พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อและผู้สลักหลังเช็ค
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า เช็คพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งมีมูลหนี้ต่อกันหรือไม่ และโจทก์ได้เช็คมาไว้ในครอบครองในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินของโจทก์พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ชำระราคาค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้นำเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือไปมอบให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เสนอขายบ้านพร้อมที่ดินของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทนำไปมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าเช็คพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งมีมูลหนี้ต่อกัน และโจทก์ได้รับเช็คดังกล่าวมาไว้ในครอบครองในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประเด็นข้อพิพาทแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ได้กำหนดประเด็นขึ้นมาวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงมิได้เป็นการหยิบยกประเด็นขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทเพราะเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์หรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 2 เช็คพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จึงมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่จริง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทนั้นและถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถูกฟ้องในมูลเช็ค หาอาจต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 2 เช็คพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จึงมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่จริง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทนั้นและถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถูกฟ้องในมูลเช็ค หาอาจต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10595/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คของผู้ถือโดยสุจริต ผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่ผูกพันแม้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้รับโอน
ผู้ทรงเช็คผู้ถือมีสิทธิโอนโดยการส่งมอบเช็คให้แก่โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง และเมื่อเช็คพิพาทตกมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ถือโดยโจทก์อ้างว่ามีผู้นำมาแลกเงินสดจากโจทก์ และจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คมาโดยไม่สุจริต จึงต้องฟังว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 และมีสิทธิที่จะจดวันออกเช็คตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คพิพาทซึ่งจำเลยไม่ได้ลงวันสั่งจ่ายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบ มาตรา 989 วรรคหนึ่ง เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงมิให้นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร และต่อมาได้มีการหักกลบลบหนี้กันระหว่างจำเลยกับ ช. แล้ว จึงไม่มีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทอีกต่อไปแล้วนั้น เป็นการต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับ ช. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ในกรณีที่ ช. หรือผู้ทรงคนถัดไปโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงยกข้อต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงมิให้นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร และต่อมาได้มีการหักกลบลบหนี้กันระหว่างจำเลยกับ ช. แล้ว จึงไม่มีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทอีกต่อไปแล้วนั้น เป็นการต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับ ช. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ในกรณีที่ ช. หรือผู้ทรงคนถัดไปโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงยกข้อต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ การโอนสิทธิ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง และความรับผิดของผู้สลักหลัง
เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 918, 989 โจทก์ผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองถูกฟ้องในมูลหนี้ตามตั๋วเงินคือเช็คไม่อาจต่อสู้ผู้ทรงคือโจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ จ. ผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คให้ จ. โดยไม่มีมูลหนี้ แต่เป็นการค้ำประกันในการเล่นแชร์ระหว่างกัน คำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คกับ จ. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน ฉะนั้นจำเลยจะยกความสัมพันธ์ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คและคบคิดฉ้อฉลกันอย่างไร และในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 การที่ จ. ให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นใช้ยันกับโจทก์ได้ตาม มาตรา 904 และมาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามมาตรา 900 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 ซึ่งการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าแชร์จาก จ. ครบหรือไม่เพียงใดก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ. โดยตรงต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ลงนามสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ เพราะฐานะของจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นประกันหรืออาวัลสำหรับผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบมาตรา 989
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คและคบคิดฉ้อฉลกันอย่างไร และในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 การที่ จ. ให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นใช้ยันกับโจทก์ได้ตาม มาตรา 904 และมาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามมาตรา 900 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 ซึ่งการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าแชร์จาก จ. ครบหรือไม่เพียงใดก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ. โดยตรงต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ลงนามสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ เพราะฐานะของจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นประกันหรืออาวัลสำหรับผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบมาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คโดยสุจริตและการรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็คแม้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ทรง
จำเลยให้การว่า โจทก์และจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ช. เพื่อเป็นหลักประกัน ช. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยโจทก์นำเช็คพิพาทไปลงวันที่แล้วนำไปเรียกเก็บเงินนั้น เป็นคำให้การที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่าโจทก์คบคิดกับ ช. ฉ้อฉลจำเลยอย่างไร จึงไม่มีประเด็นเรื่องการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ที่จะนำสืบ เมื่อเช็คพิพาทเป็นตราสารที่โอนเปลี่ยนมือกันได้ ช. ผู้ทรงย่อมมีสิทธิโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ทั้งเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้ผู้ถือ เบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ผู้ทรงรับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกเช็คตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คพิพาทซึ่งจำเลยไม่ลงวันสั่งจ่ายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989 จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็ค: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแม้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ทรง หากการโอนไม่เกิดจากฉ้อฉล
