คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการบรรยายฟ้องชัดแจ้งในคดีกู้ยืมเงิน
สามีโจทก์เข้ารับดำเนินคดีแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจ โดยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจ และเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายโจทก์ให้ดำเนินคดี พฤติการณ์ดังกล่าวของสามีโจทก์แสดงให้เห็นว่าสามีโจทก์ยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2524 จำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสำเนาหนังสือกู้เงินเอกสารท้ายฟ้อง แม้ในสำเนาสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่ากู้เงินไป พ.ศ. 24 ก็เป็นคำฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์: การเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องมียินยอม
คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจาก พยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา247 โจทก์ทั้งสามยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 วรรคแรก ทั้งคดีไม่ปรากฏว่าอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียว ดังเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 1566 วรรคสอง ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสามได้ มารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 1569 มีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ ทั้งสามได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรก่อนมารดานั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งสามมิใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา ส. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ผู้เยาว์: ผู้แทนโดยชอบธรรมและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
โจทก์ทั้งสามยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 วรรคแรก ทั้งคดีไม่ปรากฏว่า อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียวดังเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 1566 วรรคสอง ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสามได้ มารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 1569 มีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามได้
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรก่อนมารดานั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุน
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามมิใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา ส.ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดกของผู้ปกครองเด็ก, อายุความมรดกมีผู้จัดการ, การแบ่งมรดกสินส่วนตัวและสินร่วม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ค. เป็นผู้ปกครองของเด็กชาย ท.คดีถึงที่สุดแล้วค. ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนเด็กชาย ท.จำเลยไม่อาจโต้แย้งในคดีนี้ว่าค. ไม่มีอำนาจเป็นผู้ปกครองเด็กชาย ท. ได้ ฟ้องระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกของเจ้ามรดกได้แก่เด็กชาย ท. และจำเลย พร้อมกับบอกสัดส่วนที่มีสิทธิได้รับมรดกเป็นจำนวนเท่าใดไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องระบุว่าเจ้ามรดกมีทายาทจำนวนกี่คนและเป็นผู้ใด หากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเห็นว่าจำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์สินที่โจทก์ขอแบ่งตามฟ้องไม่ถูกต้องจำเลยต้องให้การต่อสู้ไว้ และเมื่ออ่านฟ้องประกอบใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องพิมพ์ข้อความผิดพลาด ที่ถูกต้องเป็นตามใบมรณบัตรแนบท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ทรัพย์ที่เจ้ามรดกกับ ส. เป็นเจ้าของร่วมกัน ต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เมื่อ ส. ถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดกตกได้แก่เด็กชาย ท. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับส่วนของเจ้ามรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรมทั้งสี่คนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อรวมแล้วเด็กชาย ท. มีสิทธิได้รับจำนวน 5 ใน 8 ส่วน กรณีทรัพย์มรดกมีผู้จัดการ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทไม่จำต้องฟ้องเรียกทรัพย์มรดกภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เกินคำขอ-ฟ้องแทนผู้เยาว์: โจทก์ฟ้องในฐานะคู่สัญญา ไม่ใช่ตัวแทน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาทเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วแจ้งให้ออกแต่จำเลยไม่ยอมออกไปการที่โจทก์ และจำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระค่าเช่าที่ค้าง(ค่าเสียหาย) แก่โจทก์และโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าห้องต่อไปอีก 1 ปีเป็นข้อตกลง ที่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายและเป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดี หรือที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ตามยอมให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง (ค่าเสียหาย) ดังกล่าวแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเกินคำขอหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในฟ้อง และถือไม่ได้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ระบุชื่อโจทก์ผู้ฟ้องว่า"นางวนิดากลั่นประทุมมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายมนตรีพัธเสมาและเด็กหญิงดารณีพัธเสมา โจทก์" มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์มีฐานะเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาวทั้งสองยังไม่แจ้งชัดว่าเป็นการฟ้องแทนผู้เยาว์ เพราะถ้าโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เยาว์จะต้องระบุชื่อผู้เยาว์เป็นโจทก์ในคำฟ้อง เช่นระบุว่าเด็กชายมนตรี พัธเสมาและเด็กหญิงดารณีพัธเสมา โดยนางวนิดากลั่นประทุม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรม โจทก์การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยระบุว่าเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรม ของผู้เยาว์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าโจทก์ประสงค์จะแสดงความสัมพันธ์ ของโจทก์กับผู้เยาว์ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสำเนา โฉนดท้ายฟ้องอันเป็นที่ตั้งของตึกแถวพิพาทมากกว่า คำฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท จำเลยได้เข้าทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาเช่าเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งตามสัญญาเช่าดังกล่าวก็ระบุ ชัดแจ้งว่านางวนิดากลั่นประทุม (โจทก์) เป็นผู้ให้เช่า ไม่มีข้อความว่าได้กระทำการแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่อย่างใดโจทก์ ฟ้องคดีขอให้ขับไล่จำเลยอันเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าที่โจทก์เป็นผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันก็ ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยหาได้ระบุว่าโจทก์กระทำการแทนผู้เยาว์ไม่ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่า ไม่ได้ฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้ทำการแทนผู้เยาว์กรณีไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่า: การฟ้องในฐานะคู่สัญญาเอง ไม่ใช่แทนผู้เยาว์ ไม่ต้องขออนุญาตศาลคดีเด็กและเยาวชน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาท เพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วแจ้งให้ออกแต่จำเลยไม่ยอมออกไป การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระค่าเช่าที่ค้าง (ค่าเสียหาย) แก่โจทก์และโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าห้องต่อไปอีก 1 ปี เป็นข้อตกลงที่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายและเป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นใน คดีแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง (ค่าเสียหาย) ดังกล่าวแก่โจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเกินคำขอหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในฟ้อง และถือไม่ได้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ระบุชื่อโจทก์ผู้ฟ้องว่า "นางวนิดากลั่นประทุม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายมนตรี พัธเสมา และเด็กหญิงดารณีพัธเสมา โจทก์" มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์มีฐานะเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสอง ยังไม่แจ้งชัดว่าเป็นการฟ้องแทนผู้เยาว์ เพราะถ้าโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เยาว์จะต้องระบุชื่อผู้เยาว์เป็นโจทก์ในคำฟ้อง เช่นระบุว่า เด็กชายมนตรีพัธเสมา และเด็กหญิงดารณี พัธเสมา โดยนางวนิดา กลั่นประทุม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรม โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยระบุว่าเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ดังกล่าว น่าเชื่อว่าโจทก์ประสงค์จะแสดงความสัมพันธ์ของโจทก์กับผู้เยาว์ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสำเนาโฉนดท้ายฟ้องอันเป็นที่ตั้งของตึกแถวพิพาทมากกว่า คำฟ้องของโจทก์ยังอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทจำเลยได้เข้าทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาเช่าเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งตามสัญญาเช่าดังกล่าวก็ระบุชัดเแจ้งว่านางวนิดากลั่นประทุม (โจทก์) เป็นผู้ให้เช่า ไม่มีข้อความว่าได้กระทำการแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องคดีขอให้ขับไล่จำเลยอันเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าที่โจทก์เป็นผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันก็ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าระหว่างโจทก์กับจำเลย หาได้ระบุว่าโจทก์กระทำการแทนผู้เยาว์ไม่ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่า ไม่ได้ฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้ทำการแทนผู้เยาว์ กรณีไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัทจำกัด ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลงนามโดยกรรมการคนเดียวจึงไม่มีอำนาจผูกพันบริษัท
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด กรรมการ 2 ใน 3 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนได้ การที่โจทก์ ที่ 2กรรมการของบริษัทลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียว จึงไม่มี อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้ กรณีเป็นการฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ เป็นกรณีความประสงค์ของนิติบุคคล นั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 ไม่ใช่กรณีเป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 56 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึง เป็นคำฟ้องที่ศาลไม่อาจรับไว้พิจารณาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกรรมการบริษัทจำกัด: ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท และความประสงค์ของนิติบุคคล
ฟ้องโจทก์ได้ความว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีกรรมการ 3 คน คือโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 กรรมการสองคนในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีจะมีการฟ้องคดีในฐานะที่บริษัทเป็นโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทที่จดทะเบียนไว้ ถึงแม้ในคำฟ้องของบริษัทโจทก์ที่ 1 จะกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ร่วมกับจำเลยอื่นทำให้บริษัทเสียหาย โจทก์ที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทคนหนึ่งนั้นจะมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องตามกรณีที่กล่าวอ้างในคำฟ้องได้ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่จะต้องดำเนินการในฐานะนั้นเท่านั้น ไม่อาจดำเนินการฟ้องร้องในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทอันจะถือว่าบริษัทเป็นผู้ฟ้องคดีได้ เพราะในกรณีที่บริษัทจำกัดฟ้องคดีนั้น บริษัทจำกัดจะต้องเข้าไปรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่ศาลจะให้ใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งโดยบังคับเอาจากทรัพย์สินของบริษัทมิใช่ผู้ฟ้องคดีแทนจะต้องรับผิดหรือบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีแทน การที่โจทก์ที่ 2 เพียงผู้เดียวแม้จะเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์ที่ 1 แต่ก็ไม่อาจที่จะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้กรณีเป็นเรื่องบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ เป็นเรื่องฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ ไม่ใช่กรณีที่เป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 แต่เป็นกรณีที่ความประสงค์ของนิติบุคคลนั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัทจำกัด: กรรมการต้องดำเนินการตามข้อบังคับบริษัท และมีอำนาจกระทำการแทนตามที่จดทะเบียน
ฟ้องโจทก์ได้ความว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีกรรมการ3 คน คือ โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 กรรมการสองคนในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีจะมีการฟ้องคดีในฐานะที่บริษัทเป็นโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทที่จดทะเบียนไว้ ถึงแม้ในคำฟ้องของบริษัทโจทก์ที่ 1 จะกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 7 ที่ 8ร่วมกับจำเลยอื่นทำให้บริษัทเสียหาย โจทก์ที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทคนหนึ่งนั้นจะมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องตามกรณีที่กล่าวอ้างในคำฟ้องได้ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่จะต้องดำเนินการในฐานะนั้นเท่านั้น ไม่อาจดำเนินการฟ้องร้องในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทอันจะถือว่าบริษัทเป็นผู้ฟ้องคดีได้ เพราะในกรณีที่บริษัทจำกัดฟ้องคดีนั้น บริษัทจำกัดจะต้องเข้าไปรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่ศาลจะให้ใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งโดยบังคับเอาจากทรัพย์สินของบริษัทมิใช่ผู้ฟ้องคดีแทนจะต้องรับผิดหรือบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีแทน การที่โจทก์ที่ 2 เพียงผู้เดียวแม้จะเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์ที่ 1 แต่ก็ไม่อาจที่จะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ได้ โจทก์ที่ 2จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้ กรณีเป็นเรื่องบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ เป็นเรื่องฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจไม่ใช่กรณีที่เป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 แต่เป็นกรณีที่ความประสงค์ของนิติบุคคลนั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขความสามารถของจำเลย และอายุความฟ้องแย้งจากการผิดสัญญา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 คู่ความมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส.กรรมการของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้ อ.เป็นทนายความโดย ส.เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
of 20