คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลในการงดสืบพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญ
จำเลยเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายเรียกพยานปากอ.และ น.กรรมการของโจทก์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยแถลงศาลก่อนว่าพยานที่ขอออกหมายเรียกที่ประสงค์จะนำสืบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีอย่างไรแล้วจะพิจารณาสั่งต่อไป แต่จำเลยก็ไม่ได้แถลงถึงเหตุที่ต้องขอหมายเรียกพยานดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทราบ จนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก อ.และ น.มาเป็นพยานจำเลย และจำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยกำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบตามนัด เนื่องจากศาลเลื่อนคดีไปเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 เดือน หากในวันนัดไม่สามารถนำพยานอื่นมาสืบได้ก็ให้นำตัวจำเลยเข้าสืบก่อน แต่ครั้นถึงกำหนด จำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างเหตุว่าประสงค์จะนำ อ.เข้าสืบเป็นพยานจำเลยปากแรกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เกิดเหตุขัดข้องในด้านธุรการศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถนำหมายเรียกพยานบุคคลดังกล่าวมาให้ทนายจำเลยได้ และไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาล พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 27ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ.ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ.มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และ มาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการใช้ดุลพินิจศาลในการงดสืบพยาน กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและไม่มีเหตุจำเป็นในการขอเลื่อนคดี
จำเลยเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายเรียกพยานปาก อ. และ น. กรรมการของโจทก์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยแถลงศาลก่อนว่า พยานที่ขอออกหมายเรียกที่ประสงค์จะนำสืบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีอย่างไรแล้วจะพิจารณาสั่งต่อไป แต่จำเลยก็ไม่ได้แถลงถึงเหตุที่ต้องขอหมายเรียกพยานดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทราบ จนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก อ. และ น. มาเป็นพยานจำเลย และจำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยกำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบตามนัด เนื่องจากศาลเลื่อนคดีไปเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 เดือน หากในวันนัดไม่สามารถนำพยานอื่นมาสืบได้ก็ให้นำตัวจำเลยเข้าสืบก่อน แต่ครั้นถึงกำหนดจำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างเหตุว่าประสงค์จะนำ อ. เข้าสืบเป็นพยานจำเลยปากแรกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เกิดเหตุขัดข้องในด้านธุรการศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถนำหมายเรียกพยานบุคคลดังกล่าวมาให้ทนายจำเลยได้ และไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาล พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลย โดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ. ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ. มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7166/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางอากาศ: การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะและสกุลเงินชดใช้
โจทก์ที่ 5 บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการเรียกค่าขาดไร้อุปการะว่าโจทก์ที่ 5 กับนายโท. เป็นสามีภริยากันและมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือเด็กชาย อ. และเด็กชาย ม. บุตรทั้งสองกำลังศึกษาอยู่ โจทก์ที่ 5 และบุตรทั้งสองต้องอาศัยรายได้จากนายโท. เป็นเงินเลี้ยงชีพและค่าใช้จ่ายในการศึกษา รวมทั้งค่าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เช่นนี้ แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าใช้สิทธิฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสองด้วยก็ตาม แต่ก็มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ที่ 5 ฟ้องคดีขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของบุตรทั้งสองด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 5 ฟ้องคดีในนามของบุตรทั้งสองโดยปริยายแล้ว
เมื่อนักบินผู้ควบคุมเครื่องบินเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 และความเสียหายเกิดจากเครื่องบินซึ่งเป็นยานพาหนะที่เดินด้วยเครื่องจักรกล กรณีจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้นเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเอง และจำเลยที่ 2ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในวินาศภัยอันเกิดจากเที่ยวบินดังกล่าว
ค่าใช้จ่ายในอนาคตที่บุตรทั้งสองของโจทก์ที่ 5 ต้องเดินทางไปเคารพศพนายโท. ในสถานที่เกิดเหตุเป็นเวลา 10 ปี ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคหนึ่ง ส่วนค่าเสียหายอันเนื่องมาจากลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จงใจละเมิดกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานแห่งความปลอดภัย ก็มิใช่ค่าสินไหมทดแทนที่จะเรียกร้องเอากับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
แม้โจทก์ที่ 5 จะมีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินสกุลมาร์กเยอรมันโดยคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่จำเลยทั้งสองชำระเสร็จศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 5 เป็นเงินสกุลบาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องทำให้ฟ้องเสีย มิอาจแก้ไขให้สมบูรณ์ได้
ธ. ลงชื่อมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ขัดต่อข้อบังคับของโจทก์เรื่องจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ เป็นกรณีโจทก์ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ ความประสงค์ของโจทก์จึงไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 70 วรรคสอง
เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามาก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม การจัดสรรที่ดิน และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งกีดขวาง
