พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า DERMATIX/ULTRA มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้มีคำทั่วไป ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรมและเป็นคำไม่มีความหมายหรือคำแปล สาธารณชนที่พบเห็นคำดังกล่าวย่อมไม่อาจเข้าใจได้ว่าเป็นคำที่สื่อความหมายเกี่ยวกับอะไร แม้คำดังกล่าวมีเสียงเรียกขานหรือคำอ่านคล้ายกับคำว่า Dermatic มีความหมายว่า ซึ่งเกี่ยวกับผิวหนัง ทำให้สาธารณชนที่ได้ยินเสียงเรียกขานหรือคำอ่านของคำว่า DERMATIX ที่โจทก์ขอจดทะเบียนอาจเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าเกี่ยวกับผิวหนังก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวประกอบกับรายการสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 796655 สินค้าจำพวก 3 คือ ซิลิโคนสำหรับเสริมสวย สารที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้รักษาผิวหนังที่เสียหาย แผลเป็น และแผล ที่ไม่มีส่วนผสมของยาแล้ว เห็นได้ว่า คำว่า DERMATIX ซึ่งมีเสียงเรียกขานหรือคำอ่านที่สื่อความหมายว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าเกี่ยวกับผิวหนังนั้น มีลักษณะเป็นเพียงคำหรือเครื่องหมายเชิงแนะนำ (Suggestive Mark) ที่ชี้ชวนหรือแนะนำให้ทราบเป็นเบื้องต้นว่าเป็นสินค้าที่ใช้เกี่ยวกับผิวหนังเท่านั้น โดยไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงว่าเป็นซิลิโคนสำหรับเสริมสวย สารที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้รักษาผิวหนังที่เสียหาย แผลเป็น และแผล ที่ไม่มีส่วนผสมของยา และเนื่องจากสิ่งที่ใช้เกี่ยวกับผิวหนังมีได้หลายประเภท สาธารณชนโดยทั่วไปเมื่อเห็นหรือได้ยินเสียงเรียกขานหรือคำอ่านของคำหรือเครื่องหมายดังกล่าวยังไม่อาจทราบได้โดยทันทีว่าสินค้าของโจทก์มีลักษณะอย่างไรหรือคุณสมบัติของสินค้าเป็นอย่างไร คงทราบได้แต่เพียงว่าเป็นสินค้าเกี่ยวกับผิวหนัง โดยจะต้องคิด จินตนาการ สืบหาต่อไป หรือเห็นตัวสินค้าที่คำหรือเครื่องหมายนั้นติดอยู่จึงจะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ ดังนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ของโจทก์จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม)
ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ตามคำขอเลขที่ 796657 ซึ่งโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า ยาที่ใช้ในการรักษารอยแผลเป็นนั้น ภาคส่วนคำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง โดยมีเหตุผลทำนองเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ตามคำขอเลขที่ 796655 ที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เนื่องจากรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะอย่างเดียวกัน ส่วนภาคส่วนคำว่า ULTRA แม้เป็นคำซึ่งมีความหมายว่า เกิน อย่างรุนแรง ที่สุด หรือดีเยี่ยม และโดยตัวมันเองถือได้ว่าเป็นคำสามัญที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยทั่วไป อันเป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับภาคส่วนคำว่า DERMATIX โดยภาพรวมแล้ว เห็นได้ว่า คำว่า ULTRA เป็นภาคส่วนประกอบที่ขยายความภาคส่วนคำว่า DERMATIX ซึ่งเป็นภาคส่วนสาระสำคัญ แต่โดยที่คำว่า DERMATIX นั้นเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า ที่ขอจดทะเบียนดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เมื่อพิจารณารวมกันแล้วเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าใดโดยตรง เพราะสาธารณชนไม่อาจทราบได้โดยทันทีว่าเป็นสินค้าประเภทยาที่ใช้รักษารอยแผลเป็น และคำว่า ULTRA ไม่อาจทำให้ทราบได้ว่าสินค้าที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยมนั้นคืออะไร เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม) แต่เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ภาคส่วนคำว่า ULTRA เป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะดังกล่าวข้างต้น ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจมีคำสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้านั้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1) ดังนั้น ในการขอจดทะเบียนการเครื่องหมายการค้านี้จึงให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำดังกล่าวด้วย
ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ตามคำขอเลขที่ 796657 ซึ่งโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า ยาที่ใช้ในการรักษารอยแผลเป็นนั้น ภาคส่วนคำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง โดยมีเหตุผลทำนองเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ตามคำขอเลขที่ 796655 ที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เนื่องจากรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะอย่างเดียวกัน ส่วนภาคส่วนคำว่า ULTRA แม้เป็นคำซึ่งมีความหมายว่า เกิน อย่างรุนแรง ที่สุด หรือดีเยี่ยม และโดยตัวมันเองถือได้ว่าเป็นคำสามัญที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยทั่วไป