พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสินสมรสหลังแก้ไขกฎหมาย และฟ้องซ้อนจากประเด็นข้อตกลงทางเดิน
หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้วอำนาจจัดการสินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับซึ่งมาตรา 1476 ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพังแต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า "ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา" จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้วและถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีกแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วยแต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางภารจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อนประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกันฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพังแต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า "ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา" จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้วและถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีกแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วยแต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางภารจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อนประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกันฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีโดยความยินยอมของคู่สมรส: ฟ้องสมบูรณ์เมื่อได้รับการแก้ไขตามกฎหมาย
ภริยามิได้ให้ความยินยอมในขณะสามีฟ้องคดี แต่มาให้ความยินยอมแก้ไขข้อบกพร่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วฟ้องของโจทก์สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หรือฟ้องร่วมกัน หากไม่ปฏิบัติตามศาลต้องสั่งแก้ไขข้อบกพร่อง
หญิงมีสามีฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสต้องฟ้องร่วมกับสามีหรือได้รับความยินยอมของสามี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้แก้ไขเรื่องความสามารถ แต่พิพากษายกฟ้อง โดยว่าไม่มีหลักฐานความยินยอมของสามีเป็นหนังสือศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาโดยส่งหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย จำเลยแก้ฎีกาว่าหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนเสียก่อนว่าหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ให้ฟ้องคดีถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็ถือว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีบริบูรณ์แล้ว ถ้าไม่ถูกต้อง ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่ง แล้วดำเนินการต่อไป
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้แก้ไขเรื่องความสามารถ แต่พิพากษายกฟ้อง โดยว่าไม่มีหลักฐานความยินยอมของสามีเป็นหนังสือศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาโดยส่งหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย จำเลยแก้ฎีกาว่าหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนเสียก่อนว่าหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ให้ฟ้องคดีถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็ถือว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีบริบูรณ์แล้ว ถ้าไม่ถูกต้อง ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่ง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, อำนาจฟ้อง, การผิดนัดชำระหนี้: การพิจารณาความสมบูรณ์ของฟ้องและการเกิดผลของการผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องมีความตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใจความเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจและเห็นได้ชัดว่ามีความหมายถึงจำเลยที่ 3 ฟ้องโจทก์เช่นนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, อำนาจฟ้อง, การผิดนัดชำระหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้อง, อำนาจมอบอำนาจ, และการเกิดผิดนัดจากการปฏิเสธการจ่ายเช็ค
โจทก์บรรยายฟ้องมีความตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใจความเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจและเห็นได้ชัดว่ามีความหมายถึงจำเลยที่ 3 ฟ้องโจทก์เช่นนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินต่อเนื่องกัน ผู้ซื้อคนสุดท้ายมีกรรมสิทธิ์ หากไม่ได้ฟ้องเพิกถอนการซื้อขายก่อนหน้า
จำเลยขออาศัยอยู่ในที่พิพาทจากเจ้าของเดิม น. ซื้อที่พิพาทมาแล้ว ได้ทำสัญญาจะขายให้จำเลย ต่อมา น. ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท เช่นนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฟ้องน. ผู้โอนที่พิพาทให้โจทก์ และมิได้ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการโอนที่พิพาทจึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยให้เพิกถอนการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง น. และโจทก์โจทก์จึงยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามสัญญาซื้อขายอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินพิพาทโดยจำเลยมิได้ฟ้องผู้โอนเพื่อเพิกถอนสัญญา โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขาย
จำเลยขออาศัยอยู่ในที่พิพาทจากเจ้าของเดิม น.ซื้อที่พิพาทมาแล้วได้ทำสัญญาจะขายให้จำเลย ต่อมา น.ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท เช่นนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฟ้อง น.ผู้โอนที่พิพาทให้โจทก์ และมิได้ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการโอนที่พิพาท จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยให้เพิกถอนการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง น.และโจทก์ โจทก์จึงยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามสัญญาซื้อขายอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบกพร่องอำนาจฟ้องระหว่างการพิจารณาคดี โดยการยื่นความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์เป็นหญิงมีสามีฟ้องคดีโดยไม่มีหนังสือให้ความยินยอมของสามี จำเลยโต้แย้งอำนาจฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแล้วและศาลมีคำสั่งอนุญาต ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบกพร่องอำนาจฟ้องระหว่างการพิจารณาคดี โดยการยื่นหนังสือยินยอมของคู่สมรส
โจทก์เป็นหญิงมีสามีฟ้องคดีโดยไม่มีหนังสือให้ความยินยอมของสามี จำเลยโต้แย้งอำนาจฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ ให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว และศาลมีคำสั่งอนุญาต ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎกมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีเช่าค่าเช่าไม่เกิน 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อยไม่อาจฎีกาได้ และการยินยอมของสามีให้ฟ้องคดี
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องด้วยว่า หากโจทก์จะให้ผู้อื่นเช่าในปัจจุบันจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 6,000 บาทซึ่งโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องเอาค่าเสียหายจำนวนเงิน 6,000 บาทนั้น ก็ไม่ใช่ค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ในข้อที่ว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา มีข้อเท็จจริงพอให้วินิจฉัยปัญหานี้ได้โดยไม่จำต้องสืบพยานที่เหลือต่อไปดังที่จำเลยขอสืบ ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้นชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่น่าจะฟังเป็นยุติได้แล้ว สมควรให้จำเลยได้เสนอพยานหลักฐานต่อไป ดังนี้เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานเท่าที่ได้สืบกันไปแล้วเป็นการเพียงพอที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อนี้ได้แล้ว จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
สามีโจทก์ทำหนังสือให้โจทก์มีข้อความว่า สามีโจทก์ยินยอมอนุญาตให้โจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยต่อศาลแพ่ง การให้ความยินยอมเช่นนี้ย่อมมีความหมายว่ายินยอมตลอดถึงการแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับคดีนั้นด้วย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ในข้อที่ว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา มีข้อเท็จจริงพอให้วินิจฉัยปัญหานี้ได้โดยไม่จำต้องสืบพยานที่เหลือต่อไปดังที่จำเลยขอสืบ ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้นชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่น่าจะฟังเป็นยุติได้แล้ว สมควรให้จำเลยได้เสนอพยานหลักฐานต่อไป ดังนี้เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานเท่าที่ได้สืบกันไปแล้วเป็นการเพียงพอที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อนี้ได้แล้ว จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
สามีโจทก์ทำหนังสือให้โจทก์มีข้อความว่า สามีโจทก์ยินยอมอนุญาตให้โจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยต่อศาลแพ่ง การให้ความยินยอมเช่นนี้ย่อมมีความหมายว่ายินยอมตลอดถึงการแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับคดีนั้นด้วย