คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระพงศ์ จิระภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 741 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10808/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับพิจารณาเนื่องจากจำเลยดำเนินกระบวนการชำระค่าธรรมเนียมศาลล่าช้าเกินสมควร และไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 22 เมษายน 2556 ขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 ที่ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 30 วัน โดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินได้ทัน และผู้มีชื่อนัดช่วยเหลือจำเลย
ทั้ง ๆ ที่กำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้ล่วงพ้นไปแล้วประมาณ 4 ปีเศษ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของจำเลยเองมิใช่พฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามคำขอของจำเลย และจำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาชำระภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายอันจะรับไว้พิจารณาได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10679/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความภาระจำยอม: การฉ้อฉลและการใช้สิทธิอุทธรณ์
ในการเจรจาต่อรองค่าตอบแทนการใช้ที่ดินภาระจำยอมระหว่างโจทก์และจำเลย เป็นธรรมดาอยู่เองที่โจทก์ย่อมต้องการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยในจำนวนที่ต่ำ ในขณะที่จำเลยต้องการได้ค่าตอบแทนในจำนวนที่สูง จึงเป็นเรื่องที่แต่ละฝ่ายพึงต้องเตรียมข้อมูลมาให้พร้อมเพื่อรักษาประโยชน์ของตนเอง ที่โจทก์เสนอค่าตอบแทนแก่จำเลยในราคาตารางวาละ 1,250 บาท แม้สืบเนื่องมาจากจำเลยแถลงว่ามารดาจำเลยเคยขายที่ดินไปในราคาไร่ละ 500,000 บาท ก็ตาม แต่หากจำเลยยังไม่พอใจเพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ต่ำเกินไป จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธข้อเสนอของโจทก์และเสนอราคาตามที่จำเลยต้องการได้อยู่แล้ว ทั้งในวันดังกล่าวทนายจำเลยก็เข้าร่วมเจรจาด้วยแล้ว จำเลยจึงหาได้เป็นผู้ด้อยปัญญาหรืออยู่ในภาวะที่ถูกกดดันจากสิ่งใดให้ต้องตกลงยอมความกับโจทก์ไม่ จำเลยมีเวลาในการเตรียมคดีนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี จนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งศาลไกล่เกลี่ยจนโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนานถึงเกือบ 6 เดือน ย่อมมากเพียงพอต่อการที่จำเลยจะขอหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินจากสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา การไม่ทราบราคาประเมินที่ดินจึงต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฉวยโอกาสและปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาประเมินที่ดินไม่ นอกจากนี้ไม่มีบทบัญญัติใดบังคับว่า ค่าตอบแทนการใช้ภาระจำยอมต้องเป็นไปตามราคาประเมินที่ดินอีกด้วย ข้อเท็จจริงตามที่จำเลยอ้างฟังไม่ได้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10675-10676/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: สิทธิการได้รับอนุญาตทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินสิ้นสุดลง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพิ่งมีมติให้เพิกถอนสิทธิของโจทก์ทั้งสองระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่สามารถระบุมติดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และมีเหตุอันสมควรที่จะขออนุญาตยื่นพยานเอกสารดังกล่าวต่อศาลฎีกา เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสาร และพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงรับสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10669/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนอง vs. ครอบครองปรปักษ์: ผู้รับจำนองมีสิทธิเหนือที่ดิน แม้ผู้ครอบครองอ้างสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ป. ที่จดทะเบียนจำนองไว้ต่อผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง ผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้านหรือผู้คัดค้านซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล คำร้องขอครอบครองปรปักษ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น มิได้ทำให้สิทธิจำนองของผู้คัดค้านในฐานะผู้รับจำนองเสื่อมเสียหรือระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงได้จากการขายทอดตลาดในการบังคับคดีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 ผู้คัดค้านจึงมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลง การที่ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลรับรองว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยการครอบครองปรปักษ์จึงมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิจำนองของผู้คัดค้านที่จะเข้ามาในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากการถูกเพิกถอนจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งใหม่
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 158 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษผู้ใดฐานกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และผู้นั้นเป็นผู้กระทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นผู้กระทำการใดอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือเพื่อไม่ให้มีการประกาศผลการเลือกตั้งตามมาตรา 140 วรรคสอง อันเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้งใด ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย..." ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ที่กระทำความผิดตามมาตรา 158 จะต้องกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่การที่จำเลยซึ่งได้รับการประกาศผลตามกฎหมายให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้วแต่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ จนกระทั่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษและให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นผลทำให้ตำแหน่งวุฒิสภาว่างลงและโจทก์ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2552 มาตรา 119 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่อย่างใด เมื่อกฎหมายได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นการเฉพาะดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 มาใช้บังคับ ก็ต้องได้ความชัดว่า จำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความ กฎหมายกำหนดให้จำเลยยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มิได้มีบทบังคับให้จำเลยต้องยื่นต่อโจทก์ ส่วนการที่โจทก์ต้องเสียงบประมาณจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็เป็นผลแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายเลือกตั้งใหม่: จำเลยไม่ต้องชดใช้ หากการกระทำผิดไม่ได้เจตนาต่อการเลือกตั้ง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 158 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษผู้ใดฐานกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และผู้นั้นเป็นผู้กระทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นผู้กระทำการใดอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือเพื่อไม่ให้มีการประกาศผลการเลือกตั้งตามมาตรา 140 วรรคสอง อันเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้งใด ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย..." ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ที่กระทำความผิดตามมาตรา 158 จะต้องกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่การที่จำเลยซึ่งได้รับการประกาศผลตามกฎหมายให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้วแต่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ จนกระทั่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษและให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นผลทำให้ตำแหน่งวุฒิสภาว่างลงและโจทก์ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ก็ตามซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 119 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่อย่างใด เมื่อกฎหมายได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นการเฉพาะดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 มาใช้บังคับ ก็ต้องได้ความชัดว่า จำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความ กฎหมายกำหนดให้จำเลยยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มิได้มีบทบังคับให้จำเลยต้องยื่นต่อโจทก์ ส่วนการที่โจทก์ต้องเสียงบประมาณจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็เป็นผลแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10192/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องเป็นลูกจ้างในกิจการประเภทเดียวกัน การแก้ไขข้อบังคับต้องไม่ขัดกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 88 มาตรา 89 วรรคหนึ่ง และมาตรา 95 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าสหภาพแรงงานมี 2 ประเภท คือ 1. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน 2. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน โจทก์เป็นสหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน ดังนั้นคุณสมบัติของสมาชิกโจทก์ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน เมื่อโจทก์ยอมรับว่ากิจการที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นกิจการคนละประเภทกับที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโจทก์ขอจดทะเบียนไว้ โจทก์ไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสองไม่รับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10192/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องเป็นลูกจ้างในกิจการประเภทเดียวกัน การแก้ไขข้อบังคับต้องไม่ขัดกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 88, 89 วรรคหนึ่ง และ 95 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยแจ้งชัดแล้วว่า สหภาพแรงงานมี 2 ประเภท คือ 1. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ก็จะต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน และ 2. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ก็จะต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน เมื่อโจทก์เป็นสหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน ดังนั้นคุณสมบัติของสมาชิกโจทก์ก็ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน และเมื่อโจทก์ยอมรับว่ากิจการที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นกิจการคนละประเภทกับที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโจทก์ขอจดทะเบียนไว้ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ข้อ 6 ซึ่งกำหนดว่า "สมาชิกของสหภาพแรงงานต้องมีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างของนายจ้างที่ประกอบกิจการผลิตและ/หรือประกอบชิ้นส่วนยานยนต์" เป็นว่า "สมาชิกของสหภาพแรงงานต้องมีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างของนายจ้างที่ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หรือชิ้นส่วนโลหะ" จึงขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10188/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนเงินสมทบประกันสังคมเกินเวลา 1 ปี: การแจ้งสิทธิและเจตนาของผู้ประกันตน
มาตรา 47 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดระยะเวลาให้ผู้ประกันตนเรียกเอาเงินสมทบที่นายจ้างส่งให้แก่สำนักงานประกันสังคมเกินจำนวนที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบหรือภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้มารับคืนนั้น เป็นกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนใช้สิทธิขอรับเงินสมทบที่นายจ้างนำส่งเกินจำนวนที่ต้องชำระคืนโดยเร็ว เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำงานกับนายจ้าง 2 ราย โดยนายจ้างทั้งสองรายต่างหักค่าจ้างของโจทก์นำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนให้แก่จำเลยเกินจำนวนที่โจทก์ต้องชำระ และจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับเงินคืน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทราบมาก่อนว่าเงินสมทบที่นายจ้างทั้งสองนำส่งให้แก่จำเลยเกินจำนวนที่โจทก์ต้องชำระ ต้องถือว่าโจทก์เพิ่งทราบว่านายจ้างทั้งสองนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนเกินในวันที่โจทก์ยื่นคำขอรับเงินที่เกินนั้น อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินส่วนของผู้ประกันตนที่นายจ้างนำส่งเกินคืนภายในกำหนด 1 ปี ตามนัยแห่งบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว เงินนั้นยังไม่ตกเป็นของกองทุนประกันสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10157/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างแรงงานและการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับเงิน ออกใบเสร็จรับเงิน ลงรายการรับเงิน เลขที่ใบเสร็จและจำนวนเงินในสมุดควบคุมเงิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าเช่าซื้อของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้าสำนัก จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นพนักงานจัดการทรัพย์สิน จำเลยที่ 5 เป็นหัวหน้าสำนักงานภายหลังจำเลยที่ 2
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์จ้างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้ทำงานและมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดเก็บเงินรวมถึงทรัพย์สินของโจทก์แต่กลับปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มีความบกพร่องและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์อันเป็นสภาพการจ้างตามสัญญาจ้าง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาจ้างในฐานะผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 รับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความในเรื่องผิดสัญญาจ้างไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2542 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2550 ฟ้องโจทก์ในเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 และที่ 5 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบโดยไม่ได้มอบหมายให้มีพนักงานทะเบียนและพนักงานรับเงินเป็นคนละคนกันเนื่องมาจากว่าหากคนใดไม่มาทำงานจะไม่สามารถรับเงินจากลูกค้าได้ และต้องตรวจดูทะเบียนลูกหนี้รายตัวประกอบใบเสร็จรับเงินจึงจะทราบว่าการลงทะเบียนใบเสร็จรับเงินเป็นเท็จ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มีหน้าที่ดูแลงานด้านอื่นด้วย ไม่มีหน้าที่ควบคุมการรับเงินอย่างเดียวโดยตรง กองคลังของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบโดยตรงก็ยังตรวจสอบไม่พบถึงความผิดปกตินั้น การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบได้อย่างเคร่งครัดจึงเป็นเพียงการการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อธรรมดา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 รับผิดเฉพาะกรณีเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น มิได้ให้รับผิดกรณีประมาทเลินเล่อด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
of 75