พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ไม่ชอบ, การถอนฟ้องที่ไม่สุจริต, และการประนีประนอมยอมความที่เป็นการเอาเปรียบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2531 ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนคำร้องทั้งสองฉบับของโจทก์ในวันดังกล่าว แต่มีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องทั้งสองฉบับให้แก่จำเลยทั้งสี่ และนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 18ตุลาคม 2531 การที่ศาลชั้นต้นให้นัดไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์หลังวันยื่นคำร้องถึง 8 วัน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาเป็นการด่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องโจทก์อย่างวิธีธรรมดา ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดแจ้งการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1และออกใบหุ้นพร้อมกับใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่ตามคำร้องที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษากลับเป็นเรื่องโจทก์ต้องการใช้สิทธิเข้าไปดูแลครอบงำการจัดการและเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อจะได้ดำเนินการบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อไปชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคำฟ้อง โจทก์ไม่อาจร้องขอให้คุ้มครองดังกล่าวได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาใช้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 และในวันเดียวกันกรรมการชุดใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ร่วมประชุมแต่งตั้งได้ยื่นคำร้องขอถอนทนายจำเลยที่ 1 ที่กรรมการชุดเดิมได้ตั้งไว้ หลังจากนั้นโจทก์กับทนายคนใหม่ของจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปโดยไม่สุจริตและกระทำเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดีแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งจำเลยดังกล่าวต่างให้การต่อสู้อยู่ว่า หุ้นตามฟ้องมิใช่ของโจทก์ทั้งยังคัดค้านคำร้องขอถอนฟ้องด้วย ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แล้วพิพากษาคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองที่ดินและผลของการฟ้องแย้งก่อนหน้าต่ออายุความฟ้องร้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยแย่งการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทจากโจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อตนเองมิใช่ครอบครองแทนโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 เป็นการไม่ชอบแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอีก เดิมจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทก่อนที่โจทก์จะซื้อฝากจาก ส.เมื่อส.ไม่ใช้สิทธิไถ่คืนภายในกำหนด โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองบ้านและที่ดินพิพาท การที่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แต่เมื่อโจทก์มาขับไล่ให้จำเลยออกไป จำเลยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างส.กับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ จำเลยยื่นฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2529 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่าง ส.กับโจทก์ โจทก์ในฐานะจำเลยได้ยื่นคำให้การและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่จำเลยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2529การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมมาวางศาลภายในกำหนดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยในฐานะที่เป็นโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ แม้ฟ้องแย้งของโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยจะตกไปด้วยก็เป็นไปโดยผลของกฎหมายจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแย้งด้วยหาได้ไม่ คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่ลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องแย้งของโจทก์ในคดีก่อนและในคดีดังกล่าวโจทก์และจำเลยต่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายื่นโดยมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2531 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2531 จึงเป็นกรณีสืบเนื่องมาจากฟ้องแย้งเดิมซึ่งโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองแล้ว โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหลังถอนฟ้องไม่เป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิในการขอกันส่วนยังคงอยู่
การตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ต้องเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนฟ้อง หากคู่ความตกลงกันหลังจากถอนฟ้องแล้วย่อมไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่มีคำฟ้องที่จะทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันอีก ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อแถลงของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้อง, ประเด็นพิพาท, การสละข้อหา, อำนาจไกล่เกลี่ย, และการไม่จำเป็นต้องแก้ไขคำให้การ
โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังยื่นคำฟ้อง ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต ในวันนัดพิจารณา ศาลแรงงานมีอำนาจไกล่เกลี่ยคู่ความให้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน และโจทก์แถลงสละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวในวันนี้ได้การที่ศาลแรงงานกำหนดประเด็นพิพาทแห่งคดีและมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในวันเดียวกัน จึงชอบด้วยวิธีพิจารณาความแล้ว
เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและการสละข้อหาในคดีแรงงาน ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังยื่นคำฟ้อง ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต ในวันนัดพิจารณา ศาลแรงงานมีอำนาจไกล่เกลี่ยคู่ความให้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันและโจทก์แถลงสละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวในวันนี้ได้ การที่ศาลแรงงานกำหนดประเด็นพิพาทแห่งคดีและมีคำสั่ง ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในวันเดียวกัน จึงชอบด้วย วิธีพิจารณาความแล้ว เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้วจำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่เป็นการสละสิทธิ ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องใหม่ได้
ตามคำร้องขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อน ผู้ร้องแถลงว่าศาลนัดสืบพยานประเด็นผู้ร้องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถึงวันนัดทนายโจทก์และทนายผู้ร้องต่างก็ไปที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีปรากฏว่าศาลจังหวัดสุพรรณบุรีแจ้งว่า ศาลเจ้าของสำนวนไม่ได้ส่งประเด็นไป ไม่สามารถทำการสืบพยานประเด็นผู้ร้องได้ ผู้ร้องจึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีขอเฉลี่ยทรัพย์อีกต่อไป ขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามคำร้องดังกล่าวไม่มีข้อความชัดแจ้งหรืออาจแปลได้ว่าผู้ร้องสละสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ในมูลกรณีเดียวกันนั้นอีกในภายหลัง การขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อนย่อมไม่ทำให้อำนาจที่จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องหมดไป ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องคดีแพ่ง และการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีแพ่งได้หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่หากศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี เพราะหากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่ ก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องและการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีแพ่งได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้านเมื่อศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง และการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175นั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ การที่โจทก์ใช้สิทธิขอถอนฟ้องเพราะ จำเลยเป็นหนี้โจทก์มีจำนวนมากกว่าที่ระบุในฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพราะหากถอนฟ้องแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีเต็มที่เช่นกัน การที่ฝ่ายใดจะแพ้หรือชนะคดีย่อมแล้วแต่พยานหลักฐานของคู่กรณี ตรงกันข้ามหากไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยอาจได้เปรียบในเชิงคดีก็เป็นได้เพราะหากจำเลยเป็นหนี้โจทก์มากกว่าที่ฟ้อง จำเลยอาจไม่ต้องชำระหนี้ดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้สิทธิไม่สุจริต เอาเปรียบในเชิงคดีแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการขอถอนฟ้องคดี: การกระทำแทนโจทก์โดยกรรมการที่ยังดำรงตำแหน่ง
ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องปรากฏว่า พ. และ ท.เป็นกรรมการของโจทก์โดยไม่มีการจดทะเบียนถอนชื่อบุคคลทั้งสองจากการเป็นกรรมการของโจทก์ ต้องถือว่า พ. และ ท.ไม่ได้พ้นจากการเป็นกรรมการของโจทก์ และตามหนังสือรับรองระบุว่า จำนวนหรือชื่อกรรมการที่ลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ คือกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ ประกอบกับตามหนังสือรับรองดังกล่าวและข้อบังคับของโจทก์ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดอำนาจของกรรมการว่า ถ้าโจทก์ไม่มีมติให้ถอนฟ้องคดีใด กรรมการของโจทก์จะทำการแทนโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนั้นไม่ได้ การที่ พ.และ ท.ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ขอถอนฟ้อง ถือได้ว่า พ.และ ท.ในฐานะกรรมการของโจทก์ได้ขอถอนฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
การขอถอนฟ้องคดีดังกล่าวข้างต้นไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ ผลดีหรือผลเสียนั้นย่อมตกได้แก่ พ.และ ท.ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์กับของ พ.และ ท.ในการถอนฟ้องคดีเป็นปฏิปักษ์ต่อกันดังที่บัญญัติใน ป.พ.พ.มาตรา 80 ไม่ได้
การขอถอนฟ้องคดีดังกล่าวข้างต้นไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ ผลดีหรือผลเสียนั้นย่อมตกได้แก่ พ.และ ท.ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์กับของ พ.และ ท.ในการถอนฟ้องคดีเป็นปฏิปักษ์ต่อกันดังที่บัญญัติใน ป.พ.พ.มาตรา 80 ไม่ได้