พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,582 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีคำพิพากษาคดีขับไล่ก่อนหน้า และการสันนิษฐานเรื่องความเป็นบริวาร
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องขับไล่ให้ ช. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทนั้น จำเลยฟ้อง ช. คนเดียวมิได้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องเข้ามาต่อสู้คดีแต่อย่างใด คดีดังกล่าวมีประเด็นตามฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือ ช. ปรากฏว่า ช. ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยให้ขับไล่ ช. และบริวาร แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีเดิมยื่นฟ้องจำเลยว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์และห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ขอให้ยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนี้จึงมีว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับประเด็นในคดีเดิม เมื่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการครอบครองของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ ไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาในคดีเดิมแต่อย่างใดเพราะแม้จะฟังตามคำพิพากษาในคดีเดิมว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมิใช่ของ ช. แต่จำเลยก็อาจจะเสียสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้ทรัพยสิทธิโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมได้
บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศนั้น มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. จะต้องเป็นบริวารของ ช. สถานเดียว เพียงแต่กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ที่ไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นบริวารของ ช. เท่านั้น แต่หากโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. มีหลักฐานแสดงว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของตนได้ว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แม้จะล่วงเลยเวลาแปดวันแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุด เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะฟ้องร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. เสียภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลจึงมิใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ต้องเป็นบริวารของ ช. หรือโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทดังที่จำเลยฎีกา
บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศนั้น มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. จะต้องเป็นบริวารของ ช. สถานเดียว เพียงแต่กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ที่ไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นบริวารของ ช. เท่านั้น แต่หากโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. มีหลักฐานแสดงว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของตนได้ว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แม้จะล่วงเลยเวลาแปดวันแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุด เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะฟ้องร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. เสียภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลจึงมิใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ต้องเป็นบริวารของ ช. หรือโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทดังที่จำเลยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบุคคลภายนอกในคดีพิพาทที่ดิน: โจทก์ในฐานะเจ้าของเดิมมีสิทธิฟ้องพิสูจน์สิทธิในที่ดิน แม้ไม่ใช่ผู้รับโอนสิทธิจากโจทก์เดิม
แม้จำเลยทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 291/2529 ของศาลชั้นต้น ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และประเด็นพิพาทเป็นประเด็นเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินพิพาทมาจาก ส. โจทก์ในคดีก่อน แต่เป็นการฟ้องในฐานะเจ้าของคนก่อนซึ่งได้ขายที่พิพาทให้แก่ ส. กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้สืบสิทธิในที่พิพาทต่อจาก ส. โจทก์ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเดียวกันกับคดีก่อน มีสิทธิฟ้องเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงคนหางานไปทำงานต่างประเทศเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม ขึ้นอยู่กับเจตนาและลักษณะการกระทำ
การกระทำความผิดฐานหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งมิได้พิจารณาจากการที่จำเลยกับพวกจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต่อเนื่องกันหรือไม่ซึ่งเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่ง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม 2545 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2546 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนว่าจำเลยกับพวกได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางและสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ ม. ได้ จนผู้เสียหายทั้งสามหลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้เงินไปจากผู้เสียหายทั้งสาม เหตุเกิดที่ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ส่วนคดีก่อนโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนเมษายน 2545 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2545 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบแปดว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบแปดไปทำงานที่ประเทศ ม. ได้ จนผู้เสียหายทั้งสิบแปดหลงเชื่อ ยอมให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งสิบแปด เหตุเกิดที่ตำบลจรัส ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีก่อนจึงมีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม 2545 และเดือนมกราคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกัน มีการดำเนินการและจ่ายเงินให้แก่จำเลยกับพวกเหมือนกัน แต่จำเลยกับพวกหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำทางอาญา: การหลอกลวงประชาชนเพื่อจัดหางาน แม้เจตนาเดียวกัน แต่ผู้เสียหายต่างกัน สถานที่และเวลาต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้น มีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนธันวาคม 2545 ถึงเดือนกรกฎาคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกัน การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกันมีการพาไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ร. ในวันเดียวกันและชำระเงินให้นาย ก. พร้อมกัน แต่จำเลยกับพวกก็หลอกลวงบุคคลต่างรายกัน เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีครอบครองปรปักษ์และกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
เมื่อ ด. ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมยื่นคำคัคค้านเข้าไปในคดีแพ่งที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกนั้นเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 ผลแห่งคดีตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยย่อมต้องผูกพันถึงโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวม การที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของโจทก์ทั้งห้ากับพวก เท่ากับขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับพวกหรือของจำเลย ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และการที่ ด. ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอื่นนั้น เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมูลฟ้องของโจทก์ทั้งห้าคดีนี้อาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดก คำฟ้องที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่ ด. ฟ้องจำเลยเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องซ้อน กรณีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน และผลผูกพันจากการใช้สิทธิของทายาท