อันเป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับภาคส่วนคำว่า DERMATIX โดยภาพรวมแล้ว เห็นได้ว่า คำว่า ULTRA เป็นภาคส่วนประกอบที่ขยายความภาคส่วนคำว่า DERMATIX ซึ่งเป็นภาคส่วนสาระสำคัญ แต่โดยที่คำว่า DERMATIX นั้นเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า ที่ขอจดทะเบียนดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เมื่อพิจารณารวมกันแล้วเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าใดโดยตรง เพราะสาธารณชนไม่อาจทราบได้โดยทันทีว่าเป็นสินค้าประเภทยาที่ใช้รักษารอยแผลเป็น และคำว่า ULTRA ไม่อาจทำให้ทราบได้ว่าสินค้าที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยมนั้นคืออะไร เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม) แต่เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ภาคส่วนคำว่า ULTRA เป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะดังกล่าวข้างต้น ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจมีคำสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้านั้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1) ดังนั้น ในการขอจดทะเบียนการเครื่องหมายการค้านี้จึงให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8542/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมด ไม่แยกพิจารณาเฉพาะส่วน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีความเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ประกอบกับเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็เป็นตัวอักษรหลายตัวประกอบกันเป็นคำ จึงต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมทั้งลักษณะของคำ ตัวอักษร และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้า
เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ปรากฏว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า POWER และ DEKOR คำทั้งสองเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่จำนวน 10 ตัว P, O, W, E, R, D, E, K, O และ R ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า และ คำทั้งสองเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คือ E, U, R, O, D, E, K, O และ R คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร 5 ตัว ได้แก่ P, O, W, E และ R ส่วนคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีอักษร 4 ตัว ได้แก่ E, U, R และ O เห็นได้ว่าคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คงมีแต่คำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองที่มีอักษร 5 ตัว ซึ่งเหมือนกันทั้งห้าตัว ได้แก่ D, E, K, O และ R และแม้ว่าตัวอักษรทั้งหมดของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เหมือนกันก็ตาม แต่แบบของตัวอักษร (font) เป็นคนละแบบกัน ทั้งเครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์ยังใช้เส้นตัวอักษรสีดำมีลักษณะบางกว่าเครื่องหมายการค้า ซึ่งใช้เส้นตัวอักษรสีดำทึบและเข้มกว่า เห็นได้ว่า ลักษณะแบบและขนาดเส้นของตัวอักษรของเครื่องหมายการค้าทั้งสองไม่เหมือนกัน
ในการพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต้องพิจารณาในภาพรวมที่ปรากฏทั้งเครื่องหมาย เมื่อปรากฏว่า คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกและคำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็เป็นตัวอักษรขนาดเดียวกันหลายตัวเรียงติดต่อเป็นแถวอยู่ในระนาบเดียวกัน การเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าทั้งสองในภาพรวมจึงไม่อาจแยกภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งออกไปโดยไม่นำมารวมพิจารณาในการเปรียบเทียบได้และการที่โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วต่างได้แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของตนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1) นั้น ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่มีสิทธิใช้คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของตนได้โดยลำพังแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้เท่านั้น หามีผลทำให้คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต้องถูกแยกออกไปไม่นำมารวมพิจารณาหรือกลายเป็นคำที่มีน้ำหนักในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายกันหรือไม่น้อยกว่าคำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง ดังนี้ การเปรียบเทียบว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่จึงต้องพิจารณาในภาพรวมที่มีคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกและคำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองประกอบกันทั้งหมด เมื่อปรากฏว่า คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือ คำว่า POWER แตกต่างกับคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว คือ คำว่า อย่างชัดเจน แม้คำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นคำคำเดียวกัน คือ คำว่า DEKOR แต่คำว่า DEKOR หมายถึง DECORATION