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป.และ ย.ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลง แล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป.และ ย.จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตามข้อ 1ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และข้อ 32 ส่วนการที่ ป.และ ย.จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจาก ป.และ ย. จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภาระจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภาระจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมจากการจัดสรรที่ดินและการมีอำนาจฟ้องของผู้เยาว์
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป. และ ย. ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลงแล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป. และ ย. จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออก อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ตามข้อ 1 ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่งและข้อ 32 ส่วนการที่ ป. และ ย. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาท จึงเป็นทางภารจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากป.และย.จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภารจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภารจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7195/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและขอบเขตการฎีกาในคดีละเมิดที่เกี่ยวข้องกับผู้เยาว์และทุนทรัพย์ที่พิพาท
คดีละเมิดมิใช่คดีครอบครัวที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11(3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 ดังนั้น เมื่อมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับเรื่องความสามารถของโจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่อง โดยตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายโดยไม่จำเป็นต้องขออำนาจในการดำเนินคดีจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดแม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาที่ว่า การที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 จำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งแปดเพราะจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ให้เช่ารถสามล้อเครื่องและจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของรถสามล้อเครื่อง ไม่ใช่นายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 และไม่ได้รับผลประโยชน์ใด ๆ จากรถสามล้อเครื่อง ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้สูงเกินไปนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิด - ค่าเสียหายต่อเนื่อง - ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด
โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงที่มาของค่าเสียหายว่าเป็นค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ส.โรงพยาบาล ห. และที่บ้านเป็นเงินรวม 100,000 บาทเป็นการบรรยายในรายละเอียดแล้ว ส่วนหลักฐานใบเสร็จรับเงินโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ในส่วนเรียกค่าเสียหายไม่เคลือบคลุม
ว.และจำเลยที่ 1 ต่างทำหน้าที่ในสวนสาธารณะของจำเลยที่ 3การเสียบปลั๊กและปล่อยกระแสไฟฟ้าก็เพื่อป้องกันหนูมิให้กัดทำลายต้นกล้าไม้ในสวนอันเป็นของจำเลยที่ 3 ย่อมเป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เป็นงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3
จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ และจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยพลการ จำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อนี้ จึงเป็นฎีกานอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส. บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทนเด็กชาย ส. มิได้เป็นโจทก์ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 3 จะอ้างเอาการกระทำของ ส.มาเป็นข้ออ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 หาได้ไม่
เด็กชาย ส.ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายถึงสมองฝ่อเป็นอัมพาตตลอดชีวิต พูดไม่ได้ ย่อมจะต้องได้รับการดูแลรักษาในสภาพที่ป่วยเจ็บจนกว่าจะถึงแก่ความตาย ค่าดูแลรักษาที่จะต้องใช้จ่ายต่อไปจึงมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดให้เสียหายแก่ร่างกายในอนาคตนั่นเอง และเด็กชาย ส.ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากไฟฟ้าดูดในสวนสาธารณะ และการคำนวณค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกายถาวร
โจทก์ได้รับบรรยายฟ้องถึงที่มาของค่าเสียหายว่าเป็นค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ส. โรงพยาบาล ห. และที่บ้านเป็นเงินรวม100,000บาทเป็นการบรรยายในรายละเอียดแล้วส่วนหลักฐานใบเสร็จรับเงินโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์ในส่วนเรียกค่าเสียหายไม่เคลือบคลุม ว. และจำเลยที่1ต่างทำหน้าที่ในสวนสาธารณะของจำเลยที่3การเสียบปลั๊กและปล่อยกระแสไฟฟ้าก็เพื่อป้องกันหนูมิให้กัดทำลายต้นกล้าไม้ในสวนอันเป็นของจำเลยที่3ย่อมเป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่3เป็นงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่3 จำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่าจำเลยที่1มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อและจำเลยที่2กระทำไปโดยพลการจำเลยที่3ฎีกาในข้อนี้จึงเป็นฎีกานอกคำให้การศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส. บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทนเด็กชาย ส. มิได้เป็นโจทก์ในฐานะส่วนตัวจำเลยที่3จะอ้างเอาการกระทำของ ส.มาเป็นข้ออ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา442ประกอบด้วยมาตรา223หาได้ไม่ เด็กชาย ส. ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายถึงสมองฝ่อเป็นอัมพาตตลอดชีวิตพูดไม่ได้ย่อมจะต้องได้รับการดูแลรักษาในสภาพที่ป่วยเจ็บจนกว่าจะถึงแก่ความตายค่าดูแลรักษาที่จะต้องใช้จ่ายต่อไปจึงมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดให้เสียหายแก่ร่างกายในอนาคตนั่นเองและเด็กชาย ส.ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา444วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นข้อบกพร่องด้านความสามารถในการฟ้อง
โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับสามีโจทก์จึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมและพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็น สินสมรส เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนการที่โจทก์ ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีความบกพร่องในเรื่อง ความสามารถ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56กรณีจึงต้องทำการแก้ไขบกพร่องเสียก่อน
of 20