พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเช็คโดยอ้างว่ามีมูลหนี้จากการพนันและมีการฉ้อฉล ทำให้ต้องมีการสืบพยานเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์จากคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยแล้วยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดีคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24,227 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คที่จำเลยนำมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยออกเช็คให้โจทก์ จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ส.เพื่อชำระหนี้การพนันโดยส.สมคบกับถ.น้องของโจทก์ฉ้อฉลการเล่นการพนันกับจำเลย และส.กับถ.สมคบกับโจทก์นำเช็คทั้งสามฉบับมาฟ้องจำเลยในคดีนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเอาเช็คทั้งสามฉบับอันเกิดจากการพนันมาฟ้องจำเลยได้ เพราะเป็นการออกเช็คที่มิได้เกิดจากหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้ว และเป็นคำให้การที่แสดงให้เห็นว่า โจทก์นำเช็คมาฟ้องจำเลยโดยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 916 คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องนำสืบพยานกันต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานมานั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คขีดคร่อมระบุชื่อผู้รับ สั่งจ่ายเจตนาชำระหนี้ให้ผู้รับโดยตรง ผู้รับเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ
จำเลยสั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมระบุชื่อโจทก์และขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ"ออกถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทโดยมีเจตนาชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้นโจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบตามป.พ.พ.มาตรา904จำเลยให้การว่าโจทก์และบุคคลอื่นได้โอนเช็คโดยการสมคบกันฉ้อฉลจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าสมคบกันฉ้อฉลอย่างไรหรือหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิด ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีการที่ศาลให้ งดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ เว้นแต่โอนด้วยเจตนาฉ้อฉล
เช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989
ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ.โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา914
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ.โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา914
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้จะมีการโอนโดยไม่ชอบ หากโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็น
เช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 905 และมาตรา 916 จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 914 ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5234/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนเช็คพิพาทโดยรู้ถึงข้อพิพาทและคบคิดฉ้อฉลเจ้าของเช็คเดิม ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทมอบให้ ก. ยึดไว้เป็นประกันในการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คของลูกค้าไปขายลดแก่ ก. ก. เบิกเงินตามเช็คของลูกค้าได้แล้วแต่ไม่คืนเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1เพราะ ก. ได้หลบหนีเจ้าหนี้ไป โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2ลูกจ้างของ ก. ไว้โดยไม่มีมูลหนี้และรู้ถึงมูลเหตุที่จำเลยที่ 1มอบเช็คพิพาทให้แก่ ก. ไว้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการรับโอนไว้ด้วยคบคิดกับจำเลยที่ 2 ฉ้อฉลจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้ชำระเงินตามเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกใช้เช็คโดยไม่สุจริต ผู้ทรงเช็คทราบว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ และคบคิดกับผู้สลักหลังเพื่อฟ้องเรียกเงิน
พฤติการณ์แห่งคดีที่ได้จากการนำสืบของโจทก์ที่ว่า น. ภริยาของ ป. ผู้ทรงเช็คเดิมพาจำเลยที่ 1 มาพบโจทก์เพื่อขอกู้เงินจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทสองฉบับแลกเงินสดไปจากโจทก์ ซึ่งขัดกับคำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 1 มอบเช็คให้ผู้มีชื่อมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ อันเป็นข้อพิรุธให้เห็นว่าโจทก์ทราบแล้วว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ ซึ่ง ป. ต้องคืนแก่จำเลยทั้งสอง ประกอบกับคำเบิกความของโจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านที่ว่า โจทก์รู้จักสนิทสนมกับ น. มานาน น.เป็นผู้จัดหาและเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทุกคดีในศาลชั้นต้นที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ดังนี้ฟังได้ว่า โจทก์สมคบกับ น. นำเช็คพิพาท 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยที่ 1ออกให้ ป.เป็นประกันการชำระหนี้ และมูลหนี้ได้ระงับไปแล้วมาฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยไม่สุจริต เป็นการคบคิดกันฉ้อฉล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำเช็คพิพาท 2 ฉบับมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดต่อผู้ทรง แม้จะมีความสัมพันธ์กับผู้รับเช็คก่อนหน้า หากไม่มีหลักฐานการฉ้อฉล