ที่ผู้ประกอบการจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกที่ 19 นิยมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแยกวินิจฉัยเพียงว่าเครื่องหมายของโจทก์คำว่า DEKOR เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วคำว่า DEKOR จึงไม่ชอบด้วยหลักการพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่จะต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมด เมื่อพิจารณาภาพรวมทั้งหมดซึ่งมีคำอันเป็นภาคส่วนแรกและภาคส่วนที่สองประกอบกันแล้วก็เห็นได้ว่า ลักษณะอักษรของเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีความแตกต่างกัน และในการเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองต้องอ่านออกเสียงทุกคำ โดยไม่อาจเรียกขานโดยอ่านออกเสียงเฉพาะคำว่า DEKOR ซึ่งเป็นคำอันเป็นภาคส่วนที่สองที่โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่จดทะเบียนได้แล้วมิได้แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกขานได้ว่า พาวเวอร์เดคคอร์ โดยไม่อาจเรียกขานว่า เดคคอร์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเรียกขานได้ว่า ยูโรเดคคอร์ โดยไม่อาจเรียกขานว่า เดคคอร์ เช่นกัน ดังนี้ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมทั้งลักษณะของคำ ตัวอักษร และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เห็นว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกัน แม้จะได้ความว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 19 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างอันมีลักษณะอย่างเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อองค์ประกอบโดยรวมของเครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าจึงเป็นไปได้ยาก เครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13
เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ปรากฏว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า POWER และ DEKOR คำทั้งสองเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่จำนวน 10 ตัว P, O, W, E, R, D, E, K, O และ R ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า และ คำทั้งสองเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คือ E, U, R, O, D, E, K, O และ R คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร 5 ตัว ได้แก่ P, O, W, E และ R ส่วนคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีอักษร 4 ตัว ได้แก่ E, U, R และ O เห็นได้ว่าคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คงมีแต่คำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองที่มีอักษร 5 ตัว ซึ่งเหมือนกันทั้งห้าตัว ได้แก่ D, E, K, O และ R และแม้ว่าตัวอักษรทั้งหมดของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เหมือนกันก็ตาม แต่แบบของตัวอักษร (font) เป็นคนละแบบกัน ทั้งเครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์ยังใช้เส้นตัวอักษรสีดำมีลักษณะบางกว่าเครื่องหมายการค้า ซึ่งใช้เส้นตัวอักษรสีดำทึบและเข้มกว่า เห็นได้ว่า ลักษณะแบบและขนาดเส้นของตัวอักษรของเครื่องหมายการค้าทั้งสองไม่เหมือนกัน
ในการพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต้องพิจารณาในภาพรวมที่ปรากฏทั้งเครื่องหมาย เมื่อปรากฏว่า คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกและคำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็เป็นตัวอักษรขนาดเดียวกันหลายตัวเรียงติดต่อเป็นแถวอยู่ในระนาบเดียวกัน การเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าทั้งสองในภาพรวมจึงไม่อาจแยกภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งออกไปโดยไม่นำมารวมพิจารณาในการเปรียบเทียบได้และการที่โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วต่างได้แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของตนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1) นั้น ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่มีสิทธิใช้คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของตนได้โดยลำพังแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้เท่านั้น หามีผลทำให้คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต้องถูกแยกออกไปไม่นำมารวมพิจารณาหรือกลายเป็นคำที่มีน้ำหนักในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายกันหรือไม่น้อยกว่าคำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง ดังนี้ การเปรียบเทียบว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่จึงต้องพิจารณาในภาพรวมที่มีคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกและคำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองประกอบกันทั้งหมด เมื่อปรากฏว่า คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือ คำว่า POWER แตกต่างกับคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว คือ คำว่า อย่างชัดเจน แม้คำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นคำคำเดียวกัน