คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระพงศ์ จิระภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 741 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: จำเลยต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานความเป็นเจ้าของของโจทก์ที่ปรากฏในทะเบียนที่ดิน
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ น. มิใช่เป็นของจำเลย คำให้การของจำเลยในตอนแรกที่ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจาก น. และ น. ส่งมอบที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว เป็นเพียงการอ้างถึงที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของ หาใช่เป็นการยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยเองมาแต่เดิมไม่ คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่อ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหลังจากที่ซื้อมา จึงมิได้ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกหรือเท่ากับเป็นการอ้างครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นได้แต่อย่างใดไม่
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในทะเบียนที่ดิน ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินอยู่ในขณะที่พิพาทกัน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1369 ให้สันนิษฐานว่าเป็นการยึดถือเพื่อตน และ ป.พ.พ. มาตรา 1370 ให้สันนิษฐานว่าครอบครองโดยสุจริตโดยความสงบและโดยเปิดเผย เป็นเพียงบทบัญญัติของการยึดถือครอบครองทรัพย์สินทั่วไป เมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกถึงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการยึดถือครอบครอง จึงต้องบังคับตาม มาตรา 1373 ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลายื่นฎีกาหลังศาลอนุญาตขยายเวลา โดยคำนึงถึงวันหยุดราชการ
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 ซึ่งเป็นวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คู่ความทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ศาลชั้นต้นจึงงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าคำพิพากษานั้นได้อ่านตามกฎหมายแล้ว จึงครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 23 ตุลาคม 2557 อันเป็นวันหยุดราชการ ต่อมาวันที่ 24 ตุลาคม 2557 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต กรณีจึงต้องเริ่มนับกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาต่อจากวันที่ 23 ตุลาคม 2557 โดยเริ่มนับวันถัดไปเป็นวันแรกคือวันที่ 24 ตุลาคม 2557 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/7 และครบ 30 วัน ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 อันเป็นวันเสาร์หยุดราชการ ต่อมาในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต กรณีจึงต้องเริ่มนับกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาต่อจากวันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 โดยเริ่มนับวันถัดไปเป็นวันแรกคือวันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 แม้วันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม และครบ 30 วัน ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม 2557 ซึ่งเป็นวันจันทร์อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะมีสิทธิยื่นฎีกาตามกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2557 จึงพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5951/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินรวม และการครอบครองปรปักษ์: การปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ & การพิสูจน์การครอบครอง
การใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินที่บุคคลหลายคนถือกรรมสิทธิ์รวม เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีได้เพียงลำพังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 หาใช่เป็นเรื่องที่ต้องทำร่วมกันไม่ โจทก์ทั้งสองจึงมิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันในการฟ้องคดี หากแต่เป็นเรื่องที่ต่างคนต่างใช้สิทธิของตน การมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน จึงเป็นกรณีที่ผู้มอบอำนาจมีหลายคนแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องปิดแสตมป์ 60 บาท มิใช่เพียง 30 บาท
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว การปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจึงสามารถกระทำในระหว่างพิจารณาคดีหรือสืบพยานได้ หาใช่ต้องปิดแสตมป์ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่ เช่นนี้ แม้ขณะฟ้องโจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท แต่เมื่อในการสืบพยาน โจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเป็นจำนวน 60 บาท ครบถ้วน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีว่าโจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5836/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐานแทนต้นฉบับที่ไม่ต้องติดอากรแสตมป์
ฎีกาของจำเลยที่ว่า หนังสือมอบอำนาจ โจทก์มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์เป็นการไม่ชอบ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบอย่างไรตั้งเป็นประเด็นไว้และก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ ตามหนังสือมอบอำนาจ ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรมาแต่แรก และเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์นำสืบส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับ หรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องกับต้นฉบับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ตาม มาตรา 93 (4) สำเนาหนังสือมอบอำนาจ จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อปรากฏว่าเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงหาใช่การรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร และสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน สำเนาหนังสือมอบอำนาจ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ฟ้องแย้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ชำระราคาสินค้าที่ค้างชำระเป็นเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่โจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลย เนื่องจากทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้โจทก์ยังไม่ชำระราคาสินค้าจำนวน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยส่งมอบแผ่นหลังคาเหล็กให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามสัญญา โจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงราคาสินค้าไว้ได้ เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่อาจฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยได้ เพราะไม่ใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของทรัพย์สินในลานจอดรถ และขอบเขตความรับผิด
