คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การแก้ฟ้อง, และการรับรองนิติบุคคล: ข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกาและการเปลี่ยนแปลงผู้รับมอบอำนาจ
ประเด็นที่ว่า โจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลและใบมอบอำนาจไม่ปิดอากรแสตมป์ จำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ได้กล่าวรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคล จำเลยเถียงข้อนี้ไม่ขึ้น
สำเนาใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีมิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือคู่ฉีก ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนเดิมพ้นหน้าที่ไป ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์อีกคนหนึ่งดำเนินกิจการแทนโจทก์ ทนายความผู้รับแต่งตั้งจากผู้รับมอบอำนาจคนเดิมทำคำร้องขอแก้ฟ้อง โดยขอเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจเสียใหม่ถือว่าโจทก์ได้ดำเนินการตั้งแต่งทนายความฟ้องคดีโดยถูกต้องสมบูรณ์มาแต่แรก ทนายความของโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดไปจนกว่าจะถูกสั่งถอน การพ้นหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจคนเดิมไม่ทำให้ทนายความหมดอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ การแก้ฟ้องของโจทก์มีผลเพียงเพื่อให้ทราบว่าบัดนี้โจทก์ได้เปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจดำเนินกิจการหรือดำเนินคดีในนามของโจทก์ในกาลต่อไปเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจคนใหม่เข้าดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในนามของบริษัทโจทก์สืบแทนต่อไปมิใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การแก้ฟ้อง, นิติบุคคล, ใบมอบอำนาจ, การดำเนินคดีแทน
ประเด็นที่ว่า โจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลและใบมอบอำนาจไม่ปิดอากรแสตมป์ จำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ได้กล่าวรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคล จำเลยเถียงข้อนี้ไม่ขึ้น
สำเนาใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีมิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือคู่ฉีก ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนเดิมพ้นหน้าที่ไป ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์อีกคนหนึ่งดำเนินกิจการแทนโจทก์ ทนายความผู้รับแต่งตั้งจากผู้รับมอบอำนาจคนเดิมทำคำร้องขอแก้ฟ้องโดยขอเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจเสียใหม่ ถือว่าโจทก์ได้ดำเนินการตั้งแต่งทนายความฟ้องคดีโดยถูกต้องสมบูรณ์มาแต่แรก ทนายความของโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดไปจนกว่าจะถูกสั่งถอน การพ้นหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจคนเดิมไม่ทำให้ทนายความหมดอำนาจ ดำเนินคดีแทนโจทก์ การแก้ฟ้องของโจทก์มีผลเพียงเพื่อให้ทราบว่าบัดนี้โจทก์ได้เปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจดำเนินกิจการหรือดำเนินคดีในนามของโจทก์ในกาลต่อไปเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจคนใหม่ เข้าดำเนินกระบวพิจารณาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในนามของบริษัทโจทก์สืบแทนต่อไป มิใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยจำเลยเป็นผู้เยาว์ ศาลมีอำนาจแยกคดีเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ในคำฟ้องช่องจำเลย โจทก์เขียนว่า นายจรินทร์ จันทรศิลปิน ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองเด็กหญิงนวลจันทรก์ จันทรศิลปิน ผู้เยาว์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ฟ้องเด็กหญิงนวลจันทร์โดยนายจรินทร์เป็นผู้ปกครองด้วย
เมื่อจำเลยผู้หนึ่งเป็นผู้เยาว์และศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนพิพากษาคดีไปแล้ว โดยมิได้สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้แยกคดีที่จำเลยเป็นผู้เยาว์ออกเป็นคดีหนึ่งต่างหาก และให้ดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 56 แล้วพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีกับผู้เยาว์โดยไม่มีผู้แทนตามกฎหมาย: ศาลมีอำนาจแยกคดีเพื่อให้การพิจารณาถูกต้อง
ในคำฟ้องช่องจำเลย โจทก์เขียนว่านายจรินทร์จันทรศิลปินในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองเด็กหญิงนวลจันทร์จันทรศิลปิน ผู้เยาว์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ฟ้องเด็กหญิงนวลจันทร์โดยนายจรินทร์เป็นผู้ปกครองด้วย
เมื่อจำเลยผู้หนึ่งเป็นผู้เยาว์และศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนพิพากษาคดีไปแล้ว โดยมิได้สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้แยกคดีที่จำเลยเป็นผู้เยาว์ออกเป็นคดีหนึ่งต่างหาก และให้ดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกา, อายุความละเมิด, ความสามารถในการฟ้อง, และความรับผิดกรรมการสหกรณ์
