พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,582 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8418/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งแยกที่ดินกับบุกรุกทำประโยชน์เป็นคนละประเด็นกัน
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์จำเลยตามคำฟ้องในคดีนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังโจทก์และจำเลยตกลงแบ่งแยกที่ดินเป็นสัดส่วนกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดในคดีก่อนที่ให้โจทก์และจำเลยมีสิทธิในที่ดินคนละครึ่งของจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมดทั้งแปลง ส่วนจะเป็นทางทิศใดจะไปตกลงกันในภายหลัง ทั้งคำขอบังคับในคดีนี้ก็ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในที่ดินส่วนที่แบ่งแยกเป็นของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว แตกต่างกับคำขอบังคับในคดีก่อนที่ขอให้บังคับจำเลยใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดิน คำฟ้องของโจทก์คดีนี้กับคดีก่อนมิใช่เรื่องเดียวกันและเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: ความเสียหายต่างกรรมต่างวาระ และอายุความสัญญาจ้าง
ป. ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อบริษัท บ. ซึ่งเป็นนายจ้างโดยรวบรวมเงินจากลูกค้าและพนักงานในสาขาแล้วส่งให้บริษัท บ. ไม่ครบรวม 16 ครั้ง เป็นเงิน 616,635.32 บาท แล้ว ป. ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ขอผ่อนชำระเงินดังกล่าวแก่บริษัท บ. แต่ ป. ไม่ชำระตามที่รับสภาพหนี้ไว้ บริษัท บ. จึงฟ้อง ป. ต่อศาลแรงงานกลางให้ชำระหนี้ดังกล่าวเป็นคดีเดิม ต่อมาบริษัท บ. ตรวจสอบพบว่า ป. ได้รวบรวมเงินจากลูกค้าและพนักงานในสาขาแล้วส่งให้บริษัท บ. ไม่ครบ เพิ่มอีก 5 ครั้ง จึงให้ ป. ทำหนังสือรับสภาพหนี้เพิ่มแล้วนำยอดหนี้ดังกล่าวฟ้อง ป. ต่อศาลแรงงานกลางให้ชำระหนี้เป็นอีกคดีหนึ่ง ส่วนคดีนี้บริษัท บ. รวบรวมความเสียหายอื่นที่ ป. ก่อให้เกิดขึ้นคนละคราวกับสองคดีก่อนซึ่งเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระและเป็นการฟ้องเรียกหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้แต่ละฉบับโดยมีค่าปรับที่ต้องชำระแต่ละคราวรวมอยู่ด้วย บริษัท บ. จึงไม่จำต้องนำยอดหนี้อื่นนอกเหนือจากยอดหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป. ตกลงจะชำระให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากแล้วผิดนัดมารวมฟ้องเป็นคดีเดียวกัน ฟ้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
บริษัท บ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก ป. ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
บริษัท บ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก ป. ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252-8254/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีใหม่ด้วยเหตุเดิมแม้มีรายละเอียดต่างกัน ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีเดิมที่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางกล่าวอ้างว่าการทำหนังสือยินยอมให้จำเลยลดเงินเดือนเพื่อรับตำแหน่งใหม่ไม่ถูกต้องเพราะเป็นการทำตามระเบียบที่ออกมาภายหลังจากโจทก์ได้สอบคัดเลือกแล้ว จึงเรียกเงินเดือนส่วนที่ลดลงไปนับแต่เดือนสิงหาคม 2544 ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าการที่จำเลยให้โจทก์ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยลดเงินเดือนเป็นการฉ้อฉล ไม่สุจริต ผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยทำไว้กับสหภาพแรงงาน ขัดต่อกฎหมาย แล้วเรียกเงินเดือนส่วนที่ลดลงไปนับแต่เดือนสิงหาคม 2544 เงินค่าครองชีพ เงินโบนัส ค่าชดเชยวันหยุด ค่าชดเชยวันพักร้อน และเงินอื่นๆ แม้ว่าโจทก์จะอ้างเหตุที่แสดงว่าการทำหนังสือยินยอมให้จำเลยลดเงินเดือนไม่ชอบด้วยเหตุที่แตกต่างจากในคดีเดิม และเรียกเงินอื่นเพิ่มมาจากในคดีก่อน แต่เป็นการกระทำสืบเนื่องมาจากมูลกรณีเดียวกัน ซึ่งโจทก์สามารถอ้างในการฟ้องและเรียกร้องเงินอื่นที่เพิ่มขึ้นมาในคดีเดิมได้ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขอรวมโทษจำคุกซ้ำ ศาลฎีกายกคำร้องตามหลักการห้ามร้องซ้ำ
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรวมโทษจำคุกของจำเลยรวม 16 คดีมิให้เกินกว่า 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน คดีถึงที่สุด จำเลยยื่นคำร้องครั้งใหม่อ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย – การรวมโทษจำคุกเกิน 20 ปี
จำเลยเคยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรวมโทษจำคุกของจำเลยทุกคดีมิให้เกินกว่า 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษายืน คดีถึงที่สุด จำเลยมายื่นคำร้องครั้งใหม่โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยชี้ขาดและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการร้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5207/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งของโจทก์เมื่อสามีฟ้องแทนในคดีก่อน และการรับผิดในละเมิดของจำเลย
