พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความสามารถของจำเลย และอายุความฟ้องแย้งจากการผิดสัญญา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 คู่ความมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส.กรรมการของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้ อ.เป็นทนายความโดย ส.เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู
ป.พ.พ. มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิง ธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ
จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัย ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวัยอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ.เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัย ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวัยอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ.เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัยศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวันอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3)จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5900/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ถือเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้แก้ไขฟ้องไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
พ. ลงชื่อเป็นโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ในคำฟ้อง โดยไม่ได้รับมอบอำนาจจาก ม. ซึ่งเป็นโจทก์ให้ดำเนินคดีแทน และมิได้ตั้งพ. ให้เป็นทนายความแต่อย่างใด ม. เป็นผู้ตั้งตนเองเป็นทนายความและว่าความในการสืบพยานจำเลย ส่วน พ. ว่าความในการสืบพยานโจทก์ 2 ปากเท่านั้น ต่อมา พ. ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ในฐานะผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์อีก โดยมิได้รับมอบอำนาจหรือตั้งแต่งให้เป็นทนายความอีกเช่นเดียวกัน จึงเป็นการฟ้องคดีแทนม. โดยปราศจากอำนาจฟ้อง ฟ้องดังกล่าวเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67(5)กรณีมิใช่เป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวด้วยการเขียนคำคู่ความอันจะสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ตั้งแต่ง พ.เป็นทนายความให้ถูกต้องและให้พ. ลงชื่อในฟ้องจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5900/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ถือเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้แก้ไขเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
พ. ลงชื่อเป็นโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ในคำฟ้อง โดยไม่ได้รับมอบอำนาจจาก ม. ซึ่งเป็นโจทก์ให้ดำเนินคดีแทน และมิได้ตั้งพ. ให้เป็นทนายความแต่อย่างใด ม. เป็นผู้ตั้งตนเองเป็นทนายความและว่าความในการสืบพยานจำเลย ส่วน พ. ว่าความในการสืบพยานโจทก์ 2 ปากเท่านั้น ต่อมา พ. ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ในฐานะผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์อีก โดยมิได้รับมอบอำนาจหรือตั้งแต่งให้เป็นทนายความอีกเช่นเดียวกัน จึงเป็นการฟ้องคดีแทนม. โดยปราศจากอำนาจฟ้อง
ฟ้องดังกล่าวเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67(5)กรณีมิใช่เป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวด้วยการเขียนคำคู่ความอันจะสั่งให้แก้ไข หรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ตั้งแต่ง พ. เป็นทนายความให้ถูกต้อง และให้ พ. ลงชื่อในฟ้องจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ฟ้องดังกล่าวเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67(5)กรณีมิใช่เป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวด้วยการเขียนคำคู่ความอันจะสั่งให้แก้ไข หรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ตั้งแต่ง พ. เป็นทนายความให้ถูกต้อง และให้ พ. ลงชื่อในฟ้องจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขข้อบกพร่องใบมอบอำนาจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ข้อบังคับบริษัทโจทก์ระบุให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทได้ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ศ. ฟ้องและดำเนินคดีแทน โดยมีกรรมการ 2 คนลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจ แต่ไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทย่อมทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ แต่ก่อนพิพากษาศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับใบมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดีแทนได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลอนุญาตได้หากไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มอบอำนาจให้สามีโจทก์เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนประกอบกับสามีโจทก์เบิกความรับรองว่ายินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีถือได้ว่าโจทก์ได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีแล้ว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ได้รับความยินยอมจากสามี และการนำสืบราคาซื้อขายที่ไม่ตรงกับสัญญา
โจทก์มอบอำนาจให้สามีโจทก์เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนประกอบกับสามีโจทก์เบิกความรับรองว่ายินยอมให้โจทก์ฟ้องคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของภรรยา: ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีหากไม่ใช่คดีเกี่ยวกับสินสมรส
เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับสามีต้องจัดการร่วมกัน จึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัท: หนังสือมอบอำนาจ & ข้อจำกัดในหนังสือรับรอง
หนังสือรับรองการจดทะเบียนท้ายฟ้องมิได้มีข้อจำกัดอำนาจของกรรมการไว้ ผู้ลงชื่อแทนโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจก็เป็นกรรมการของบริษัท และประทับตราสำคัญของบริษัท แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมาแสดงว่ากรรมการกี่คนมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ระบุในฟ้องและนำสืบแล้วว่า กรรมการที่จะลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือกรรมการสองคนลงชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ซึ่งไม่ขัดกับหนังสือรับรองการจดทะเบียนท้ายฟ้อง ทั้งฝ่ายจำเลยก็มิได้โต้แย้งว่าไม่ถูกต้องอย่างใด หากศาลสงสัยว่าใบมอบอำนาจกระทำโดยผู้ไม่มีอำนาจ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์ส่งหนังสือรับรองอำนาจจัดการของโจทก์ของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 66 ถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้แล้ว.