัญญาค้ำประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาต่อแม้จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการและรับเงินเดือนอยู่ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษาต่อมารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาการรับทุนจะต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญาการรับทุนทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2530 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการใช้สิทธิเรียกร้องจากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1ได้ผิดนัดแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้นดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน 196,186.28บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของ ผู้ค้ำประกัน เมื่อมีการหักชำระหนี้จากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000 บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ผิดนัดแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิด ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน196,186.28 บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาการศึกษาต่อต่างประเทศ: ระยะเวลาและข้อตกลงเพิ่มเติม
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติและความรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศ ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนส่วนตัว (ทุนประเภท 2) มีกำหนด2 ปี นับแต่วันออกเดินทาง โดยเมื่อจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อ หรือจำเลยที่ 1ถูกเรียกตัวกลับ และจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและจำเลยที่ 1 ไม่ชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ส่วนที่หลังจากครบกำหนด2 ปี แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขอลาศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัวอีก 5 ปี9 เดือน 4 วัน และโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาศึกษาต่อโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการลาไปศึกษาต่อเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แต่อย่างใดจำเลยที่ 2 จึงคงมีความรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี เท่านั้น สัญญาค้ำประกันระบุว่า หากโจทก์จะผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไป มีความหมายเพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนให้โจทก์พร้อมเบี้ยปรับภายในกำหนด 30 วัน ถัดจากวันได้รับแจ้งจากโจทก์ตามสัญญาข้อ 4 และ ข้อ 5 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน แม้โจทก์ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไปข้อความดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ทุกประการโดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในอนาคตไม่
of 13