ด. ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมยื่นคำคัดค้านในคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดอำนาจเจริญขอให้มีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกเป็นการใช้สิทธิ์อันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 ผลแห่งคดีตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวซึ่งศาลจังหวัดอำนาจเจริญมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ย่อมต้องผูกพันถึงโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวมการที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับพวกหรือของจำเลยย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
ด. ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดก เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง การที่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวมฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกจึงเป็นเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ด. ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดก เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง การที่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวมฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกจึงเป็นเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ยืม การฟ้องเรียกหนี้จากลูกหนี้ร่วมที่ไม่ใช่คู่ความเดิมไม่เป็นฟ้องซ้ำ
สามีจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโดยมีจำเลยซึ่งเป็นภริยาลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญา จึงถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (4) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นส่วน ๆ หรือจะฟ้องลูกหนี้ทีละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้ตามมาตรา 291
คดีก่อนโจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย สามีจำเลยซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยคดีนี้จึงไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์กับสามีจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวของโจทก์ระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยประกอบกับจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดไม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย สามีจำเลยซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยคดีนี้จึงไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์กับสามีจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวของโจทก์ระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยประกอบกับจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันคู่สัญญาที่ไม่ร่วมทำสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สามีจำเลยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ ถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ชำระหนี้เป็นส่วนๆ หรือจะฟ้องลูกหนี้ทีละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีก่อนให้ร่วมกับสามีชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ด้วย จำเลยคดีนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับจำเลยในคดีก่อน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์นำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ โจทก์กับสามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินสิ้นสุดไป โจทก์ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันจำเลยเพราะไม่ใช่คู่ความในคดีดังกล่าว โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ 247
คดีก่อนโจทก์นำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ โจทก์กับสามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินสิ้นสุดไป โจทก์ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันจำเลยเพราะไม่ใช่คู่ความในคดีดังกล่าว โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7259-7260/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด: ศาลไม่อาจรื้อฟื้นข้อพิพาทเดิมเพื่อหาแนวเขตใหม่ได้
เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังแล้ว ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้แบ่งที่ดินพิพาทโดยถือทางสาธารณประโยชน์ตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เป็นเส้นแบ่งออกเป็นที่ดินฝั่งเหนือและที่ดินฝั่งใต้ เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และแผนที่มีรายละเอียดในคำวินิจฉัยและวิธีการแบ่งที่พิพาทโดยชัดแจ้งซึ่งคู่ความสามารถนำเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดแล้วแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้ได้ตามสัดส่วนตามแผนที่ และตามรายละเอียดในคำพิพากษาของศาลฎีกาอยู่แล้ว ดังนั้น ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำแผนที่วิวาทให้เป็นไปตามคำร้องของโจทก์ที่ 1 และแนวเขตทางเดินคอนกรีตตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ตามแผนที่วิวาทขึ้นใหม่นั้นเพื่อหาแนวเส้นประสีเหลืองตามแผนที่อีกครั้ง ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องเรื่องที่ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วกลับมาเป็นข้อพิพาทขึ้นใหม่ ซึ่งไม่ชอบด้วยวิธีการในชั้นบังคับคดี ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คู่ความร่วมกันนำรังวัดเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำแผนที่วิวาทนั้นจึงไม่ชอบ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ที่ 1 ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฎีกาต่อไปนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีภาษีอากร: ศาลฎีกาตัดสินฟ้องไม่ซ้ำ แม้ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการประเมินเดิม
คดีก่อนอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางเป็นคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นจำเลยขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับ โดยยกข้ออ้างว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิด แต่คำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่จำเลยเป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยมิได้ชำระแก่โจทก์โดยครบถ้วน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระแล้วจำเลยเพิกเฉย กลับจดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยทราบอยู่แล้วว่ายังเป็นหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่จากการไม่ยอมชำระหนี้ของจำเลย และเป็นเรื่องที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ภายหลังคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางคดีก่อนอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 จำเลยไม่อาจรื้อฟื้นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีดังกล่าวได้อีก
คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางคดีก่อนอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 จำเลยไม่อาจรื้อฟื้นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีดังกล่าวได้อีก