คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 48

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8209-8219/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง: สิทธิในการกลับเข้าทำงานและค่าจ้างค้างจ่าย
บทบัญญัติเรื่องการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการลูกจ้างมีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 47 คือดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี มาตรา 48 บัญญัติว่า นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเมื่อเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งใน (1) ถึง (7) โดยมาตรา 48 (7) กรรมการลูกจ้างพ้นตำแหน่งเมื่อมีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ ส่วนมาตรา 49 ที่บัญญัติว่า ให้มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ เมื่อ (1) จำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดที่มีอยู่เดิมนั้น เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ให้มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะเมื่อเข้าเกณฑ์ตามมาตรา 49 (1) ถึง (4) จึงมิใช่เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์กำหนดหลักเกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการลูกจ้าง ดังนั้นแม้จะเข้าเกณฑ์ตามมาตรา 49 (1) คือจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดที่มีอยู่เดิม กรรมการลูกจ้างก็ไม่ได้พ้นตำแหน่งกรรมการลูกจ้างไปทันทีดังที่ศาลแรงงานภาค 1 วินิจฉัย แต่เป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะได้ตามมาตรา 49 (1) เนื่องจากจำนวนคณะกรรมการลูกจ้างอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามส่วนของลูกจ้างทั้งหมดตามมาตรา 46 เมื่อมีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ กรรมการลูกจ้างเดิมย่อมพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 48 (7) เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะตามมาตรา 48 (7) โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงยังคงเป็นกรรมการลูกจ้างตามกฎหมาย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดในขณะโจทก์ทั้งสิบเอ็ดยังเป็นกรรมการลูกจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อนจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 52
เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดให้มีผลทันทีซึ่งเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีกำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละครั้งทุกวันที่ 25 จำเลยต้องรับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมหรือไม่ต่ำกว่าเดิม ในอัตราค่าจ้างเดิมและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับตามสภาพการจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสมือนมิได้มีการเลิกจ้าง และจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดในอัตราเดิมตั้งแต่งวดการจ่ายค่าจ้างเดือนธันวาคม 2556 จนกว่าจำเลยจะรับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกลับเข้าทำงานพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินค่าจ้างแต่ละงวดจนกว่าจะชำระให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดเสร็จ
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเช่นเดียวกับลูกจ้างรายอื่นเพราะประสบภัยพิบัติน้ำท่วมและประสบปัญหาด้านการเงินโดยเข้าใจว่าจำเลยมีอำนาจเลิกจ้างได้ตามกฎหมายและเป็นกรณีที่จำเลยมีเหตุที่จะไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 15 ของเงินค่าจ้าง ทุกระยะเวลา 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง เมื่อศาลฎีกาเห็นควรให้จำเลยรับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมหรือไม่ต่ำกว่าเดิม ในอัตราค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับตามสภาพการจ้าง หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมเสมือนมิได้มีการเลิกจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายอื่นที่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดอ้างว่าได้รับเนื่องจากถูกเลิกจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด
เมื่อศาลแรงงานภาค 1 รับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ให้โจทก์ที่ 10 และที่ 11 เข้าทำงานตั้งแต่ปี 2548 เพื่อรอฟังผลคดีที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ที่ 10 และที่ 11 ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างกรณีถูกกล่าวหาว่าขาดงานและละทิ้งหน้าที่การงานจนกว่าคดีจะถึงที่สุด แต่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 10 และที่ 11 ตลอดมาครบถ้วน เมื่อโจทก์ที่ 10 และที่ 11 ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยและจำเลยให้รอฟังผลการพิจารณาคดีถึงที่สุด คำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ที่ 10 และที่ 11 ไม่ต้องเข้าทำงานยังไม่ถือเป็นการขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติหน้าที่กรรมการลูกจ้างของโจทก์ที่ 10 และที่ 11 ทั้งโจทก์ที่ 10 และที่ 11 ยังคงเป็นกรรมการลูกจ้างอยู่ ยังไม่ถือว่าได้รับความเสียหายที่เป็นตัวเงิน เมื่อโจทก์ที่ 10 และที่ 11 ไม่ได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยในช่วงเวลาดังกล่าว จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขตามระเบียบของจำเลยที่จะได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่าง ๆ เป็นเงินค่ากะและเงินรางวัลความเพียร ส่วนค่าใช้จ่ายเดินทางจากบ้านมาที่ทำงานเพื่อลงลายมือชื่อทำงานเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ 10 และที่ 11 จะต้องรับผิดชอบจ่ายเองอยู่แล้ว ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 10 และที่ 11 ได้รับความเสียหาย
