คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 175

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้เช่าซื้อกรณีเกิดละเมิดจากคนขับ รวมถึงการประเมินค่าเสียหายที่เหมาะสม
รถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และผู้ประกอบการขนส่ง แม้จำเลยที่ 3 จะให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อดังกล่าวไป แต่จำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้เสียภาษีในการใช้รถยนต์ประกอบการขนส่งประเภทส่วนบุคคลตลอดมาทุกปีและยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกสิบล้อไปประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบการขนส่ง โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างและในการประกอบการขนส่งอันเป็นธุรกิจที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 1 อยู่ในสภาพพังยับเยิน แม้จะทำการซ่อมแซมอย่างดีแล้วก็ไม่สามารถทำให้คืนดีเหมือนเดิมได้ ทำให้รถยนต์เสื่อมราคาไปจากการใช้ตามปกติ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าเสื่อมราคารถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 1 อีก จึงหาใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายซ้ำซ้อนกับค่าซ่อมและเปลี่ยนอะไหล่ไม่
ความเสียหายจากการกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำละเมิดได้รับอันตรายสาหัสและต้องทุพพลภาพเป็นอัมพาตครึ่งท่อนล่างไปตลอดชีวิต นอกจากผู้ถูกกระทำละเมิดจะได้รับชดใช้ค่าเสียความสามารถประกอบการงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่งแล้ว ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย ที่ต้องได้รับความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจจากการทุพพลภาพไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 446 วรรคหนึ่ง อีกด้วย และค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยส่วนนี้กับค่าเสียความสามารถประกอบการงาน เป็นค่าเสียหายคนละอย่างแตกต่างกัน และไม่ซ้ำซ้อนกัน
ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นศาลที่รับแต่งตั้งจากศาลจังหวัดสีคิ้วให้สืบพยานหลักฐานของจำเลยแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 102 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด หาใช่กระบวนพิจารณาสืบพยานหลักฐานของจำเลยตามที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับแต่งตั้งให้กระทำแทนศาลจังหวัดสีคิ้วไม่ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ โดยให้โจทก์ไปยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาคดีจึงชอบแล้ว และการที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมิได้รับคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไว้แล้วส่งไปศาลจังหวัดสีคิ้วเพื่อพิจารณาสั่งนั้น ก็หาเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วที่พิจารณาคดี การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับจำเลยต่อมาทั้งหมดจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9332/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีดุลพินิจอนุญาตได้ อุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง ต้องนำมาใช้ในการพิจารณาคดีแรงงาน โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ จึงเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9332/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลแรงงานในการอนุญาตถอนฟ้อง และข้อจำกัดในการอุทธรณ์
ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง ต้องนำมาใช้ในการพิจารณาคดีแรงงาน โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ จึงเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7944/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง & อำนาจฟ้อง: พิจารณาความสุจริต, ผลเสียคู่ความ, พยานหลักฐานเพียงพอ
แม้โจทก์จะมีสิทธิขอถอนฟ้องในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา แต่การที่ศาลดังกล่าวจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และ เหตุผลทั่วๆไปในคดี รวมทั้งพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนี้เพราะโจทก์เข้าใจว่าจะต้องแพ้คดี ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีแล้ว นอกจากโจทก์จะไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไว้คืนแล้ว ยังอาจจะต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย ดังนั้นการขอถอนฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริต อาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งศาลต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก่อนประเด็น ข้อพิพาทข้ออื่น เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ได้อ้างสำนวนคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันมาเป็นพยานของตน และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็เห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้และข้อเท็จจริงในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งเพียงพอให้รับฟังได้เป็นยุติ และเพียงพอในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจะทำให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นอีกต่อไป ศาลย่อมมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7944/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การงดสืบพยาน, คำพิพากษาศาล: ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีได้หากพยานหลักฐานเพียงพอและเชื่อมโยงกับประเด็นข้อพิพาท
แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีของตนในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาก็ตามแต่การที่ศาลดังกล่าวจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจ ของศาลโดยพิจารณาจากพฤติการณ์และเหตุผลทั่ว ๆ ไปในคดี รวมทั้ง พิจารณาถึงความสุจริต ในการดำเนินคดีของโจทก์ และผลได้ผลเสียของ คู่ความทุกฝ่ายด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องคดีเพราะโจทก์เข้าใจว่าโจทก์จะต้องแพ้คดีซึ่งทนายโจทก์ย่อมทราบดีว่า หากศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ แพ้คดีแล้ว นอกจากโจทก์จะไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไว้คืนแล้ว ยังอาจจะต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย พฤติการณ์การขอถอนฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตอาจทำให้ จำเลยเสียเปรียบ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 กำหนดให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติ ได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งศาลต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก่อนประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น เมื่อทั้ง โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างก็ได้อ้าง สำนวนคดีแพ่งก่อนของ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันมาเป็นพยานของตน และศาลได้มีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวต่อมาเมื่อคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาแล้วและศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้และข้อเท็จจริงในคดีแพ่งก่อนเพียงพอให้รับฟัง ได้เป็นยุติและเพียงพอในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจะทำให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น อีกต่อไป ศาลก็ย่อมมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7887/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและถอนอุทธรณ์หลังศาลพิพากษา และการไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานต่างประเทศในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ชอบที่ยื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลนั้นพิพากษา การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 ที่ 4 เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาคดีไปแล้วย่อมเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ที่ 4 ขอถอนอุทธรณ์ อ้างว่าตนตกลงกับโจทก์ได้แล้วและโจทก์แถลงไม่คัดค้านการถอนอุทธรณ์ ย่อมมีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ถอนอุทธรณ์ได้
