คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงคดีขับไล่ และอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องด้วยว่า หากโจทก์จะให้ผู้อื่นเช่าในปัจจุบันได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่า เดือนละ 6,000 บาท ซึ่งโจทก์ใข้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องเอาค่าเสียหาย จำนวนเงิน 6,000 บาท ซึ่งโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์ คำนวณในการเรียกร้องเอาค่าเสียหาย จำนวนเงิน 6,000 บาท นั้นก็ไม่ใช่ค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้นเมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ในข้อที่ว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา มีข้อเท็จจริงพอให้วินิจฉัยปัญหานี้ได้โดยไม่จำต้องสืบพยานที่เหลือต่อไป ดังที่จำเลยขอสืบ ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้นชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่น่าจะฟังเป็นยุติได้แล้ว สมควรให้จำเลยได้เสนอพยานหลักฐานต่อไป ดังนี้เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานเท่าที่ได้สืบกันไปแล้วเป็นการเพียงพอที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อนี้ได้แล้ว จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
สามีโจทก์ทำหนังสือให้โจทก์มีข้อความว่า สามีโจทก์ยินยอมอนุญาตให้โจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยต่อศาลแพ่ง การให้ความยินยอมอนุญาตให้โจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยต่อศาลแพ่ง การให้ความยินยอมเช่นนี้ย่อมมีความหมายว่ายินยอมตลอดถึงการแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับคดีนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรลุนิติภาวะของจำเลยระหว่างการพิจารณาคดี และผลต่อการเป็นคู่ความ
จำเลยที่ 2 อายุ 18 ปี ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 2 อายุครบ 20 ปี บรรลุนิติภาวะจำเลยที่ 2 จึงมีความสามารถบริบูรณ์ มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีไปได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้จำเลยที่ 2 แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ: ผู้พิทักษ์มีอำนาจเฉพาะให้ความยินยอม ไม่สามารถฟ้องแทนได้
บุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถนั้นทำนิติกรรมเองได้สิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่จะต้องด้วยข้อจำกัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 35 ซึ่งผู้เสมือนไร้ความสามารถจะทำได้เฉพาะเมื่อผู้พิทักษ์ให้ความยินยอมเท่านั้น ผู้พิทักษ์มีอำนาจหน้าที่เพียงแต่ให้ความยินยอมหรือไม่แก่ผู้เสมือนไร้ความสามารถในกิจการที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้อำนาจผู้พิทักษ์ฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้พิทักษ์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสินสมรส: การแก้ไขข้อบกพร่องด้านความสามารถฟ้องคดี และการไต่สวนความถูกต้องของหนังสือยินยอม
โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีมิได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีให้ฟ้องคดีมาพร้อมกับฟ้องในศาลชั้นต้น แต่ได้ส่งหนังสือยินยอมดังกล่าวมาพร้อมฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ จำเลยแก้ฎีกาว่าหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่จำเลยไม่รับรอง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงควรให้ศาลชั้นต้นไต่สวนว่าหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ที่ให้ฟ้องคดีถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็ถือว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีบริบูรณ์แล้ว ถ้าไม่ถูกต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่ง แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเรียกเงินกู้: สินส่วนตัว vs. สินสมรส และผลกระทบจากการเสียชีวิตของคู่สมรส
ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินส่วนตัว และฟ้องเรียกเงินนั้นคืนได้โดยลำพัง
แม้ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินสมรส และฟ้องคดีโดยสามีไม่ได้ยินยอมด้วย แต่ปรากฏชั้นฎีกาว่าสามีตายแล้วไม่มีทางให้สามีเข้าจัดการร่วมด้วย ภริยาจัดการสินสมรสได้โดยลำพังและมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิในการดำเนินคดีโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสในคดีที่ไม่เกี่ยวกับสินสมรส
การร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ไม่เกี่ยวกับเรื่องสินสมรส คู่ความมีสิทธิเข้ามาดำเนินคดีโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้คัดค้านมีสิทธิดำเนินคดีโดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ไม่เกี่ยวกับเรื่องสินสมรส คู่ความมีสิทธิเข้ามาดำเนินคดีโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีแทน สามีให้ความยินยอมแล้ว ไม่ต้องยินยอมซ้ำ
หญิงมีสามีได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีแล้วหญิงมีสามีมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นโจทก์แทนได้ โดยสามีไม่ต้องยินยอมซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางถนนและการฟ้องแทนผู้เยาว์
รถจักรยานยนต์กับรถบรรทุกหินชนกัน โดยรถยนต์ไม่ชลอความเร็วเมื่อถึงสี่แยก รถจักรยานยนต์ขับเร็วผ่านสี่แยกเป็นฝ่ายประมาทมาก ฝ่ายรถยนต์ก็ยังต้องรับผิด แต่มีส่วนผิดน้อยกว่า จึงให้รับผิด 1 ใน 3 ของความเสียหายของฝ่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งผู้ขับถึงตาย
บิดาเด็กผู้เยาว์ถูกรถยนต์ชนตาย มารดาทิ้งเด็กไปได้สามีใหม่ไม่ทราบที่อยู่ เด็กอยู่กับปู่และย่า ถือว่ามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กทำหน้าที่ไม่ได้ ศาลอนุญาตให้ปู่ฟ้องแทนเด็กได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้เยาว์ & การขาดไร้อุปการะจากละเมิดของผู้อื่น: ศาลแก้ไขความสามารถ/พิจารณาค่าเสียหายได้
โจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดวันใด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติให้นับอายุตั้งแต่วันต้นแห่งปีปฏิทินหลวงซึ่งเป็นปีที่เกิด จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2495 เมื่อนับถึงวันเกิดเหตุโจทก์ที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ ขณะฟ้องคดีโจทก์ทั้ง 4 เป็นผู้เยาว์ ก็เป็นเพียงบกพร่องในเรื่องความสามารถ ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนและแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 4 ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก และถือได้ว่าโจทก์ที่ 4 มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้น (อ้างฎีกาที่ 1638/2511)
เรื่องอำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 วรรค 2 นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องการอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ไม่ใช่แต่เพียงบิดาเท่านั้นที่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร มารดาก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน
การขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค 3 หมายถึงการขาดสิทธิในอันที่จะได้รับการอุปการะ จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ทำให้มารดาโจทก์ตาย โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงชอบที่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นจากจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า บิดาโจทก์จะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์อยู่หรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
การจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา คู่ความจะร้องขึ้นมาหาได้ไม่
of 20