การที่โจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแต่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา จึงมีหน้าที่ต้องตรวจตราดูแลทรัพย์สินของลูกค้า แต่จำเลยที่ 1 และพนักงานไม่ตรวจตราดูแลให้ดี ทำให้มีคนเข้ามาลักเอารถยนต์ไป จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้เข้าพักในโรงแรม ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 โต้เถียงบรรยายโดยแจ้งชัดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า ม. ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทระบุเวลาที่รถหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี 2 ฉบับ ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2549 และวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ไม่ตรงกันนั้น น่าจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของผู้บันทึก ไม่ใช่ ม. แจ้งแตกต่างกัน
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเฉพาะทรัพย์สินที่สูญหายภายในห้องพัก แต่ลานจอดรถอยู่ด้านนอกโรงแรม และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับฝากรถยนต์ จึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ที่จอดไว้นั้น เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 674 และมาตรา 675 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา แม้ความสูญหายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม ก็ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4832/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของห้างฯมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยรถลูกค้า การเปลี่ยนรูปแบบบัตรจอดรถเป็นเหตุให้เกิดละเมิด
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุได้จัดให้มีที่จอดรถสำหรับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าโดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยแจกบัตรจอดรถให้กับผู้มาใช้บริการที่ทางเข้าและรับบัตรจอดรถคืนที่บริเวณทางออกของห้างสรรพสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ย่อมทำให้ผู้ที่มาใช้บริการที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 2 เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าจัดให้บริการรักษาความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ของผู้มาใช้บริการที่จะนำเข้ามาจอดในที่จอดรถขณะเข้าไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยและจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมในการดูแลรถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้ามาจอดยังที่จอดรถของจำเลยที่ 2 ด้วย
ในวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยแจกบัตรจอดรถที่ทำจากกระดาษแข็งชนิดอ่อนเคลือบด้วยพลาสติกใส ไม่ระบุวันเดือนปีและเวลารถเข้าออก ไม่ระบุหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าในห้าง เพียงแต่ระบุหมายเลขประจำบัตรจอดรถเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบัตรจอดรถไปจากบัตรเดิมที่สามารถตรวจสอบหมายเลขทะเบียนรถให้ตรงกับบัตรได้ การนำบัตรจอดรถซึ่งไม่ระบุรายละเอียดรถที่แล่นผ่านเข้าห้างมาใช้เช่นนี้ จำเลยทั้งสองย่อมเล็งเห็นได้ว่าบุคคลอื่นอาจนำบัตรจอดรถดังกล่าวมาใช้เพื่อนำรถคันอื่นๆ ออกจากที่จอดรถในบริเวณห้างจำเลยที่ 2 ได้โดยง่าย พฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสองผ่อนปรนการใช้ความระมัดระวังในการตรวจตรารถซึ่งผ่านเข้าออกห้างจำเลยที่ 2 ด้วยการจัดให้นำบัตรที่ไม่ระบุวันเดือนปี เวลาและหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าห้างจำเลยที่ 2 มาใช้ในวันเกิดเหตุ โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบใดๆ เพิ่มเติม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นผลโดยตรงทำให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป ถือว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นการกระทำไปในกิจการที่รับมอบหมายให้ทำแทนของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 นายจ้าง และจำเลยที่ 2 ตัวการต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้อื่น แม้ผู้รับประกันภัยจะเสียค่าซ่อมรถ
แม้ขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับชนกับรถที่ ส. ขับสวนมา จำเลยและ ม. นั่งมาในรถคันเดียวกันและ ม. เข้าเบิกความหลังจากนั่งฟังจำเลยเบิกความแล้ว แต่การรับฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ประมาทมากกว่าจำเลยหรือไม่นั้น ศาลพิเคราะห์จากพฤติการณ์ที่ ส. ขับรถบรรทุกซึ่งมีน้ำหนักมากแซงรถเครนในระยะกระชั้นชิดขณะที่จำเลยขับรถแล่นสวนมา และพิจารณาจากคำเบิกความของจำเลยประกอบสภาพความเสียหายของรถ บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ สนับสนุนกัน ทั้งมีบันทึกคำให้การในคดีอาญาของ ม. เป็นพยานประกอบ คำเบิกความของ ม. ซึ่งเป็นไปทำนองเดียวกับจำเลยจึงเป็นที่เชื่อฟังได้ ไม่ทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีดุลพินิจที่จะไม่ฟังว่าคำเบิกความของ ม. เป็นการผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 114

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4633/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์หากไม่มีลายมือชื่อ การรับฟ้องที่ไม่ชอบทำให้กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ
คำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) หากโจทก์หรือทนายโจทก์ไม่แก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ลงลายมือชื่อในคำฟ้องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้ย่อมเป็นการไม่ชอบ มีผลทำให้กระบวนพิจารณาภายหลังจากนั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไปด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4633/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีลายมือชื่อ ศาลมีอำนาจไม่รับฟ้องและเพิกถอนกระบวนการ
คำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) หากโจทก์หรือทนายโจทก์ไม่แก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ลงลายมือชื่อในคำฟ้องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้ย่อมเป็นการไม่ชอบ มีผลทำให้กระบวนพิจารณาภายหลังจากนั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไปด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
of 75