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่บุคคลอื่น ดังนี้แม้จะรับฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยต่อสู้ แต่เมื่อเช็คพิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นผู้ทรงต้องเสียไป จำเลยนำสืบว่าจำเลยกู้เงิน จ. และออกเช็คให้ จ. โดยมีข้อตกลงว่า จ. จะไม่โอนเช็คพิพาทให้แก่ผู้ใดและต่อมาจำเลยชำระหนี้แล้ว จ. ไม่คืนเช็คพิพาทให้ดังนี้ จำเลยจะยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับ จ. ขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คมิได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ผู้ทรงรับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่สุจริต จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนแคชเชียร์เช็คโดยไม่สุจริต คบคิดฉ้อฉล ธนาคารไม่ต้องรับผิด
ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้ออกแคชเชียร์เช็คแก่จำเลยที่ 6โดยเชื่อตามคำหลอกลวงว่าเช็คที่จำเลยที่ 6 นำมาเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่มีจำเลยที่ 6 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 เป็นของลูกค้าชั้นดีสามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่ต่อมาปรากฏว่าเป็นเช็คที่จำเลยที่ 6 สั่งจ่ายและถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ทำให้ไม่มีเงินเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 6 ได้สลักหลังโอนแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์แล้วเลิกกิจการหลบหนีไป ต่อมาโจทก์ได้นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการใช้เงิน เมื่อปรากฏว่ามารดาโจทก์และพี่น้องของภรรยาจำเลยที่ 6 ได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับความไม่สุจริตของจำเลยที่ 6จากเจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ตอนเย็นของวันที่ออกแคชเชียร์เช็คแล้ว เชื่อได้ว่ามารดาโจทก์และน้องสาวโจทก์ต้องรีบแจ้งให้โจทก์ทราบตั้งแต่คืนวันนั้นว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นน้องเขยของโจทก์กำลังมีปัญหากับธนาคารเพราะโจทก์ยังมีเช็คของจำเลยที่ 6จำนวน 60 ฉบับ อยู่ที่ตนที่ยังไม่ได้นำไปเรียกเก็บเงิน จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทราบถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่ 6 ที่ได้แคชเชียร์เช็คมาจากธนาคารจำเลยที่ 1 ตั้งแต่คืนของวันที่ออกแคชเชียร์เช็คแล้วการที่โจทก์รับโอนไว้โดยอ้างว่าเพื่อชำระหนี้ในคืนนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต คบคิดกันฉ้อฉลเพื่อยืมมือโจทก์มาฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989ธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ ผู้ลงลายมือชื่อต้องรับผิด แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องดวงตราและอากรแสตมป์
เมื่อได้ความว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์โดยมีมูลหนี้ระหว่างกันจึงหาต้องคำนึงถึงการรับโอนของผู้ทรงคนต่อมาว่าสุจริตหรือไม่ เพราะจำเลยไม่สามารถยกข้อต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้ทรงคนก่อนได้อยู่แล้ว เช็คพิพาทเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับดวงตราสำคัญแบบใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนการใช้ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย แต่การที่เช็คพิพาทลงลายมือชื่อบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลยหรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผล ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 902 ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดตามเช็ค จำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพียงแต่อ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามเช็ค ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในเช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแม้ผู้รับโอนไม่สุจริต และลายมือชื่อไม่สมบูรณ์ไม่กระทบผู้อื่น
เมื่อได้ความว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์โดยมีมูลหนี้ระหว่างกันจึงหาต้องคำนึงถึงการรับโอนของผู้ทรงคนต่อมาว่าสุจริตหรือไม่ เพราะจำเลยไม่สามารถยกข้อต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้ทรงคนก่อนได้อยู่แล้ว
เช็คพิพาทเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับดวงตราสำคัญแบบใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนการใช้ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย แต่การที่เช็คพิพาทลงลายมือชื่อบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 902 ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพียงแต่อ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามเช็ค ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท
เช็คพิพาทเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับดวงตราสำคัญแบบใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนการใช้ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย แต่การที่เช็คพิพาทลงลายมือชื่อบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 902 ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพียงแต่อ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามเช็ค ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท