พบผลลัพธ์ทั้งหมด 741 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกจ้างที่มีการจ่ายเงินชดเชย ไม่ขัดต่อกฎหมาย และมีผลผูกพันลูกจ้าง
เอกสารซึ่งมีข้อความที่แสดงให้เห็นว่า โจทก์ได้รับทราบการเลิกจ้างเป็นหนังสือจากจำเลยแล้ว และยังทราบว่าจำเลยตกลงจ่ายเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายต่าง ๆ จำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ แม้ในขณะนั้น โจทก์ยังคงเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่โจทก์ก็มีอิสระที่จะตัดสินใจได้โดยไม่อยู่ในภาวะที่จะต้องเกรงกลัวจำเลย หรือถูกบีบบังคับให้รับเงินต่าง ๆ ตามที่จำเลยเสนอให้ โดยโจทก์สามารถเลือกได้อย่างอิสระว่าจะตกลงยอมรับเงินจำนวนดังกล่าว หรือไม่ตกลงยอมรับแล้วไปใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินค่าจ้างและเงินอื่น ๆ ที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายจากจำเลยในภายหลัง ข้อตกลงที่โจทก์ยอมรับว่าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยอีกต่อไป จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ทั้งไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับและผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจช่วง: การมอบอำนาจช่วงต่อเกินขอบเขตทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามหนังสือมอบอำนาจ โจทก์มอบอำนาจให้ อ. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยระบุให้ อ. มีอำนาจทำการแทนโจทก์ในกิจการต่างๆ รวม 10 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 10 ระบุว่า ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจช่วง และให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้รับมอบอำนาจตามข้อ 1 ถึงข้อ 9 ทุกประการ อ. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจแต่งตั้ง พ. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงเพื่อกระทำกิจการตามข้อ 1 ถึงข้อ 9 แทนโจทก์ได้ แต่ไม่มีอำนาจที่จะมอบอำนาจช่วงต่อได้ พ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้ง ป. เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ การที่ พ. แต่งตั้ง ป. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงต่อเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนาของโจทก์ที่แสดงไว้ การมอบอำนาจช่วงต่อให้ฟ้องคดีจึงเป็นการกระทำที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงกระทำนอกเหนือขอบอำนาจ ป. ผู้รับมอบอำนาจช่วงต่อไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความนำสู้กันเท่านั้น การวินิจฉัยเรื่องสิทธิอุทธรณ์นอกประเด็นเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
โจทก์ (ลูกจ้าง) ฟ้องขอให้บังคับจำเลย (นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ) จ่ายค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง และเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือนโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้เฉพาะผู้มาทำงาน โจทก์ไม่ได้ทำงานระหว่างพักงานเพื่อสอบสวน ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง โจทก์กระทำความผิดจำเลยจึงลงโทษทางวินัยโจทก์ได้และไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานเพื่อสอบสวนตามข้อบังคับของจำเลย ประเด็นแห่งคดีมีว่า ระหว่างพักงานจำเลยมีสิทธิไม่จ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าจ้างแก่โจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ และโจทก์กระทำความผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยลงโทษโจทก์ตามคำสั่งลงโทษทางวินัยได้หรือไม่ เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินโดยอาศัยสิทธิในทางแพ่ง คู่ความไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจในการนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์หรืออำนาจในการออกคำสั่งของจำเลย
ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยยกเหตุที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจำเลยไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบไว้ในคำสั่งลงโทษทางวินัยขึ้นอ้างแล้วพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยของจำเลย โดยให้จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการนอกประเด็นและยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยยกเหตุที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจำเลยไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบไว้ในคำสั่งลงโทษทางวินัยขึ้นอ้างแล้วพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยของจำเลย โดยให้จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการนอกประเด็นและยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดชอบนายจ้างต่ออุบัติเหตุลูกจ้างขณะปฏิบัติงานนอกเส้นทางเพื่อแก้ไขความผิดพลาดของตนเอง
