พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,582 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีภาษีอากรหลังคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลฎีกาตัดสินฟ้องไม่ซ้ำ ชี้ประเด็นใหม่
คดีก่อนอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางเป็นคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นจำเลยทั้งสามขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ จำเลยทั้งสามในคดีดังกล่าวให้การต่อสู้ว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องแล้ว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีดังกล่าวฟ้องจำเลยให้รับผิด แต่คำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่จำเลยเป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยมิได้ชำระแก่โจทก์โดยครบถ้วน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยเพิกเฉยกลับจดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยทราบอยู่แล้วว่ายังเป็นหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่จากการไม่ยอมชำระหนี้ของจำเลย และเป็นเรื่องที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ภายหลังคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
สำหรับประเด็นข้อพิพาทอื่นตามคำให้การของจำเลยล้วนเป็นข้อต่อสู้ที่เกี่ยวกับการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสิ้น ซึ่งคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่อาจรื้อฟื้นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้อีก
สำหรับประเด็นข้อพิพาทอื่นตามคำให้การของจำเลยล้วนเป็นข้อต่อสู้ที่เกี่ยวกับการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสิ้น ซึ่งคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่อาจรื้อฟื้นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5867/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย หากมีเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาตรา 37
คดีก่อน ศาลฎีกามิได้พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน คงพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เนื่องจากขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 โดยยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาของภาษีอากร เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะใหม่พิจารณาและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย โจทก์ฟ้องซ้ำในประเด็นเดิมหลังคดีถึงที่สุดแล้ว
มูลเหตุแห่งการฟ้องจำเลยทั้งสองของโจทก์ ทั้งในคดีเดิมและคดีนี้มาจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ทำไว้กับโจทก์ฉบับเดียวกัน แม้ในคดีเดิมโจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด ขอให้ส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาและค่าใช้ทรัพย์ ส่วนในคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าระหว่างการครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญารถยนต์สูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยขอให้ชำระค่ารถยนต์ในส่วนที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายระหว่างเช่าซื้อนั้นได้ปรากฏขึ้นก่อนที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีเดิมซึ่งโจทก์ทราบดี แต่โจทก์ไม่ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามข้อตกลงในสัญญา การที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ราคารถยนต์ที่สูญหายในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับเดียวกันอีก ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องได้อยู่แล้วในคดีก่อน เมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณหนี้ค้างชำระที่ไม่ชัดเจน ทำให้ศาลไม่สามารถพิพากษาให้รับผิดได้
คำฟ้องของโจทก์มีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือนและยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความชัดเจนว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ถือว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมายื่นฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลต้องยกฟ้องและเปิดโอกาสให้คิดคำนวณหนี้ใหม่
โจทก์มีสิทธิขอบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำต้องบังคับจำนำเอากับหุ้นก่อน แต่โจทก์ต้องตั้งรูปบรรยายฟ้องและคิดคำนวณยอดหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียวโดยไม่กล่าวถึงการบังคับจำนำเอากับหุ้นที่จำเลยจำนำไว้ ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ใช้สิทธิบังคับจำนำและคิดคำนวณยอดหนี้โดยหักเงินที่ได้จากการบังคับจำนำมาชำระหนี้ และศาลต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการบังคับจำนำ เมื่อศาลวินิจฉัยว่าการบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมทำให้ยอดหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้องไม่ถูกต้อง จึงไม่ชอบที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง ศาลจึงให้มีการคิดคำนวณใหม่โดยพิพากษายกฟ้องและไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกเงินมัดจำหลังศาลตัดสินคดีเดิมแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินคืนแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 894/2535 ของศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่าได้ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ด้วย ทั้งที่เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในขณะฟ้อง และโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องเช่นนั้นได้แม้ต่อมาคดีดังกล่าวศาลฎีกาจะมีคำพิพากษายกฟ้องคำขอที่บังคับให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็ได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่แล้ว ทั้งต่อมาปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยและเจ้าของรวมทุกคนขอให้บังคับแบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์ต้องการแล้วจดทะเบียนโอนที่ดินที่แบ่งแยกแก่โจทก์ตามสิทธิที่ได้รับตามคำพิพากษาศาลฎีกาและเรียกค่าเสียหาย แต่โจทก์ก็ไม่มีคำขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำหากจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ซึ่งต่อมาคดีที่โจทก์ฟ้องใหม่นี้ ศาลชั้นต้นก็พิพากษายกฟ้องตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 4934/2542 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงถือว่าสัญญาเลิกกันและขอเงินมัดจำคืน เท่ากับศาลต้องวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซ้ำกับคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีและถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และปัญหาว่าคดีโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความในหยิบยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สัญญาจำนองที่เคยถูกพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ฟ้องใหม่อ้างโมฆะทำไม่ได้
