พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีหน้าที่รับผิดใช้เงินตามเช็คที่นำมาขายลด แม้ไม่ฟ้องผู้สั่งจ่ายก่อน ไม่ถือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้สัญญาขายลดตั๋วจะไม่ปรากฏจำนวนเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลด แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า หลังจากทำสัญญาขายลดตั๋วแล้ว จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้นำเช็คพิพาทมาขายลดแก่โจทก์เป็นเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คและแนบภาพถ่ายเช็คพิพาทมาท้ายฟ้องเป็นหลักฐานประกอบหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทมาขายลดให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาดังกล่าว จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 มิได้นำเช็คพิพาทมาขายลดให้แก่โจทก์ตามฟ้อง ถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงฟังเป็นยุติและไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าตามสัญญาขายลดตั๋วไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามไม่ต้องใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์นั้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลดให้แก่โจทก์ถึงกำหนดแล้วโจทก์นำไปขึ้นเงินไม่ได้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้สลักหลัง จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยตามสัญญาโดยไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องฟ้องผู้สั่งจ่ายเสียก่อน และไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลดให้แก่โจทก์ถึงกำหนดแล้วโจทก์นำไปขึ้นเงินไม่ได้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้สลักหลัง จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยตามสัญญาโดยไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องฟ้องผู้สั่งจ่ายเสียก่อน และไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนอากรขาเข้าและการบังคับสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออกภายในกำหนด และอายุความ
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีจำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรกรณีนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก และอายุความฟ้องเรียกเก็บภาษีเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี จำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1 มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1 มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรกรณีนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และอายุความฟ้องร้อง
จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าเส้นด้ายใย ประดิษฐ์ โดยแสดงว่าจะใช้ผลิตหรือผสมหรือประกอบส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรโดยจำเลยได้สำแดงรายการเสียภาษีอากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าแล้วว่าต้องเสียภาษีอากรประเภทใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยมีธนาคารทำหนังสือค้ำประกันระบุจำนวนเงินไว้ต่อโจทก์ เพื่อขอรับของที่นำเข้าไปจากโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินมิได้ทักท้วงเกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าว่าไม่ถูกต้องอย่างใด จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรสำหรับของที่จำเลยนำเข้า เมื่อจำเลยไม่ใช้ของที่นำเข้ามาผลิตหรือผสมหรือประกอบส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องชำระภาษีอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมด้วยเงินเพิ่ม และมิใช่หน้าที่โจทก์จะต้องติดตามทางถาม หรือแจ้งให้จำเลยนำค่าภาษีอากรไปชำระและมิได้มีบทบัญญัติมาตราใด แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันทีดังนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2518แต่จำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามานั้นผลิตหรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศภายใน 1 ปี ดังนี้โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระภาษีอากรตามจำนวนที่จำเลยสำแดงไว้ นับถัด จากวันที่ครบ 1 ปี คือ วันที่ 1 มิถุนายน เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผ่อนเวลาหนี้ต่อผู้ค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาหนี้โดยโจทก์ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญา
ปัญหาว่า โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่ 1 ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่ 3 รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 และมาตรา 368 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการค้ำประกันและความรับผิดในสัญญา
จำเลยที่3ได้ทำหนังสือรับรองต่อโจทก์ว่าในการที่จำเลยที่1เข้าทำงานในตำแหน่งคนงานกับโจทก์นั้นหากจำเลยที่1ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายจำเลยที่3จะชดใช้ความเสียหายให้ต่อมาโจทก์ได้ให้จำเลยที่1ไปทำงานตำแหน่งพนักงานเก็บเงินในห้องอาหารและได้ให้จำเลยที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1แสดงว่าเป็นการค้ำประกันเพราะจำเลยที่1เปลี่ยนตำแหน่งการปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยที่1ที่3และที่4ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่3ต้องผูกพันตามหนังสือรับรองต่อไปเมื่อจำเลยที่1ยักยอกเงินของโจทก์ไปจำเลยที่3ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน - สำคัญผิด - ผิดนัดชำระหนี้ - สิทธิของผู้ค้ำประกัน - อายุความ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิมพ์นามสกุลจำเลยที่ 1 "คล่องอักขระ" ผิดเป็น "คล่องอักษร" เป็นการพิมพ์ผิดพลาดเล็กน้อย ศาลมีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน/จำนอง
โจทก์ให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งเพื่อหักกลบลบหนี้กัน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือมิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือมิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว คิดดอกเบี้ยธรรมดา, ผู้ค้ำประกัน/จำนองรับผิดเฉพาะวงเงินที่ระบุ
โจทก์ให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งเพื่อหักกลบลบหนี้กัน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่