โจทก์ได้รับบาดเจ็บไม่ร้ายแรงมากถึงขนาดไม่สามารถจัดการเองได้ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ประกอบมาตรา 3 (3) ที่สามีโจทก์จะจัดการแทนโจทก์ได้ ดังนั้น การที่สามีโจทก์ดำเนินคดีแพ่งแก่จำเลยในคดีก่อนจึงไม่ใช่เป็นการจัดการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ส่วนโจทก์จะมีผู้ใดช่วยเหลือรับผิดชอบอย่างใดเป็นเรื่องของโจทก์ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ส่วนโจทก์จะมีผู้ใดช่วยเหลือรับผิดชอบอย่างใดเป็นเรื่องของโจทก์ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5096/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: แม้เปลี่ยนฐานความรับผิดเป็นละเมิด หากมูลเหตุยังคงเป็นการว่าจ้างเดิม ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เรื่องจ้างทำของโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างและเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์งาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้โดยบรรยายฟ้องในเรื่องมูลหนี้ที่เกิดจากการพิมพ์งานของโจทก์เช่นเดียวกับในคดีเดิม โดยบรรยายอีกว่าเป็นการว่าจ้างจากจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องเป็นเรื่องละเมิดก็เพียงเพื่อให้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองอยู่ในรูปแบบของนายจ้างลูกจ้างเท่านั้น การกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 กรอกรายการในใบเสร็จรับเงินให้เป็นของบริษัท ด. เป็นการประทุษร้ายต่อสิทธิในการรับเงินค่าจ้างของโจทก์ก็มีผลเท่ากับโจทก์ยังคงกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์งานเช่นในคดีเดิม จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์จากการแต่งตั้งกรรมการด้วยเอกสารปลอม สิทธิในการติดตามเอาคืนทรัพย์สิน
คดีเดิมมีประเด็นว่าโจทก์ในคดีนี้ผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ส่วนในคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่หรือไม่ คดีนี้โจทก์อ้างเหตุว่าสัญญาเช่าและสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันโจทก์เพราะมีการปลอมเอกสารแล้วทำสัญญาเช่าโดยผู้ทำไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับความรับผิดตามสัญญาเช่า อีกทั้งประเด็นที่ต้องวินิจฉัยทั้งสองคดีมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
เมื่อการแต่งตั้ง พ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรก ผู้ใดจะกล่าวอ้างแสวงสิทธิจากเอกสารดังกล่าวนั้นหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการและอำนาจกรรมการ ย่อมทำให้ พ. ถูกเพิกถอนจากการเป็นกรรมการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ การใดที่ พ. กระทำไปในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจและไม่ผูกพันโจทก์ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในคดีเดิมเสียได้ แล้วจึงฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินในภายหลัง หรือโจทก์จะใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ การที่โจทก์เลือกใช้สิทธิโดยฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ด้วยเหตุสัญญาเช่าไม่ผูกพันโจทก์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในคดีเดิม
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า สัญญาเช่าและสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันโจทก์ แม้จำเลยจะอ้างว่าทำสัญญาทั้งสองสัญญาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในการเช่า อันจะใช้ยันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ การแต่งตั้ง พ. เป็นกรรมการของโจทก์เกิดจากการกระทำความผิดอาญาฐานปลอมเอกสาร อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถือว่าการแต่งตั้งนั้นไม่มีผลทางกฎหมาย มิใช่เรื่องการแต่งตั้งกรรมการมีข้อบกพร่องหรือบกพร่องในเรื่องคุณสมบัติของกรรมการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1166
ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเรื่องจำเลยไม่ชำระค่าเช่าและไม่ได้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ในคำให้การและทางนำสืบของจำเลยว่าข้ออ้างของจำเลยรับฟังได้หรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อการแต่งตั้ง พ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรก ผู้ใดจะกล่าวอ้างแสวงสิทธิจากเอกสารดังกล่าวนั้นหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการและอำนาจกรรมการ ย่อมทำให้ พ. ถูกเพิกถอนจากการเป็นกรรมการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ การใดที่ พ. กระทำไปในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจและไม่ผูกพันโจทก์ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในคดีเดิมเสียได้ แล้วจึงฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินในภายหลัง หรือโจทก์จะใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ การที่โจทก์เลือกใช้สิทธิโดยฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ด้วยเหตุสัญญาเช่าไม่ผูกพันโจทก์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในคดีเดิม
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า สัญญาเช่าและสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันโจทก์ แม้จำเลยจะอ้างว่าทำสัญญาทั้งสองสัญญาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในการเช่า อันจะใช้ยันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ การแต่งตั้ง พ. เป็นกรรมการของโจทก์เกิดจากการกระทำความผิดอาญาฐานปลอมเอกสาร อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถือว่าการแต่งตั้งนั้นไม่มีผลทางกฎหมาย มิใช่เรื่องการแต่งตั้งกรรมการมีข้อบกพร่องหรือบกพร่องในเรื่องคุณสมบัติของกรรมการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1166
ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเรื่องจำเลยไม่ชำระค่าเช่าและไม่ได้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ในคำให้การและทางนำสืบของจำเลยว่าข้ออ้างของจำเลยรับฟังได้หรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นหุ้นส่วนลงทุนเลี้ยงกบที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกเป็นจำเลยว่าผิดสัญญาหุ้นส่วนและไม่แบ่งปันผลกำไร ขอให้ใช้เงินคืน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยจงใจและใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ต้องรับภาระในการลงทุนที่หนักกว่าที่โจทก์จะยอมรับโดยปกติ โดยโจทก์ต้องออกเงินลงทุนในการเลี้ยงกบไปถึง 131,377 บาท ขอให้จำเลยใช้เงินคืนโจทก์จำนวนครึ่งหนึ่ง ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยสืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างอย่างเดียวกันคือ โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนทำฟาร์มเลี้ยงกบกันหรือไม่ และเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกมาก็เป็นเงินลงหุ้นตามสัญญาหุ้นส่วนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงกบอันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มารื้อร้องฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115-3116/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องละเมิดหลังมีคำพิพากษาในคดีอาญาแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าบางประเด็นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องเคลือบคลุม แต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองเพราะเห็นว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไม่จำต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นฟ้องซ้ำ จำเลยที่ 2 มีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องเคลือบคลุมขึ้นแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่จำเลยที่ 2 คงแก้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่เท่านั้น จำเลยที่ 2 หาได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมขึ้นแก้อุทธรณ์ด้วยไม่ ดังนั้น ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ จึงไม่ใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 9201/2542 นั้น จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง โดยมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1447/2543 นั้น ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานรับของโจรทรัพย์รวม 4 รายการ และมีคำสั่งให้คืนทรัพย์ทั้ง 4 รายการแก่โจทก์ที่ 2 โดยคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งในการฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 ในการรับเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไว้และโจทก์ที่ 2 ได้รับทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 แล้ว 4 รายการ คือ ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 20, 24, 25 และ 26 รวมเป็นเงิน 8,700 บาท ส่วนทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 17 ได้รับคืนเฉพาะองค์พระส่วนทองคำที่ลอกไปยังไม่ได้คืน โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวนอื่นๆ นอกจากทรัพย์ 4 รายการพร้อมองค์พระดังกล่าว ซึ่งศาลในคดีอาญาทั้งสองคดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้บางประเด็นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 9201/2542 นั้น จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง โดยมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1447/2543 นั้น ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานรับของโจรทรัพย์รวม 4 รายการ และมีคำสั่งให้คืนทรัพย์ทั้ง 4 รายการแก่โจทก์ที่ 2 โดยคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งในการฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 ในการรับเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไว้และโจทก์ที่ 2 ได้รับทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 แล้ว 4 รายการ คือ ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 20, 24, 25 และ 26 รวมเป็นเงิน 8,700 บาท ส่วนทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 17 ได้รับคืนเฉพาะองค์พระส่วนทองคำที่ลอกไปยังไม่ได้คืน โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวนอื่นๆ นอกจากทรัพย์ 4 รายการพร้อมองค์พระดังกล่าว ซึ่งศาลในคดีอาญาทั้งสองคดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้บางประเด็นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