คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 686

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการขอวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น, ฟ้องเคลือบคลุม, สิทธิเรียกร้องก่อนกำหนด, การส่งหนังสือบอกกล่าว, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้ คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่ชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุใด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการนอกประเด็น ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินมีข้อความว่า ระยะเวลาชำระหนี้ที่กำหนดไว้ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนด นั้น เกิดขึ้นด้วยใจสมัครของจำเลยที่ 1 เอง หาเกี่ยวกับสังคมหรือประชาชนไม่จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะไม่มีข้อกำหนดในสัญญาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดตั้งแต่เมื่อใด จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน แม้จำเลยที่ 2 จะมีที่อยู่แยกต่างหากจากภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหลักแหล่งที่ทำการเป็นปกติแห่งเดียวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองไปถึงจำเลยที่ 1 แล้วถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ผู้จำนองได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่างประเทศ, อายุความดอกเบี้ย, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศที่ ย.ทำกับโจทก์ซึ่งข้อความในสัญญาที่ ย.ทำกับโจทก์มีว่าเมื่อย.เสร็จการศึกษาที่ย.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือถูกเรียกตัวกลับ และ ย.ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์หรือกระทรวงทบวงกรมอื่นที่ทางราชการเห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้รับทุน หรือที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่ม สุดแต่เวลาใดจะมากกว่ากัน หรือ ย.กลับมารับราชการบ้างแต่ไม่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยสัญญาว่าหาก ย.ไม่ชดใช้ทุนและหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามความรับผิดของ ย.ทั้งสิ้นเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากครบกำหนด 3 ปี9 เดือน ที่ ย.ได้รับทุนไปศึกษาต่อย.ได้ขอลาศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัวหลายครั้ง และโจทก์ก็อนุมัติให้ ย.ลาศึกษาต่อโดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยมิได้ทำสัญญาค้ำประกันการลาศึกษาต่อของย.ต่อโจทก์อีก จำเลยคงรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเดิมสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของ ย.ในการลาไปศึกษาต่อเป็นเวลา3 ปี 9 เดือน เท่านั้น สำหรับทุนที่ ย.จะต้องรับผิดคืนแก่โจทก์นั้น ปรากฏตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมและดูงาน และเพื่อการครองชีพระหว่างศึกษา ฝึกอบรมและดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2512ว่า หมายความถึงเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ฝึกอบรมหรือดูงานและเพื่อการครองชีพระหว่างศึกษา ฝึกอบรมหรือดูงาน และหมายความรวมตลอดถึงเงินค่าพาหนะเดินทางด้วย ย.จึงต้องรับผิดใช้คืนเงินทุนที่ได้รับจากรัฐบาลฝรั่งเศสและค่าเครื่องบินทั้งขาไปและขากลับจากการศึกษาต่อ รวมทั้งเงินเดือนที่ ย.ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อแก่โจทก์พร้อมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่า ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่โจทก์มีหนังสือทวงถาม ย.จนถึงวันฟ้องนั้นเป็นการฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิมซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ก่อนโจทก์นำคดีขึ้นสู่ศาล แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ในชั้นศาลว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับดอกเบี้ยดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยค้างส่งนับถึงวันฟ้องเกินกว่า5 ปีจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6389/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้ำประกันทรัสต์รีซีท - ดอกเบี้ย - ผิดนัด - สิทธิเรียกร้อง - ไม่ต้องบอกกล่าว
จำเลยที่ 3 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะสืบ ต. ในประเด็นว่าโจทก์โดย ต. มิได้บอกกล่าวทวงถามชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ก่อนแต่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การข้อที่จะขอนำสืบ ต. ดังกล่าวเป็นประเด็นไว้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าการสืบ ต. เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยไร้สาระให้งดสืบนั้น จึงชอบแล้ว แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิตเลขที่ 371391/355 และมีหนังสือทวงถามถึงจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 271391/355 แต่ภายหลังจำเลยที่ 3ยื่นคำให้การแล้วโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้เป็นว่าทำสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิตเลขที่ 271391/355 จำเลยที่ 3 ไม่ได้คัดค้านและศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ สัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมผูกพันตามข้อสัญญาในการออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับการสั่งซื้อสินค้ารายนี้ ซึ่งก็คือสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง สัญญาทรัสต์รีซีทกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ต่อเนื่องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมจ่ายเงินที่โจทก์ได้จ่ายไปตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่ลงบนตั๋วแลกเงินถึงวันที่จ่ายจริง แม้การทำสัญญาทรัสต์รีซีทจะไม่มีการตกลงกันเกี่ยวกับดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้แล้วหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5631/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชัดเจนถือเป็นปฏิเสธไม่ได้, ข้อเท็จจริงใหม่ไม่อุทธรณ์ได้, หนี้เช็คถึงกำหนดชำระทันที
