พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมเมื่ออนุญาตให้ถอนฟ้องคดี และดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมแม้มีคำพิพากษา
ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีไปได้นั้น ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลย และแม้ศาลจะสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้วมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทโดยพิพากษาให้จำเลยชนะคดี ศาลก็อาจไม่สั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับกันไปก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นต้องมีข้อเท็จจริงเพียงพอ ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ถอนฟ้องได้
การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้ จะต้องปรากฏว่าคดีนั้นมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลจะรับฟังได้ หรือเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว มิใช่ว่าเมื่อคู่ความฝ่ายใดยื่นคำร้องเข้ามาแล้ว โดยจะมีข้อเท็จจริงอยู่หรือไม่ ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดให้เสมอไป
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ส่วนจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยเบื้องต้นและสั่งยกคำร้องของจำเลยไปแล้ว ก็ย่อมใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้.
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ส่วนจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยเบื้องต้นและสั่งยกคำร้องของจำเลยไปแล้ว ก็ย่อมใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอนุญาตถอนฟ้องและการใช้สิทธิของโจทก์ในการปรับปรุงคำฟ้องโดยไม่ถือเป็นการเอาเปรียบจำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย หากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้เต็มที่ฝ่ายใดจะแพ้ชนะคดีย่อมแล้วแต่พยานหลักฐานและรูปคดีทั้งปรากฏจากคำร้องขอถอนฟ้องว่าหนี้จำนองยังไม่ถึงกำหนดฟ้องร้องได้ โจทก์จึงขอถอนฟ้อง เมื่อพิจารณาตามพฤติการณ์และเหตุผลในคดีแล้ว ถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเป็นการเอาเปรียบเชิงคดี ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง: การใช้สิทธิโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการเอาเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย หากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้เต็มที่ฝ่ายใดจะแพ้ชนะคดีย่อมแล้วแต่พยานหลักฐานและรูปคดีทั้งปรากฏจากคำร้องขอถอนฟ้องว่าหนี้จำนองยังไม่ถึงกำหนดฟ้องร้องได้ โจทก์จึงขอถอนฟ้อง เมื่อพิจารณาตามพฤติการณ์และเหตุผลในคดีแล้ว ถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเป็นการเอาเปรียบเชิงคดี ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแรงงานก่อนมีคำพิพากษา ทำให้คำพิพากษาในส่วนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ 11 ถอนฟ้องไปแล้วก่อนที่จะมีคำพิพากษา ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้แก่โจทก์ที่ 11 ด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาที่ยอมความได้ และผลกระทบต่อคดีแพ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้กับขอให้จำเลยชำระเงินคืนเมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องและจำเลยไม่คัดค้านสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)สำหรับคดีส่วนแพ่งศาลฎีกาไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในชั้นฎีกาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ถอนฟ้องก่อนจำเลยให้การ ไม่สละสิทธิฟ้องใหม่, สิทธิเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ
ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคแรก โจทก์เพียงแต่ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใด การที่โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีกตามสิทธิของโจทก์ซึ่งตามมาตรา 176 บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกันหรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกัน ฟ้องของโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้ว และขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 27 หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้ว และขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 27 หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าก่อนจำเลยให้การ ไม่ถือเป็นการสละสิทธิฟ้องคดีใหม่ และการฟ้องโดยไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในไทย
ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคแรกโจทก์เพียงแต่ ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใดการที่ โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่า ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับ คดีนั้นเท่านั้นหาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ตามสิทธิของโจทก์ซึ่งตามมาตรา 176 บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกัน หรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกันฟ้องของโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41(1) โจทก์หาได้ ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้วและขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวตามมาตรา27หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหาย ในการล่วงสิทธิ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการถอนฟ้องและการยื่นคำร้องต่อศาล ต้องกระทำโดยคู่ความหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
การยื่นคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(7) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ซึ่งจะต้องกระทำโดยคู่ความในคดี บุคคลอื่นที่มิใช่คู่ความในคดีจะกระทำแทนได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่มีใบมอบฉันทะจากตัวความหรือทนายความเท่านั้นและคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีการมอบฉันทะให้ผู้อื่นนำมายื่นแทนโจทก์แต่อย่างใด แต่เมื่อคำร้องขอถอนฟ้องมีลายมือชื่อของทนายโจทก์ซึ่งมีอำนาจถอนฟ้องได้ตามใบแต่งทนายความและไม่ปรากฏว่าคำร้องนั้นได้ยื่นเข้ามาโดยบุคคลผู้ไม่มีอำนาจทั้งจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วโดยไม่มีข้อคัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411-3412/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องจำเลยเฉพาะราย, สถานะนิติบุคคลรัฐวิสาหกิจ, ค่าจ้างล่วงเวลาจากละเมิด
ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายโจทก์ที่ 2 แถลงไม่ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งส่งหมายให้ไม่ได้อีกต่อไป เป็นอันว่ามีโจทก์ที่ 2 พิพาทกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เท่านั้นบันทึกดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 เฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ พิเศษโดยเฉพาะ จึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จัดตั้ง หาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความรับรองว่าเป็นนิติบุคคลไม่
แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้วแต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานมาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายอันเกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานโจทก์จากจำเลยได้
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ พิเศษโดยเฉพาะ จึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จัดตั้ง หาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความรับรองว่าเป็นนิติบุคคลไม่
แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้วแต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานมาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายอันเกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานโจทก์จากจำเลยได้