คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระพงศ์ จิระภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 741 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4373/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหน่วยงานรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ - ไม่ใช่ความรับผิดนายจ้างลูกจ้าง
ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้เสียหายในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำไปในทางปฏิบัติหน้าที่ ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากหน่วยงานรัฐโดยตรง แต่ห้ามมิให้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่รัฐนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดดังเช่นในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่ จึงไม่อาจกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ แต่เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มิได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องหน่วยงานรัฐได้โดยเฉพาะ จึงต้องนำกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติที่ประชุมใหญ่สมาคม สิทธิในการโต้แย้ง และระยะเวลาการฟ้องร้องเพิกถอนมติ
การที่โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ลงมติออกเสียงในที่ประชุมลำพัง ซึ่งไม่ถูกต้องตรงตามกับความจริง เท่ากับโจทก์โต้แย้งว่ามติของที่ประชุมไม่ชอบ โจทก์ในฐานะสมาชิกของสมาคมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ในคราวนั้นได้ ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 100 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวเกินหนึ่งเดือน มติที่ประชุมใหญ่จึงมีผลใช้บังคับหาเสียไปไม่ และการที่จำเลยทั้งห้าร่วมประชุมและลงมติในการประชุมดังกล่าวจึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ โจทก์ครอบครองที่ดิน น.ส.3ก. ไม่สำเร็จ
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันโดยจำเลยที่ 1 ยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปี ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1382 จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินพิพาทกับโจทก์ หากแต่โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะโดยวิสาสะด้วยความสัมพันธ์ฉันญาติ แม้โจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์อันเนื่องมาจากโจทก์ครอบครองปรปักษ์แล้วหรือไม่ จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยตรงตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีแล้ว
ทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินเลขที่ 54893 ให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 นับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 ยังไม่ถึงสิบปี แม้โจทก์จะอ้างว่าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งในขณะนั้นทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 2623 ของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจนับระยะเวลาที่ครอบครองอยู่แต่เดิมมารวมเข้ากับระยะเวลาครอบครองที่ดินได้ เพราะการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่เฉพาะที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เท่านั้น ฉะนั้น ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไม่ว่าโจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การลาป่วยด้วยใบรับรองแพทย์ และการมอบหมายหน้าที่อื่นแทนการไปศาล
ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดให้พนักงานมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงาน ขึ้นไปนายจ้างอาจให้แสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ แม้ใบรับรองแพทย์ที่โจทก์นำมาแสดงจะมิใช่ของสถานพยาบาลของทางราชการ แต่ก็ออกโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง จึงเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย ไม่ถือว่าโจทก์ขาดงาน
การที่โจทก์ไม่เดินทางไปศาลตามหน้าที่ เนื่องจากโจทก์ทราบว่าจำเลยให้บุคคลอื่นไปแทนโจทก์แล้ว ถือว่าโจทก์มีเหตุที่จะไม่ไปศาลได้ และโจทก์ก็ได้เดินทางไปทำงานที่สำนักงานของจำเลย โดยแสดงใบรับรองแพทย์ถึงสาเหตุการหยุดงานเพราะป่วยต่อจำเลย จึงไม่เป็นการจงใจฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยชอบและการปฏิเสธการจดทะเบียน: การโต้แย้งสิทธิผู้ถือหุ้น
การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. ได้มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน โดยมีพยาน 2 คน ลงชื่อรับรองลายมือนั้น จึงถือว่าได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยก็มิได้กำหนดไว้ว่า การโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ไม่ได้เป็นการโอนหุ้นกันโดยมีเจตนาลวง เมื่อการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการแจ้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดปทุมธานี เปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยแทน ภ. จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588-3589/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบประเด็นค่าเสียหายที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น ถือเป็นการนำสืบนอกประเด็นและต้องห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่า โจทก์ทั้งสองไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนค่ารักษาพยาบาล ค่าทนทุกข์ทรมานและค่าเสียหายอื่นหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ได้ให้การไว้ จึงไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่ว่าโจทก์แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ตามสำเนารายงานกระบวนพิจารณา จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก: การยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลชอบที่จะไม่รับคำให้การได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องและออกหมายเรียกเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติว่า "ถ้าศาลเห็นว่าคดีนั้นปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งหรือไม่ ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่เว้นแต่มาตรา 190 จัตวา มาใช้บังคับแก่คดีเช่นว่านั้นได้ภายในบังคับต่อไปนี้ (1) ให้ศาลออกหมายเรียกไปยังจำเลยแสดงจำนวนเงินที่เรียกร้องและเหตุแห่งการเรียกร้องและให้จำเลยมาศาลและให้การในวันใดวันหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดโดยมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดี" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก