พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ศาลใช้ดุลพินิจชอบธรรม แม้จำเลยคัดค้าน โดยคำนึงถึงสิทธิโจทก์อื่น
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง นั้น หลังจากฝ่ายจำเลยยื่นคำให้การแล้วโจทก์อาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องได้ ซึ่งศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังฝ่ายจำเลยก่อน คดีนี้ปรากฏว่า เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ศาลได้บันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่เดียวกันว่า ศาลสอบแล้วทนายจำเลยทั้งห้าแถลงคัดค้านว่าประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ต่อมาศาลได้บันทึกรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ว่า ศาลสอบแล้ว ทนายโจทก์ยืนยันจะถอนคำฟ้อง ทนายจำเลยทั้งห้าแถลงคัดค้านเนื่องจากหากศาลอนุญาตให้ถอนคำฟ้อง ว. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในข้อหาเดียวกันนี้อีก จึงเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งห้าจากข้อเท็จจริงดังกล่าวถือว่า ศาลได้สอบถามจำเลยทั้งห้าแล้ว ซึ่งแม้จำเลยทั้งห้าจะคัดค้าน ศาลก็ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนอุทธรณ์และการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดหลังมีคำพิพากษา
ป. ผู้จัดการคนเดิมของนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายความไว้ แต่เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมาเป็น ภ. แล้ว ภ. ย่อมมีอำนาจถอนอุทธรณ์และถอนทนายความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนอุทธรณ์หลังเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคล: การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลทำให้ผู้จัดการคนใหม่มีอำนาจถอนอุทธรณ์ได้
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว นิติบุคคลโจทก์ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549 โจทก์เปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจาก ป.มาเป็น ภ. และได้มีการจดทะเบียนแล้ว ดังนี้ ภ. จึงอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ แม้ ป. ผู้จัดการนิติบุคคลคนเดิมเป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายความไว้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมาเป็น ภ. แล้ว ภ. ย่อมมีอำนาจถอนอุทธรณ์และถอนทนายความ หาใช่เป็นอำนาจของ ป. ไม่ และการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นไปตามมติที่ประชุมครั้งใหม่ภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว มิได้อาศัยมติที่ประชุมที่ยังเป็นข้อพิพาทในคดี อีกทั้งการถอนฟ้องหรือถอนอุทธรณ์เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลแก้ไขข้อผิดพลาดในการรับฟ้องและคืนค่าธรรมเนียม
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โจทก์ย่อมไม่สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยได้อีก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกศาลชั้นต้นชอบที่จะไม่รับคำฟ้อง แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วยังไม่ปรากฏต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงรับคำฟ้องไว้โดยผิดหลง ต่อมาเมื่อโจทก์แถลงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาในคำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ มีผลเท่ากับเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงที่เคยสั่งรับคำฟ้องแล้ว ศาลฎีกาไม่จำต้องเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนพิจารณาใดๆ อีกแต่ให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้ และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิจำเลยร่วม: เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างก่อสร้างแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาโจทก์ได้ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) จึงต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา 58 วรรคสอง ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นคำให้การจนศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตนเข้ามาอันเป็นการใช้สิทธินอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการผิดหลง ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ 2 แล้วสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องได้ ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการชำระหนี้ค่าก่อสร้างให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความในคดีด้วยหรือไม่ ไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในการต่อสู้คดีรวมทั้งไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการชำระหนี้ค่าก่อสร้างให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความในคดีด้วยหรือไม่ ไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในการต่อสู้คดีรวมทั้งไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาคำสั่งไม่อนุญาตถอนฟ้อง และการถอนฟ้องที่ล่วงเวลาในชั้นอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องทำให้จำเลยต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทต่อไป คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงมีผลกระทบโดยตรงและอาจเป็นที่เสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้ มิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 แต่ฝ่ายเดียว หรือเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิฎีกาโดยไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมเป็นการล่วงเวลาที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย จึงไม่มีคำฟ้องชั้นอุทธรณ์ที่จะถอนได้ ส่วนจำเลยมีข้อตกลงกับโจทก์อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ไม่มีสิทธิมาขอถอนคำฟ้องเดิมในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมเป็นการล่วงเวลาที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย จึงไม่มีคำฟ้องชั้นอุทธรณ์ที่จะถอนได้ ส่วนจำเลยมีข้อตกลงกับโจทก์อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ไม่มีสิทธิมาขอถอนคำฟ้องเดิมในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการถอนฟ้องคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฎีกาเป็นอันลบล้าง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยจะยื่นฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียถ้าหากมี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ชอบที่จะถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยไม่คัดค้านแล้ว ซึ่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยตามมาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ หากจำเลยไม่แจ้งให้พิจารณาต่อไป แม้คัดค้านการถอนฟ้อง
ในกรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 หากจำเลยมิได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลจะต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องไว้ก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลให้รอสั่งในวันนัดและจำเลยที่ 1 แถลงคัดค้านการขอถอนฟ้องของโจทก์เป็นคนละกรณีกับการที่จะให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นอ้างเหตุในคำสั่งจำหน่ายคดีว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้นเป็นการไม่ถูกต้องเพราะกรณีมิใช่เป็นเรื่องทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6824/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ในการถอนฟ้องคดีเมื่อมีคดีเดียวกันอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลปกครอง การคัดค้านการถอนฟ้องโดยอ้างเหตุไม่มีพยานไม่มีน้ำหนัก
คำร้องขอถอนคำฟ้องของโจทก์คดีนี้อ้างว่า เรื่องตามฟ้องโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ต่อมาเมื่อศาลปกครองกลางเปิดทำการเรื่องของโจทก์ได้โอนไปเป็นคดีของศาลปกครองกลางนั้น หากให้ศาลยุติธรรมดำเนินคดีของโจทก์ต่อไปจะเป็นการซ้ำซ้อนกับคดีของโจทก์ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง โจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีที่ศาลปกครองเพียงแห่งเดียว เห็นได้ว่า คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ดังกล่าวมีเหตุผลและเป็นสิทธิของโจทก์ ที่จำเลยคัดค้านการถอนคำฟ้องอ้างว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบนั้นเป็นการคาดคะเนของจำเลย ข้อคัดค้านของจำเลยยังไม่มีน้ำหนัก ที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์: ดุลพินิจศาลและการไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนการที่ไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ของลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลมคำฟ้องอุทธรณ์จึงเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3)กรณีต้องนำเรื่องการถอนฟ้องตามมาตรา 175 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม โดยมาตรา 175(1) บังคับเพียงว่า ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดหากมีก่อน แม้จะมีการคัดค้านการขอถอนคำฟ้องก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ ทั้งการขอถอนคำฟ้องก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดี ดังนั้น เมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ก็ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่จะอนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 175 ส่วนการที่โจทก์อ้างว่าจะทำให้ตนเสียเปรียบเพราะทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความนั้น ก็มิใช่เงื่อนไขที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์แต่อย่างใด