ข้อกำหนดของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ อนุญาตให้คู่ความใช้วิธีบันทึกถ้อยคำแทนการนำตัวพยานซึ่งอยู่ต่างประเทศเสนอต่อศาลอยู่แล้ว การส่งประเด็นไปสืบพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างประเทศต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน เมื่อจำเลยที่ 5 มีความประสงค์จะสืบตัวจำเลยที่ 3 เป็นพยานอีกเพียงปากเดียวแต่มิได้แสดงเหตุผลถึงความเป็นเป็นพิเศษในการที่จะขอส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ 3ที่ดินแดนไต้หวันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นและงดสืบพยานจำเลยที่ 5 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดทายาท, ค่าขึ้นศาล, ปัญหาความสงบเรียบร้อย
เมื่ออายุความละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ซึ่งเป็นคุณแก่ ส.ผู้ตายจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ส.ตาย สิทธิของโจทก์ผู้ถูกกระทำละเมิดที่จะฟ้องทายาทผู้รับมรดกของ ส.จึงอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 193/23 โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.ในวันที่ยังไม่ครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันอันเป็นวันที่ ส.ตาย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล: เหตุแห่งการคัดค้าน, ความชอบด้วยกฎหมาย, การไต่สวนพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศ.เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ผู้คัดค้านทั้งสามร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ. เนื่องจากคำร้องของผู้ร้องที่ขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคำร้องขอเป็นผู้อนุบาลของ ศ.เป็นความเท็จ และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตปิดบังข้อเท็จจริง และปิดบังพินัยกรรมของบิดาผู้ร้องที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของนางสาวศรีสกุล ทั้งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ.อยู่ก่อนที่ผู้ร้องจะขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ประกอบกับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ได้ขอถอนการเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1598/8 เนื่องจากมาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติให้การแต่งตั้งผู้อนุบาลอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.นี้และมาตรา 1598/18 วรรคสอง บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น การแต่งตั้งผู้อนุบาลจึงต้องอนุโลมตามการแต่งตั้งผู้ปกครองด้วย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อนุบาลตามมาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล โดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลนั้นเสียอันเป็นกรณีร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมตามมาตรา1588 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่ยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จะยื่นคำคัดค้านแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีที่ขอถอนผู้อนุบาลตามมาตรา 1598/8ผู้คัดค้านจึงยื่นคำคัดค้านได้
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังยื่นคำให้การและการใช้ดุลพินิจของศาล รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
กรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว และไม่ใช่กรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลง หรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย จึงเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรอย่างไรก็ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง
เมื่อปรากฏว่าที่ดินตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ใช่ที่ดินแปลงที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องจำเลย และโจทก์ได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องในส่วนนี้แล้วแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตได้ หากศาลใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และปล่อยให้คู่ความดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ฟ้องคดีในที่ดินที่ผิดแปลง โจทก์ย่อมนำคดีมาฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่พิพาทกันอย่างแท้จริงใหม่ได้ คู่ความทั้งสองฝ่ายก็จะต้องเสียเวลาเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอีก ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการจัดทำแผนที่ที่ดินเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ ย่อมเป็นประโยชน์แก่คู่ความทั้งสองฝ่ายนับเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบและเหมาะสมแล้ว
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยโดยไม่ได้ตรวจสอบที่ดินที่จะฟ้องให้แน่นอน เป็นเหตุให้จำเลยต่อสู้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณา เสียค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ เรื่อยมา ถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่จำเป็น อันเกิดเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของฝ่ายโจทก์ สมควรที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวแทนจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา161 และมาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมจากการฟ้องคดีในที่ดินผิดแปลง
การที่โจทก์ขอถอนฟ้องภายหลังจำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้วโดยไม่ใช่กรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลง หรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย จึงเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรอย่างไรก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการจัดทำแผนที่ที่ดินเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ตามคำขอของโจทก์ ย่อมเป็นการตัดตอน และเป็นการระงับค่าเสียหายไปได้ช่วงหนึ่งก่อน อันเป็น ประโยชน์แก่คู่ความทั้งสองฝ่าย นับเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ และเหมาะสมแล้ว แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้า โดยไม่ได้ตรวจสอบที่ดินที่จะฟ้องให้แน่นอน เป็นเหตุให้ จำเลยทั้งห้าต่อสู้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณา เสีย ค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ เรื่อยมา ถือได้ว่าเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาที่ไม่จำเป็น อันเกิดเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของฝ่ายโจทก์ สมควรที่โจทก์จะต้องรับผิด ในค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวแทนจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 166
of 20