กฎหมายกำหนดให้ศาลออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลและให้การในวันใดวันหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด หมายเรียกคดีนี้กำหนดให้จำเลยทั้งสองมาศาลและให้การแก้ข้อหาแห่งคดีในวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 เวลา 9 นาฬิกา ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่ก่อนถึงวันนัด 2 วัน จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 ขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก้ข้อหาแห่งคดีและนัดพิจารณาคดีออกไป 60 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ส่วนวันนัดพิจารณาคดีศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้เลื่อน จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจกำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การใหม่ได้จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2549 โดยมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (1) แล้ว เมื่อถึงวันนัดคู่ความมาศาล ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความแล้วแถลงว่าประสงค์จะเจรจาตกลงกัน ขอให้นำคดีเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้นำคดีเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยของศาล โดยนัดไกล่เกลี่ยวันที่ 18 สิงหาคม 2549 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนด แม้คดีจะอยู่ในระหว่างการไกล่เกลี่ยก็ไม่ทำให้ระยะเวลาในการยื่นคำให้การต้องขยายออกไป นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความในวรรคสอง (2) และ (3) แล้ว เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากโดยเร็วเท่าที่พึงกระทำได้ โดยห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอของจำเลยเพื่อเลื่อนเวลายื่นคำให้การหรือเพื่อเลื่อนคดี เว้นแต่จำเลยจะแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า คำขอของตนมีเหตุผลดีและสันนิษฐานได้เบื้องต้นว่า จำเลยมีข้อต่อสู้คดีอันสมควร การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้งในวันที่ 11 สิงหาคม 2549 เป็นการยื่นคำให้การเกินกำหนด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองชอบแล้วและโดยเหตุที่คดีไม่มีข้อยุ่งยากกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นมิได้กำหนดให้ศาลต้องสอบถามคำให้การของจำเลยเหมือนดั่งคดีมโนสาเร่ ทั้งจำเลยทั้งสองก็ขาดนัดยื่นคำให้การไปก่อนแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่มีหน้าที่ต้องสอบถามคำให้การจำเลยทั้งสองในวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ที่มีการสืบพยานโจทก์ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเรียกค่าเสียหายและการมอบอำนาจดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดิน ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องเดิมโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นปาล์มน้ำมันและเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันและปลูกสร้างอาคารสำนักงาน และที่พักคนงานและลูกจ้าง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งไม่มีสิทธิใด ๆ และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถนำที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินมาทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามอำนาจหน้าที่ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การแก้ไขคำฟ้องอันสืบเนื่องมาจากการกระทำตามฟ้องเดิม จึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 โดยหาจำต้องแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างได้เฉพาะการสละข้อหาในฟ้องเดิมบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์ไม่ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายนั้นชอบแล้ว
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 7 บัญญัติให้โจทก์เป็นทบวง มีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้แทนโจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินคดีแทนได้ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 และคำสั่งของโจทก์ที่ 767/2548 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ระบุแจ้งชัดว่า หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรก็จะมอบอำนาจให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดปฏิบัติราชการแทนก็ได้ ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมอบอำนาจช่วงให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นคดีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-ผู้รับประกันภัยรับผิด: ศาลฎีกาวินิจฉัยฟ้องไม่เคลือบคลุม ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์บรรยายคำฟ้องไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน วว 3951 กรุงเทพมหานคร ไว้จากจำเลยที่ 1 หรือผู้มีชื่อซึ่งมีข้อสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกอันเกิดจากการใช้รถยนต์คันดังกล่าวแทน และจำเลยที่ 1 ขับรถคันดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อทำให้รถยนต์โจทก์ถูกชนได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ ซึ่งคำฟ้องดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 และหรือผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย ด้วยเหตุที่มีข้อสัญญาระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้เอาประกันภัย ส่วนจำเลยที่ 1 หรือผู้มีชื่อผู้ใดจะเป็นผู้เอาประกันภัยนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3129/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการลาออก: ศาลพิจารณาว่าการเลิกจ้างถูกต้องหรือไม่ และดอกเบี้ยค่าชดเชย
การที่โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานต่อจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 โดยให้มีผลวันที่ 10 พฤษภาคม 2552 แม้จะเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งนายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายยินยอม แต่ในระหว่างสัญญาจ้างแรงงานยังมีผลบังคับนายจ้างและลูกจ้างยังคงมีนิติสัมพันธ์ต่อกันจนกว่าสัญญาจ้างแรงงานจะสิ้นผล เมื่อโจทก์จงใจทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายและประมาททำให้จำเลยที่ 1 เสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2552 ก่อนถึงวันที่การลาออกมีผลได้หาใช่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิให้โจทก์ออกจากงานก่อนครบกำหนดตามความประสงค์ที่โจทก์ได้แสดงเจตนาลาออกแต่อย่างใดไม่
of 75