คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 905

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกันการขอยืมวงเงินตั๋วอาวัล การพิสูจน์เจตนาและภาระหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายเช็ค
ตามหนังสือขอยืมวงเงินตั๋วอาวัล เอกสารหมาย จ.4 บริษัท ส. ขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลจากบริษัท สช. เป็นเงิน 9,518,738 บาท ซึ่งขณะนั้นกรรมการของบริษัท ส. มี 4 คน รวมโจทก์กับจำเลย ซึ่งหากต้องเฉลี่ยรับผิดในความเสียหายแล้วจะตกคนละ 2,379,684.50 บาท แต่ในเอกสารหมาย จ.4 ลงชื่อผู้ให้สัญญาเพียง 3 คน โดยไม่รวมจำเลยอยู่ด้วย ดังนั้น ความรับผิดของผู้ให้สัญญาแต่ละคนจะตกคนละ 3,172,912.67 บาท ซึ่งจำนวนเงินทั้งสองยอดดังกล่าวไม่ตรงกับจำนวนความรับผิดของโจทก์ จำนวน 2,139,184 บาท ตามที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง ซึ่งโจทก์อ้างว่าต้องรับผิดจำนวนดังกล่าวลอย ๆ โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงแตกต่างกันเช่นนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าการมอบเช็คให้จำเลยได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นการสั่งจ่ายเพื่อค้ำประกันดังที่โจทก์อ้าง ทั้ง ๆ ที่เช็คมีจำนวนเงินสูงถึง 2,139,184 บาท และเป็นเช็คที่ออกในนามโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกันการขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลที่มีการชำระเงินแล้วตามฟ้อง จำเลยย่อมเป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าว และนำไปสลักหลังมอบให้บุคคลอื่นได้ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12634/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่าย - สิทธิผู้ทรง - การต่อสู้เรื่องยักยอก - สุจริต - ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยจำเลยที่ 2 ได้สลักหลังแล้วมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งจ่าย และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้สลักหลังชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่บริษัท ก. แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทดังกล่าวยักยอกเช็คไป บริษัท ก. ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเจ้าพนักงานตำรวจแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นมาโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 เพื่อฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาโดยสุจริต การที่จำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวเป็นผู้ทุจริต จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นใช้ยันต่อโจกท์ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916 เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้ถือจึงนับได้ว่าเป็นผู้ทรง เมื่อโจทก์นำไปขึ้นเงินจากธนาคารตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยสุจริตและการรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็คแม้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ทรง
จำเลยให้การว่า โจทก์และจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ช. เพื่อเป็นหลักประกัน ช. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยโจทก์นำเช็คพิพาทไปลงวันที่แล้วนำไปเรียกเก็บเงินนั้น เป็นคำให้การที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่าโจทก์คบคิดกับ ช. ฉ้อฉลจำเลยอย่างไร จึงไม่มีประเด็นเรื่องการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ที่จะนำสืบ เมื่อเช็คพิพาทเป็นตราสารที่โอนเปลี่ยนมือกันได้ ช. ผู้ทรงย่อมมีสิทธิโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ทั้งเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้ผู้ถือ เบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ผู้ทรงรับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกเช็คตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คพิพาทซึ่งจำเลยไม่ลงวันสั่งจ่ายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989 จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คขีดคร่อมเฉพาะระบุสั่งจ่าย: สัญญาขายลดและสลักหลังหลังเลิกบริษัทเป็นโมฆะ
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะระบุสั่งจ่ายเงินให้แก่บริษัท ฐ. มิใช่เช็คผู้ถือ ดังนั้นบริษัท ฐ. ซึ่งเป็นผู้ทรง เท่านั้นที่จะทำสัญญาขายลดและสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาขายลดเช็ค เอกสารหมาย จ.3 กระทำขึ้นหลังจากที่บริษัท ฐ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1270 วรรคสอง อันถือได้ว่า บริษัท ฐ. ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว สัญญาขายลดเช็คดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ทั้งการที่ ธ. และ ส. ลงลายมือชื่อสลักหลังและประทับตราบริษัท ฐ. จำกัด ในเช็คพิพาทให้ แก่โจทก์ ก็เป็นการสลักหลังโอนโดยปราศจากอำนาจ ย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้เลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 โจทก์จึงเป็น ผู้ที่ได้รับเช็คพิพาทมาโดยการสลักหลังที่ขาดสาย โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 904, 905 จำเลยทั้งสามในฐานะผู้สั่งจ่ายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การต่อสู้เรื่องการโอนเช็คโดยฉ้อฉลและผลกระทบต่อสิทธิผู้ทรงเช็ค
จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์ได้ร่วมกันกระทำการโดยไม่สุจริต กล่าวคือ จำเลยที่ 2 ได้โอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับและฉบับอื่นให้แก่โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล โดยที่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย คำให้การดังกล่าวเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธที่ไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธว่า คบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้ อย่างไรก็ตามคำให้การที่ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงโดยชอบ เท่ากับจำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้เช็คมานั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คที่ฟ้องในฐานะผู้ทรงเนื่องจากไม่มีมูลหนี้นั่นเอง จำเลยที่ 1 ย่อมกล่าวอ้างและนำสืบได้เพราะเป็นการยกข้อต่อสู้ที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบัน มิใช่ข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อผู้ทรงคนก่อน ๆ อันจะเป็นการขัดต่อมาตรา 916

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องคดีเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ แม้จะใช้บัญชีผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนด แม้โจทก์จะนำเข้าบัญชีมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินและถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงการนำเช็คเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของมารดาแทนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่มารดาโจทก์ โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ การที่โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคารตามเช็ค เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เองเพื่อเรียกเก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้องคดีเช็คแม้จะนำเช็คเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีบุคคลอื่น การนำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างจากฟ้องไม่ถึงขนาดต้องยกฟ้อง
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนด แม้โจทก์จะนำเข้า บัญชีมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินและถูกธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงการนำเช็คเข้าเรียกเก็บเงินโดย อาศัยบัญชีของมารดาแทนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่มารดาโจทก์ โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ การที่โจทก์เป็น ผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคารตามเช็คเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เองเพื่อเรียก เก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็น เพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็น เหตุให้ศาลยกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คที่ถูกลักไป ผู้รับโอนต้องแสดงว่าได้รับโอนมาโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อ
จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้จ.ต่อมาจ.ทำเช็คพิพาทหายไปจึงไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจและจำเลยได้แจ้งอายัดเช็คต่อธนาคารไว้ต่อมาจ.ทราบว่าเช็คพิพาทถูกลักไปและอยู่ที่โจทก์จ.แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์รับว่าจะคืนเช็คให้แต่กลับนำเช็คมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ซึ่งโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมานั้นโจทก์รู้ว่าเป็นเช็คที่ถูกลักมาหรือโจทก์ได้มาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอย่างไรเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่จะต้องสละเช็คพิพาทนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา905วรรคสองและวรรคสามจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คที่ถูกลักไป: สิทธิของผู้ทรงเช็คและการปฏิเสธการจ่ายเงิน
จำเลยให้การเพียงว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ จ.ต่อมาจ.ทำเช็คพิพาทหายไป จึงไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจและจำเลยได้แจ้งอายัดเช็คต่อธนาคารไว้ ต่อมา จ.ทราบว่าเช็คพิพาทถูกลักไปและอยู่ที่โจทก์ จ.แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์รับว่าจะคืนเช็คให้ แต่กลับนำเช็คมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ซึ่งโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมานั้นโจทก์รู้ว่าเป็นเช็คที่ถูกลักมาหรือโจทก์ได้มาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอย่างไร เป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่จะต้องสละเช็คพิพาทนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 905 วรรคสองและวรรคสาม จึงไม่มีเหตุที่จะให้รับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้จะมีการโอนโดยไม่ชอบ หากโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็น
เช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 905 และมาตรา 916 จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 914 ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
of 4