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกา จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ มิฉะนั้นจะเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึงนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฯลฯผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องผู้ละเมิดภายใน 1 ปีนับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านการที่โจทก์ไม่มีหนังสืออนุญาตของสามีให้โจทก์ฟ้องคดีมาแสดงในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่มีหนังสืออนุญาตดังกล่าวมาอุทธรณ์ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์มิได้ และจำเลยก็จะยกข้อบกพร่องของโจทก์เช่นนี้ขึ้นมาเป็นเหตุขอให้ยกฟ้องหาได้ไม่ นอกจากจะร้องขอให้ศาลสอบสวนและมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้บริบูรณ์เท่านั้น
ในชั้นพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีได้ยื่นหนังสืออนุญาตของสามีโจทก์ต่อศาล ศาลรับไว้ถือว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่ได้
กรรมการสหกรณ์ลงมติให้กระทำการนอกขอบวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ กรรมการก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของกรรมการสหกรณ์ที่ลงมติกระทำการนอกขอบวัตถุประสงค์ และประเด็นข้อจำกัดในการอ้างเหตุข้อบกพร่องของโจทก์ในชั้นฎีกา
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกา จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ มิฉะนั้นจะเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฯลฯ ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องผู้ทำละเมิดภายใน 1 ปีนับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านการที่โจทก์ไม่มีหนังสืออนุญาตของสามีให้โจทก์ฟ้องคดีมาแสดงในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่มีหนังสืออนุญาตดังกล่าวมาอุทธรณ์ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์มิได้ และจำเลยก็จะยกข้อบกพร่องของโจทก์เช่นนี้ขึ้นมาเป็นเหตุขอให้ยกฟ้องหาได้ไม่ นอกจากจะร้องขอให้ศาลสอบสวนและมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้บริบูรณ์เท่านั้น
ในชั้นพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีได้ยื่นหนังสืออนุญาตของสามีโจทก์ต่อศาล ศาลรับไว้ถือว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์แล้วจำเลยจะอ้างว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่ได้
กรรมการสหกรณ์ลงมติให้กระทำการนอกขอบวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ กรรมการก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีของผู้เยาว์: การแก้ไขความบกพร่องด้านความสามารถตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตดำเนินคดีด้วยตนเองเพราะไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อศาลได้พิจารณาพฤติการณ์ต่างๆ โดยตลอดแล้ว เห็นว่าโจทก์สามารถดำเนินคดีโดยตนเองได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีได้ตามที่ต้องการ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายนั้น ต้องถือว่าความบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ได้บริบูรณ์แล้ว โจทก์มีอำนาจดำเนินโดยตนเองได้ และคำสั่งของศาลนี้มิใช่กรณีให้โจทก์ดำเนินคดีต่อไปก่อนชั่วคราวในระหว่างแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตามความในมาตรา 56 วรรคสาม ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กในการจัดการทรัพย์สินมรดก
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิของตนเอง แต่เป็นการใช้สิทธิของผู้เยาว์ เพราะผู้เยาว์ใช้สิทธิด้วยตนเองยังไม่ได้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงใช้สิทธินั้นด้วยอำนาจกฎหมาย โดยมิต้องให้ผู้เยาว์มอบอำนาจดังเช่นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะเมื่อผู้เยาว์ไม่มีสิทธิฟ้องบุพพการี โดยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้แทนโดยชอบธรรม: สิทธิของบุตรผู้เยาว์และการห้ามฟ้องบุพพการี
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้น ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิของตนเอง แต่เป็นการใช้สิทธิของผู้เยาว์ เพราะผู้เยาว์ใช้สิทธิด้วยตนเองยังไม่ได้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงใช้สิทธินั้นแทนด้วยอำนาจกฎหมาย โดยมิต้องให้ผู้เยาว์มอบอำนาจดังเช่นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะ เมื่อผู้เยาว์ไม่มีสิทธิฟ้องบุพพการี โดยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 แล้ว ผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าปลงศพของผู้ไม่ใช่ทายาท และอำนาจฟ้องแทนบุตรนอกสมรส
บุตรที่เกิดแต่บิดามารดาซึ่งมิได้สมรสกันโดยจดทะเบียนให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา บิดาจะอ้างว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1543 มิได้
มาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่องสิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว หาได้บัญญัติให้บุตรนอกกฎหมายมีความสัมพันธ์กับบิดาจนถึงกับให้บิดาใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมายครอบครัวด้วยไม่
การเรียกค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 รวมทั้งค่าปลงศพนั้น หมายความเฉพาะแต่ผู้ที่เป็นทายาทจะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่ทำให้เจ้ามรดกตาย เพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแต่เจ้ามรดกตกทอดมายังผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับมาตรา 1649 เท่านั้น
of 20