คือ คำว่า DEKOR แต่คำว่า DEKOR หมายถึง DECORATION ที่ผู้ประกอบการจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกที่ 19 นิยมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแยกวินิจฉัยเพียงว่าเครื่องหมายของโจทก์คำว่า DEKOR เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วคำว่า DEKOR จึงไม่ชอบด้วยหลักการพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่จะต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมด เมื่อพิจารณาภาพรวมทั้งหมดซึ่งมีคำอันเป็นภาคส่วนแรกและภาคส่วนที่สองประกอบกันแล้วก็เห็นได้ว่า ลักษณะอักษรของเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีความแตกต่างกัน และในการเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองต้องอ่านออกเสียงทุกคำ โดยไม่อาจเรียกขานโดยอ่านออกเสียงเฉพาะคำว่า DEKOR ซึ่งเป็นคำอันเป็นภาคส่วนที่สองที่โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่จดทะเบียนได้แล้วมิได้แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกขานได้ว่า พาวเวอร์เดคคอร์ โดยไม่อาจเรียกขานว่า เดคคอร์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเรียกขานได้ว่า ยูโรเดคคอร์ โดยไม่อาจเรียกขานว่า เดคคอร์ เช่นกัน ดังนี้ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมทั้งลักษณะของคำ ตัวอักษร และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เห็นว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกัน แม้จะได้ความว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 19 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างอันมีลักษณะอย่างเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อองค์ประกอบโดยรวมของเครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าจึงเป็นไปได้ยาก เครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14583/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'COKE ZERO' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้คำว่า 'ZERO' ไม่ได้ระบุคุณสมบัติสินค้าโดยตรง ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า ที่โจทก์ขอจดทะเบียนนั้นเป็นคำที่ใช้ประกอบกัน โดยในส่วนคำว่า COKE และ โค้ก มีลักษณะบ่งเฉพาะที่โจทก์ใช้มานานจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายอยู่แล้ว ส่วนคำว่า ZERO แม้จะมีความหมายว่า ศูนย์ หรือไม่มีค่า และคำว่า ซีโร่ เป็นคำที่เลียนมาจากคำว่า ZERO ดังกล่าวทำให้มีความหมายเช่นเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อนำคำว่า ZERO และ ซีโร่ มาใช้ประกอบคำว่า COKE และ โค้ก ลักษณะการใช้และความหมายคำดังกล่าวยังไม่ถึงกับทำให้มีความหมายโดยตรงว่าเป็นเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล ส่วนการที่โจทก์อาจโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้านี้ไม่มีส่วนผสมน้ำตาล ก็เป็นเพียงการโฆษณาสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบถึงลักษณะของสินค้าเครื่องดื่มของโจทก์ต่างหากจากความหมายของคำดังกล่าว คำว่า ZERO และ ซีโร่ เป็นเพียงคำหรือถ้อยคำที่อาจเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าก็ด้วยการเทียบเคียงและโฆษณาประกอบ ไม่ถึงขนาดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวก 32 ที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้โดยตรง จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) และไม่จำต้องให้โจทก์แสดงการปฏิเสธไม่ขอถือคำว่า ZERO และ ซีโร่ เป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวหรือปฏิเสธอย่างอื่นตามมาตรา 17 (1) และ (2) เพราะนอกจากเครื่องหมายของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะทุกส่วนแล้ว คำว่า ZERO และ ซีโร่ ดังกล่าวนี้ บุคคลอื่นก็อาจนำไปใช้หรือประกอบคำอื่นในเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ตราบเท่าที่ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่พึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 ประการอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนของคำทั่วไป: อำนาจของนายทะเบียนในการสั่งให้สละสิทธิบางส่วน
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 17 (1) ให้อำนาจนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าในอันที่จะสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แต่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นมีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายส่วนมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ แสดงปฏิเสธว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้ารายนั้น คำว่า "มหาชัย" เป็นชื่อตำบลหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาคร อันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนั้น การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของ ย. โดยให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำว่า "มหาชัย" จึงหาขัดต่อกฎหมายอย่างใดไม่