คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของบุตรนอกกฎหมายและอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ในคดีอาญา
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของทายาทและผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส ต้องฟ้องร่วมกับภริยาหรือได้รับความยินยอม
เงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้เป็นเงินสินสมรสซึ่งโจทก์และภริยาย่อมเป็นผู้จัดการเงินดังกล่าวร่วมกัน อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจฟ้องและต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรสนั้นด้วย การที่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนเงินกู้ดังกล่าวจากจำเลยจึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส โจทก์ต้องฟ้องร่วมกับภริยาหรือได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีของหญิงมีสามีและประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้องที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์เป็นหญิงมีสามีแต่โจทก์ไม่ได้แนบหนังสือให้ความยินยอมมาท้ายคำฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยมิได้อ้างเหตุแห่งการนี้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479 จำเลยจะอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1475 วรรคท้ายมาใช้โดยจำเลยมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งหาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 มิได้บังคับให้มีการชี้สองสถานทุกคดีไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วก็ย่อมมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจัดการสินสมรส: ศาลแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ได้ แม้ไม่มีความยินยอมจากสามีตั้งแต่แรก
แม้การฟ้องคดีเรื่องขับไล่ออกจากที่ดินจะถือเป็นเรื่องจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477และโจทก์เป็นหญิงมีสามี ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ก็ไม่มีผลถึงกับจะต้องยกฟ้อง เพราะเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 การที่โจทก์ยื่นหนังสือยินยอมอนุญาตให้ฟ้องคดีของสามี และศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ เป็นเรื่องศาลให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ และไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องระบุอ้างหนังสือดังกล่าวไว้ในบัญชีพยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 อีก ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวและวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของการสมรสซ้อน: การสมรสที่ขัดกับกฎหมาย แม้มีการจดทะเบียนภายหลัง
ไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีอายุ 80 ปีเศษต้องให้เจ้าหน้าที่อำเภอรับรองสติสัมปชัญญะของผู้มอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอามรดกของบิดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทและทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินส่วนตัว มิใช่เป็นเรื่องการจัดการสินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสพ. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยากันตลอดมาถึงวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้ภายหลัง พ. จะแยกไปอยู่กินกับจำเลยที่ 1 และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าเคยมีภริยามาก่อน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้เลิกกันไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การสมรสระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ 1 ขาดจากกัน เพราะการสมรสจะขาดจากกันก็ด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนเท่านั้น การจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ในขณะที่ พ.มีโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สมรสอยู่แล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรส และเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ มาตรา 1496จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดและบำนาญค้างจ่ายของพ. กับไม่มีสิทธิรับมรดกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์สัตยาบันคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การ ทำให้จำเลยมีสิทธิจำกัดในการสืบพยาน
ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการรับคำให้การของจำเลย และสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาเมื่อผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์แล้ว ผู้ร้องมิได้ร้องคัดค้านหรือขอเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นกลับปล่อยให้ทนายจำเลยซักค้านพยานโจทก์จนเสร็จสิ้น จึงถือได้ว่าผู้ร้องในฐานะผู้แทนเฉพาะคดีของจำเลยได้ให้สัตยาบันต่อคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การของศาลชั้นต้นแล้ว
จำเลยที่ศาลสั่งขาดนัดยื่นคำให้การแล้วมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์เท่านั้น หามีสิทธินำพยานบุคคลและพยานเอกสารตามบัญชีพยานของจำเลยเข้าสืบได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การของผู้เยาว์ที่มีผู้แทนเฉพาะคดี สิทธิในการนำสืบพยาน
ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการรับคำให้การของจำเลย และสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาเมื่อผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์แล้ว ผู้ร้องมิได้ร้องคัดค้านหรือขอเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นกลับปล่อยให้ทนายจำเลยซักค้านพยานโจทก์จนเสร็จสิ้น จึงถือได้ว่าผู้ร้องในฐานะผู้แทนเฉพาะคดีของจำเลยได้ให้สัตยาบันต่อคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การของศาลชั้นต้นแล้ว
จำเลยที่ศาลสั่งขาดนัดยื่นคำให้การแล้วมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์เท่านั้น หามีสิทธินำพยานบุคคลและพยานเอกสารตามบัญชีพยานของจำเลยเข้าสืบได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบกพร่องความสามารถในการฟ้องคดี ไม่ใช่การแก้ไขคำฟ้อง อยู่ภายใต้มาตรา 56 ป.วิ.พ.
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถไม่ใช่แก้ไขคำฟ้องจึงไม่อยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 แต่อยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 56 คือศาล อาจสั่งให้แก้ไขเสียให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษา สามีโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ความยินยอม และให้สัตยาบันการที่โจทก์ ได้ดำเนินคดีมาแต่ต้น โดยยื่นก่อนเริ่มลงมือสืบพยาน ถือว่า เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสินสมรสหลังแก้กฎหมาย & ฟ้องซ้อนจากคดีเดิม
หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว อำนาจจัดการสินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับ ซึ่งมาตรา 1476 ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพัง แต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้ว และถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีก แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย แต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางการจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อน ประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)
of 20