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คชำระเงินตามเช็คซึ่งเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยผู้ถูกฟ้องในมูลเช็คหาอาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนนั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์และจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยไม่เคยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ ช. เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ แต่ ช. คบคิดกับโจทก์ฉ้อฉลจำเลย โดยโจทก์นำเช็คไปลงวันที่แล้วนำไปเรียกเก็บเงินเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์คบคิดกับ ข. ฉ้อฉลจำเลยอย่างไร เช็คเป็นตราสารที่โอนเปลี่ยนมือกันได้ ช. ซึ่งเป็นผู้ทรงก็ย่อมมีสิทธิโอนเช็คให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ผู้รับโอนเช็คหาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยไม่ ทั้งการโอนก็ทำได้เพียงส่งมอบให้กันเนื่องจากเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ และต้องถือว่าโจทก์รับโอนเช็คมาโดยสุจริตตามมาตรา 5 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงและทำการโดยสุจริตย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกเช็คตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คซึ่งจำเลยมิได้ลงวันสั่งจ่ายได้ ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989 เมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นจะสืบและคดีวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผิดในเช็คพิพาท แม้โอนให้ผู้อื่น หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าไม่มีมูลหนี้
จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทอ้างว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ และผู้โอนเช็คพิพาทกับโจทก์ผู้รับโอนคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามที่อ้าง เมื่อจำเลยนำสืบรับฟังไม่ได้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงคนก่อน การที่ผู้ทรงคนก่อนโอนเช็คพิพาทแก่โจทก์ ทั้งเช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ การโอนเช็คพิพาททำได้เพียงด้วยส่งมอบให้กัน โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ จำเลยไม่มีข้อต่อสู้ที่เกี่ยวกับผู้ทรงคนก่อนที่จะใช้เป็นข้อต่อสู้โจทก์ ทั้งจำเลยจะอ้างว่าโจทก์และผู้ทรงคนก่อนไม่มีหนี้สินต่อกันหาได้ไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
(ปัญหานี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547)
(ปัญหานี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ การโอนเช็คโดยสุจริต และความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 918 เมื่อเช็คพิพาทตกมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ถือ โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คมาโดยไม่สุจริต โจทก์จึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามเช็คได้ จำเลยที่ 2 ไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย หากไม่มีเจตนาฉ้อฉล
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ใช้เงินแก่ บ. หรือผู้ถือ มีผู้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากโจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยหาอาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยให้การเพียงว่าเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ บ. ไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพราะจำเลยได้ชำระเงินตามเช็คนั้นไปแล้ว เป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คกับผู้ทรงคนก่อนเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คโดยการคบคิดกันฉ้อฉลกับผู้ทรงคนก่อนอย่างไร จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 916
จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้อำนาจในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตโดยมิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง
จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้อำนาจในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตโดยมิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การโอนเช็ค, การฉ้อฉล, การสืบพยาน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์การฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ออกเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องคืนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากไม่มีหนี้สินต่อกัน ซึ่งโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้ว จำเลยที่ 3 นำเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ไปฝากไว้กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 กับโจทก์มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง โจทก์ครอบครองเช็คพิพาทแทนจำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 เคยทำหนังสือยอมรับว่าเช็คพิพาท 3 ฉบับ ไม่มี
หนี้สินต่อกันตามสำเนาเอกสารท้ายคำให้การ ตามคำให้การดังกล่าวเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ทำให้มีประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันโอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
ประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นในเรื่องที่โต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกขึ้นต่อสู้ตลอดมาทั้งในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและจำเลยไม่อาจยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นที่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความ และพิพากษาให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาทได้ ทั้งนี้อาศัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
หนี้สินต่อกันตามสำเนาเอกสารท้ายคำให้การ ตามคำให้การดังกล่าวเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ทำให้มีประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันโอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
ประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นในเรื่องที่โต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกขึ้นต่อสู้ตลอดมาทั้งในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและจำเลยไม่อาจยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นที่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความ และพิพากษาให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาทได้ ทั้งนี้อาศัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7617/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินตามเช็คพิพาทต้องมีนิติสัมพันธ์ชัดเจน ศาลยกฟ้องหากโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ 74,000 บาท และสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้กู้ยืม จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยมอบเช็คให้แก่โจทก์ โจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน จึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทได้ ตามคำฟ้องและคำให้การมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้กู้ยืมหรือไม่ ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องโจทก์รับโอนเช็คมาจากผู้อื่นโดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองยกมาตรา 916 มาปรับแล้ววินิจฉัยให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยบทมาตราดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องคำให้การ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142