ลูกจ้างที่ประสบอันตรายและจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามมาตรา 5 ต้องเป็นลูกจ้างที่ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง การที่โจทก์ขับรถบรรทุกไปส่งวัสดุก่อสร้างที่บ้านของลูกค้านายจ้างแล้วขับรถออกนอกเส้นทางเพื่อไปยืมเงินเพื่อนบิดาของโจทก์ ทำให้รถของนายจ้างติดหล่ม โจทก์จึงขับรถจักรยานยนต์ไปตามเพื่อนมาช่วยยกรถที่ติดหล่ม และประสบอุบัติเหตุชนกับรถจักรยานยนต์อื่นที่วิ่งตัดหน้าในระหว่างที่ขับรถจักรยานยนต์ไปตามเพื่อนจนทำให้ตาขวาของโจทก์บอดสนิท สมองช้ำ นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขับรถของนายจ้างไปทำธุระส่วนตัวอันเป็นการกระทำนอกทางการที่จ้าง เมื่อโจทก์ขับรถของนายจ้างไปติดหล่มย่อมเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่โจทก์จะต้องแก้ไขความผิดพลาดอันเกิดจากการกระทำของตนเองและจำเป็นต้องจัดการเอารถของนายจ้างขึ้นจากหล่มให้ได้เพื่อปกปิดมิให้นายจ้างทราบว่าตนเองขับรถของนายจ้างออกนอกเส้นทางไปทำธุระส่วนตัว โดยนายจ้างไม่ทราบว่าโจทก์แอบขับรถของนายจ้างไปทำธุระส่วนตัวนอกทางการที่จ้าง ดังนี้ การประสบอุบัติเหตุของโจทก์เพราะสาเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการประสบอันตรายตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยกรณีจำเลยให้การรับสารภาพแล้วมาฎีกาปฏิเสธความผิด และศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิสูจน์ความผิดจำเลย
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นลงโทษประหารชีวิต จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จะกลับมาฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้างชอบธรรม แม้มีการมอบหมายงานชั่วคราวทดแทนพนักงานลาออก โดยไม่เพิ่มภาระเกินควร
แม้ขอบเขตการทำงานของโจทก์กับ อ. จะมีหน้าที่แตกต่างกันก็ตาม แต่ตามขอบเขตการทำงานของโจทก์ในข้อ 1 ระบุให้โจทก์ต้องดูแลงานส่วนของ อ. ด้วย หลักการทำงานหาก อ. ลาออก โจทก์ในฐานะผู้บังคับบัญชา ต้องเข้าไปดูแลงานของ อ. ก่อน เมื่อตามสัญญาจ้างแรงงานมีลักษณะสำคัญที่จำเลยในฐานะนายจ้างมีสิทธิที่จะใช้อำนาจบังคับบัญชาโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง และอำนาจที่นายจ้างใช้นั้นต้องเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานแทน อ. ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ลาออกไปเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหาพนักงานใหม่มาแทนได้ เนื่องจากตำแหน่งงานของ อ. มีความสำคัญที่จะต้องสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาแทน จึงเป็นการใช้อำนาจบังคับบัญชาอันจำเป็นและมีเหตุพอสมควรแก่กรณี คำสั่งดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ซึ่งโจทก์ยินยอมทำงานแทน อ. และคำสั่งนั้นมิได้เพิ่มภาระแก่โจทก์เกินสมควร เมื่อโจทก์ทำงานแทน อ. ชั่วคราว โจทก์ยังคงใช้เวลาทำงานในแต่ละวันเท่าเดิมเหมือนกับที่โจทก์ใช้เวลาทำงานตามตำแหน่งของโจทก์ในแต่ละวัน การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานที่ทำกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนกรณีบุตรผู้เสียชีวิตยื่นคำร้องล่าช้า และสถานะความเป็นบุตรโดยมิได้มีผลต่อสิทธิ
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างคือ (3) บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่เมื่อมีอายุครบ 18 ปี แต่ยังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรีให้ได้รับส่วนแบ่งเงินทดแทนต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ เป็นบทบัญญัติที่ถือเอาอายุและการศึกษาเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน ไม่ได้บัญญัติว่าต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (3) จึงต้องถือเอาความเป็นบุตรตามความเป็นจริง
มาตรา 49 บัญญัติให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย แต่ไม่ได้บัญญัติว่าหากไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินทดแทนระงับสิ้นไป ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน จึงเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ ดังนั้นแม้โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนเกิน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ตายประสบอันตรายโจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
มาตรา 49 บัญญัติให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย แต่ไม่ได้บัญญัติว่าหากไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินทดแทนระงับสิ้นไป ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน จึงเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ ดังนั้นแม้โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนเกิน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ตายประสบอันตรายโจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำผิดสัญญาใช้ไฟฟ้า ไม่ใช่หนี้ค่าไฟฟ้าตามปกติ
แม้โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการค้า แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 อันเป็นธุรกิจทางการค้าตามปกติของโจทก์ ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาการใช้ไฟฟ้า โดยมีการสลับสายนิวตรอนทางด้านเข้าเครื่องวัดแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้า และสร้างสายดินพิเศษภายในบ้านนำกระแสไฟฟ้าไปใช้กับเครื่องปรับอากาศ มีผลทำให้เครื่องวัดแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าความเป็นจริง อันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปเพิ่มอีกร่วมกับจำเลยที่ 2 ก็หาใช่เป็นการเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระไม่ แต่เป็นการฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยถือเอาค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปมาเป็นค่าสินไหมทดแทน จึงไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ที่ต้องฟ้องต่อศาลภายในกำหนดอายุความ 2 ปี แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการต่อละเมิดของตัวแทน และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันโจทก์
