พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากไม่ได้รับความยินยอมถือว่าขาดความสามารถในการฟ้อง
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี2525เป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา99เดิมเมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ซึ่งมาตรา7บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯและไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ดังนั้นสามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477มาตรา1468การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนหากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลโจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1475 โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56วรรคสองก่อนแต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จจึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นข้อบกพร่องด้านความสามารถในการฟ้อง
โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับสามีโจทก์จึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมและพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็น สินสมรส เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนการที่โจทก์ ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีความบกพร่องในเรื่อง ความสามารถ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56กรณีจึงต้องทำการแก้ไขบกพร่องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: ครอบครองปรปักษ์, การซื้อขายที่ดิน, และความสุจริตของผู้ซื้อ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไข ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 ใช้บังคับซึ่งมาตรา 1476 ประกอบด้วยมาตรา 1477 ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่า สำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ พ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลัง จึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถ ซึ่ง พ. ก็รู้เห็นตลอดมา แต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใด กลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่า ที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็ก ๆ ปลูกอยู่ ซึ่ง พ. บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร อาศัย พ. อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจาก พ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใด การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง 770,000 บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้าน พ. เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ พ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลัง จึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถ ซึ่ง พ. ก็รู้เห็นตลอดมา แต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใด กลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่า ที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็ก ๆ ปลูกอยู่ ซึ่ง พ. บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร อาศัย พ. อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจาก พ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใด การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง 770,000 บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้าน พ. เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผลของการซื้อขายที่ตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ได้แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไขก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่10)พ.ศ.2533ใช้บังคับซึ่งมาตรา1476ประกอบด้วยมาตรา1477ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่าสำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิได้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้วโจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่ การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับพ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลังจึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขายเมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากพ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถซึ่งพ. ก็รู้เห็นตลอดมาแต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใดกลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่าที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็กๆปลูกอยู่ซึ่งพง บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไปแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากพ.ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไรอาศัยพ.อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจากพ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใดการที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง770,000บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้านพ.เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่งถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตจำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้แทนโดยชอบธรรม และความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค1ก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุฐานะของ ส. ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะมารดาผู้ปกครองผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด. และ ช. ผู้เยาว์แสดงชัดแจ้งว่า ส. ฟ้องจำเลยในสองฐานะคือฟ้องในฐานะส่วนตัวกับฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองในฐานะที่เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมจึงเป็นคำฟ้องของผู้เยาว์ทั้งสองโดย ส. ผู้เป็นมารดาฟ้องแทนอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้เยาว์มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุฐานะของ ส. ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะมารดาผู้ปกครองผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.และ ช.ผู้เยาว์ แสดงชัดแจ้งว่าส.ฟ้องจำเลยในสองฐานะคือฟ้องในฐานะส่วนตัว กับฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองในฐานะที่เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรม จึงเป็นคำฟ้องของผู้เยาว์ทั้งสองโดย ส.ผู้เป็นมารดาฟ้องแทนอีกด้วย
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุฐานะของ ส. ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะมารดาผู้ปกครองผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.และ ช.ผู้เยาว์ แสดงชัดแจ้งว่าส.ฟ้องจำเลยในสองฐานะคือฟ้องในฐานะส่วนตัว กับฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองในฐานะที่เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรม จึงเป็นคำฟ้องของผู้เยาว์ทั้งสองโดย ส.ผู้เป็นมารดาฟ้องแทนอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีมูลเหตุจากการละเมิดที่จำเลยขับรถยนต์ชนเด็กชาย ส. ผู้เยาว์ เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่แม้ผู้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็จะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12)โจทก์ฟ้องจำเลยในนามของตนเอง ทั้งโจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส. จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะกระทำการแทนเด็กชาย ส. แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีมูลเหตุจากการละเมิดที่จำเลยขับรถยนต์ชนเด็กชาย ส. ผู้เยาว์ เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่แม้ผู้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็จะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตาม ป.พ.พ. มาตรา1574 (12) โจทก์ฟ้องจำเลยในนามของตนเอง ทั้งโจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส. จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะกระทำการแทนเด็กชาย ส. แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: บิดาผู้ให้กำเนิดหมดอำนาจเมื่อรับบุตรบุญธรรมแล้ว
เมื่อ พ.รับโจทก์ที่6เป็นบุตรบุญธรรมแล้วส. ซึ่งเป็นบิดาโดยกำเนิดย่อมหมดอำนาจปกครองโจทก์ที่ 6 นับแต่วันเวลาที่โจทก์ที่ 6 เป็นบุตรบุญธรรมของ พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/28 และแม้ว่าต่อมา พ. จะถึงแก่กรรมอันเป็นเหตุให้ความเป็นผู้ปกครองของ พ. สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/7 เดิม การรับบุตรบุญธรรมก็หาได้สิ้นสุดลงด้วยไม่โดยนิตินัยโจทก์ที่ 6 ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของ พ.อยู่ บิดาผู้ให้กำเนิดเดิมจึงไม่มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย กรณีไม่ใช่เป็นการเลิกรับบุตรบุญธรรมอันจะเป็นเหตุให้บุตรบุญธรรมกลับคืนสู่ฐานะอย่างสมบูรณ์ในครอบครัวเดิมของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/37 เดิม ส. จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์, อำนาจศาลแก้ไขความบกพร่องความสามารถคู่ความ, และการแก้ไขคำพิพากษาตามฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นรวมคดีพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สิทธิในการฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่ฟ้องโดยแยกกันตามรายตัวโจทก์เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนรวมทั้งฟ้องแย้งของจำเลยในแต่ละสำนวนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า ส. มิใช่ลูกจ้างและมิได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของอ. ซึ่งโจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดตามฟ้องแย้งของจำเลยและฎีกาโต้เถียงในเรื่องค่าเสียหายล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยและพิพากษาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลย แล้วพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการพิพากษาใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงใหม่เกี่ยวกับจุดที่รถยนต์ชนกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ทุกคนมีอายุเกิน 20 ปีแล้วแม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นผู้เยาว์ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์บกพร่อง และศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งให้แก้ไขความบกพร่องให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เมื่อโจทก์บรรลุนิติภาวะก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้ โดยศาลฎีกาไม่จำต้องสั่งแก้ไขเรื่องความสามารถ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในงานศพ และค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นสรุปในตอนท้ายของคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องและในส่วนที่เกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขให้เท่าที่ปรากฎในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142