คำให้การที่ว่า ว.จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์หรือไม่ไม่ทราบ และไม่รับรองนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธ จึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า ว. เป็นกรรมการของโจทก์และมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ในคำให้การต่อสู้คดีทำนองว่า พนักงานของโจทก์หลอกลวงให้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันซึ่งยังมิได้กรอกข้อความ แต่ในฎีกากลับอ้างว่าพนักงานของโจทก์กรอกจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันที่จะต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา จึงไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้ หนี้ตามเช็คเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง และโจทก์มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 686.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนที่กระทำนอกเหนืออำนาจและการค้ำประกันการทำงาน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ กระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ ปล่อยให้จำเลยที่ 1 กู้โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการขัดต่อระเบียบวิธีปฏิบัติของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ทั้งโจทก์มิได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 จำเลยที่ 4ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ก็ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน เริ่มนับจากวันผิดนัดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ไปเก็บจากลูกค้าเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2526 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2526 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2526 รวมเป็นเงิน 28,989.20 บาท จำเลยที่ 1ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 โจทก์จึงอาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์รับผิดใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันเกิดเหตุตามมาตรา 686อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนั้นมิใช่เริ่มนับตั้งวันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ความเสียหายต้องเกิดจากการทำงานในหน้าที่เท่านั้น
จำเลยที่ 1 เข้าทำงานเป็นพนักงานของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความว่า "เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำงานในธนาคารแล้ว ภายหลังได้หลบหลีกหนีหายไป หรือได้ฉ้อโกง ยักยอก หรือทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย หรือสูญเสียทรัพย์สินไม่ว่าด้วยประการใด ๆจำเลยที่ 2 ตกลงชดใช้เงินให้แก่ธนาคาร" ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนี้ย่อมหมายถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเกิดจากการทำงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ดูแลความสงบและความปลอดภัยภายในธนาคาร ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้ลูกค้าของโจทก์ลงชื่อในใบถอนเงินและเป็นผู้ถอนเงินไป ก็เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่การกระทำในตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันจำกัดความรับผิดเฉพาะความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ หากเกิดจากการกระทำส่วนตัว ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 เข้าทำงานเป็นพนักงานของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความว่า "เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำงานในธนาคารแล้ว ภายหลังได้หลบหลีกหนีหายไป หรือได้ฉ้อโกง ยักยอก หรือทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย หรือสูญเสียทรัพย์สินไม่ว่าด้วยประการใด ๆจำเลยที่ 2 ตกลงชดใช้เงินให้แก่ธนาคาร" ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนี้ย่อมหมายถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเกิดจากการทำงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ดูแลความสงบและความปลอดภัยภายในธนาคาร ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้ลูกค้าของโจทก์ลงชื่อในใบถอนเงินและเป็นผู้ถอนเงินไป ก็เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่การกระทำในตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุด-รับสภาพหนี้-การชำระหนี้ทายาท-การฟ้องจำเลยร่วม-ค่าเสียหายจากการเช่าซื้อ
ทนายความจะต้องรักษาผลประโยชน์ของลูกความและเอาใจใส่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง ทนายโจทก์อ้างว่าหลงลืมและเข้าใจผิดถึงสถานที่ที่จะนำส่งจึงไม่ได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 โดยถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์นั้นชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิสัญญาเช่าซื้อแทนป. ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และร้องขอให้เรียกป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตายของ บ. ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ บ. ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถของ บ.ให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยชำระภายในกำหนด 1 ปีนั้น ถือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้นับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้รถและใช้ราคารถตามสัญญาเช่าซื้อ มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164
การส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคานั้น เมื่อ บ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตาย ถือว่าจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อสืบต่อมาจึงต้องรับผิดคืนรถที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, การรับสภาพหนี้, การชำระหนี้ทายาท, และผลของการทิ้งอุทธรณ์
ทนายความจะต้องรักษาผลประโยชน์ของลูกความและเอาใจใส่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง ทนายโจทก์อ้างว่าหลงลืมและเข้าใจผิดถึงสถานที่ที่จะนำส่งจึงไม่ได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 โดยถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์นั้นชอบแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิสัญญาเช่าซื้อแทนป. ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และร้องขอให้เรียกป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตายของ บ. ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ บ. ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถของ บ.ให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยชำระภายในกำหนด 1 ปีนั้น ถือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้นับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้รถและใช้ราคารถตามสัญญาเช่าซื้อ มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 การส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคานั้น เมื่อ บ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตาย ถือว่าจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อสืบต่อมาจึงต้องรับผิดคืนรถที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแก่โจทก์.
of 13