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 ชุมพร รับจ้างบรรทุกสินค้าอันเป็นการประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าว ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนของตนได้กระทำไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 และ 820
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในการเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานขับรถโดยประมาท อันทำให้คดีส่วนอาญาเลิกกัน แม้จะมีข้อความบันทึกไว้ตอนต้นว่าคู่กรณีทั้งสามฝ่ายตกลงเรื่องค่าเสียหายกัน ผลการตกลงฝ่ายรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 ชุมพร ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นคนขับขณะเกิดเหตุยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายโดยจะซ่อมรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 6 ฎ - 0967 กรุงเทพมหานคร และรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิม ส่วนค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจะไปดำเนินการกันเองกับบริษัทประกันภัยก็ตาม แต่ผู้ลงชื่อท้ายบันทึกฝ่ายรถบรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 กรุงเทพมหานคร ได้แก่ จำเลยที่ 1 ผู้ชดใช้และฝ่ายรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร คือ ม. พนักงานขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ผู้รับชดใช้ โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่า ม. ทำบันทึกข้อตกลงในฐานะตัวแทนของโจทก์ ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 บังคับว่าสัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และมาตรา 798 วรรคสอง บัญญัติว่า กิจการอันใดท่านบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ดังนี้ข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 จึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันอันจะมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 แต่มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในการเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานขับรถโดยประมาท อันทำให้คดีส่วนอาญาเลิกกัน แม้จะมีข้อความบันทึกไว้ตอนต้นว่าคู่กรณีทั้งสามฝ่ายตกลงเรื่องค่าเสียหายกัน ผลการตกลงฝ่ายรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 ชุมพร ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นคนขับขณะเกิดเหตุยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายโดยจะซ่อมรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 6 ฎ - 0967 กรุงเทพมหานคร และรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิม ส่วนค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจะไปดำเนินการกันเองกับบริษัทประกันภัยก็ตาม แต่ผู้ลงชื่อท้ายบันทึกฝ่ายรถบรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 กรุงเทพมหานคร ได้แก่ จำเลยที่ 1 ผู้ชดใช้และฝ่ายรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร คือ ม. พนักงานขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ผู้รับชดใช้ โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่า ม. ทำบันทึกข้อตกลงในฐานะตัวแทนของโจทก์ ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 บังคับว่าสัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และมาตรา 798 วรรคสอง บัญญัติว่า กิจการอันใดท่านบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ดังนี้ข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 จึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันอันจะมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 แต่มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21627/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทต้องมีการใส่ความต่อบุคคลที่สาม การพิมพ์ข้อความในคอมพิวเตอร์ที่อาจมีผู้อื่นเห็น ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยเป็นผู้พิมพ์หนังสือร้องเรียนถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เรื่องอุทธรณ์คำสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าทำงาน แม้ข้อความโดยรวมเป็นการกล่าวหาผู้เสียหายซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านโตนดและเป็นผู้บริหารสูงสุดของเทศบาลตำบลบ้านโตนดว่ารับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็นพนักงานเทศบาลไม่โปร่งใส เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นซึ่งไม่เป็นความจริง อันเป็นการใส่ความผู้เสียหายก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำต่อบุคคลที่สาม กลับได้ความเพียงว่า ก. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลบ้านโตนดไปพบหนังสือร้องเรียนดังกล่าวที่หน้าคอมพิวเตอร์ห้องงานคลังด้วยตนเอง โดยจำเลยมิได้นำออกมาแสดงต่อ ก. เพื่อให้ทราบข้อความในเอกสารนั้น ส่วน ศ. พนักงานขับรถของผู้เสียหายก็เพียงแต่สงสัยว่าจำเลยจะเป็นผู้พิมพ์หนังสือร้องเรียนดังกล่าวเท่านั้น ทั้งจำเลยยังไม่ได้ส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยทราบ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326