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาจำนองฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แต่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่าสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนอันเป็นความบกพร่องไม่รอบคอบของโจทก์เองที่ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ เมื่อศาลพิพากษาให้มีการบังคับจำนองและคดีถึงที่สุดไปแล้ว เช่นนี้ โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างเหตุว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อมิให้คำพิพากษาในคดีก่อนมีผลใช้บังคับแก่โจทก์หาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่า โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คู่ความเดิมไม่ยกเหตุโมฆะในคดีก่อน ศาลไม่รับฟ้องใหม่
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาจำนองฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แต่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน เมื่อศาลพิพากษาให้มีการบังคับจำนองและคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่า โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: การฟ้องคดีล้มละลายโดยอ้างเหตุเดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำและต้องห้ามตามกฎหมาย
ในคดีหมายเลขแดงที่ 796/2547 ของศาลล้มละลายกลางปรากฏว่าบริษัท บ. เป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับบริษัท ล. เป็นหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 5810/2539 ของศาลแพ่งและจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวขอให้ล้มละลายซึ่งศาลในคดีดังกล่าวได้พิจารณาพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบไม่ได้ตามข้อสันนิษฐานตามที่กล่าวมาในฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีหรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ทั้งโจทก์ในคดีดังกล่าวไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกมีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สินแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัว พิพากษายกฟ้อง โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งจะต้องรับโอนมาซึ่งบรรดาสิทธิและหน้าที่ที่บริษัท บ. ผู้โอนมีต่อจำเลยทั้งสองด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีก โดยอ้างว่าเมื่อได้ยึดทรัพย์จำนองของบริษัท ล. แล้วไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้าง และศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงเป็นการนำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องร้องจำเลยทั้งสองซึ่งมีประเด็นแห่งคดีอย่างเดียวกันว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และเหตุที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกันซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 14 ส่วนที่โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 17729/2540 ของศาลแพ่งมาด้วยก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวคิดถึงวันฟ้องไม่เกิน 1,000,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์นำมูลหนี้ส่วนนี้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: มูลหนี้ใหม่แม้สาเหตุเดิม ศาลวินิจฉัยว่าไม่ใช่ฟ้องซ้ำหากยอดหนี้ต่างกันและยังไม่ถึงกำหนด
แม้ในคดีเดิมของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดในค่าอุปการะเลี้ยงดูมาทั้งหมดโดยอาศัยสัญญาตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า อ้างเหตุว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ผ่อนชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบถ้วนตามข้อตกลงในสัญญา แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดรับชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบางส่วนเฉพาะงวดหนี้ที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญาดังกล่าว ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาเมี่อหนี้ส่วนที่เหลือถึงกำหนดชำระจำเลยก็ผิดนัดไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาดังกล่าวอีกจึงเกิดมูลหนี้ใหม่แม้จะโดยสาเหตุจำเลยผิดนัดเหมือนกันกับคดีเดิม ทั้งการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอาศัยตามสัญญาตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าและอ้างเหตุจำเลยผิดนัดสัญญาเช่นเดิมแต่ก็เป็นเพราะจำเลยไม่ผ่อนชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาในยอดหนี้ส่วนที่เหลือย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ายอดหนี้ในคดีเดิมและคดีนี้เป็นคนละจำนวนกัน เมื่อขณะโจทก์ฟ้องคดีเดิมจำเลยยังมิได้ผิดนัดสัญญาในยอดหนี้คงค้างที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยในคดีนี้เพราะเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวและศาลชั้นต้นในคดีเดิมยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นหรือเนื้อหาแห่งคดีในส่วนยอดหนี้ดังกล่าว ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มิใช่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีเดิม การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148