อนึ่ง โจทก์ที่ 11 บรรยายฟ้องว่ามีค่าจ้าง 11,117 บาท แต่มีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในอัตรา 10,854 บาท เมื่อจำเลยรับว่าโจทก์ที่ 11 มีค่าจ้างอัตราสุดท้ายตามฟ้องเดือนละ 11,117 บาท เพื่อความเป็นธรรมจึงให้จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละ 11,117 บาท แก่โจทก์ที่ 11 ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการลูกจ้างเมื่อมีการลาออกบางส่วนและยังไม่มีการเลือกตั้งใหม่ การเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา48บัญญัติว่า"นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระกรรมการลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ"เมื่อจำเลยแถลงรับว่าขณะที่เลิกจ้างโจทก์ยังไม่มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะโจทก์จึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการลูกจ้างยังไม่พ้นตำแหน่ง หากยังไม่มีการเลือกตั้ง/แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 48บัญญัติว่า "นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ" เมื่อจำเลยแถลงรับว่า ขณะที่เลิกจ้างโจทก์ ยังไม่มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ โจทก์จึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิในเงินบำเหน็จ กรณีลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องสหภาพและพ้นสภาพกรรมการ
กรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 45 วรรคสอง หรือเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น ตามมาตรา 46 วรรคสอง ล้วนแต่จะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 48 ทั้งสิ้น เมื่อลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการของจำเลยมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้างแล้วโจทก์จึงมิใช่กรรมการลูกจ้างอีกต่อไปและมิได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 52 อีก สหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้มีการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานดังกล่าวและจำเลย 4 ครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ สหภาพแรงงาน ท. จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วัน นับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง จนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว ซึ่งสหภาพแรงงานท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ จำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้นไม่ข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานท. แจ้งต่อจำเลยจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป โจทก์จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31 ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์มีสถิติการลามากเป็นพฤติการณ์ที่ส่อชี้ถึงความตั้งใจของโจทก์ว่ามุ่งมั่นที่จะอุทิศตนให้งานเพียงใด และเมื่อจำเลยเตือนให้โจทก์ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นในเรื่องการขาด ลา มาสาย โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวอันเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ขวนขวายในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และท้ายที่สุดโจทก์ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติให้ลาไปสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โจทก์ก็ยังฝืนไปและไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอีก จำเลยจึงเลิกจ้าง พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ใช้เวลาไปทำกิจกรรมหลายประเภทแม้กิจกรรมดังกล่าวบางส่วนจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและกิจการบางส่วนเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างอื่นบ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อตัวโจทก์เองด้วยทั้งสิ้น โจทก์มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างโดยสม่ำเสมอ และไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้นายจ้างได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ โจทก์อาจไปทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองในขอบเขตและระยะเวลาที่พอเหมาะพอควรโดยการตกลงยินยอมของจำเลยหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของจำเลยเมื่อโจทก์มีจำนวนวันที่ไปทำงานให้แก่จำเลยน้อยย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยต้องเสียหายจากการกระทำของโจทก์จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยแต่อย่างใดเพราะจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานก็ต่อเมื่อพนักงานได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยหรือเสียชีวิตในขณะเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยเท่านั้น หาได้ยกเรื่องที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดขึ้นต่อสู้ด้วยไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดหรือไม่ การที่ศาลแรงงานหยิบยกปัญหานี้ขึ้นเองและวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นตำแหน่งกรรมการลูกจ้างและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีข้อเรียกร้องยังไม่สิ้นสุด
เหตุของการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 48 นั้น ใช้บังคับทั้งกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตามมาตรา 45 วรรคสอง และเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นตามมาตรา 46 วรรคสองด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแล้วและข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 เท่านั้น เมื่อสหภาพแรงงาน ท.ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลย แล้วมีการเจรจากัน แต่ตกลงกันไม่ได้สหภาพแรงงาน ท.จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบตามมาตรา 21 และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้งจนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว สหภาพแรงงาน ท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ ซึ่งจำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ ดังนี้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป ลูกจ้างจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31
of 2