คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,605 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเนื่องจากคำนวณค่าเสียหายจากการเลิกจ้างผิดพลาดจากบัญชีรวมพิจารณาคดี
ตามคำฟ้องของโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จำนวน 170,512 บาท แต่เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งให้นำคดีนี้รวมพิจารณาคดีเดียวกับคดีอื่นแล้ว ศาลแรงงานกลางได้จัดทำบัญชีสำหรับรวมพิจารณาโดยนำรายละเอียดต่างๆ ในคำฟ้องแต่ละสำนวนมาลงไว้ ซึ่งในช่องคำขอท้ายฟ้องในบัญชีดังกล่าวลงรายการว่าโจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังกล่าวเพียงจำนวน 17,052 บาท โดยจำนวนเงินดังกล่าวไม่ปรากฏในคำฟ้องหรือคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาด เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเงินค่าเสียหายที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้โจทก์คนอื่นในคดีรวมพิจารณา ปรากฏว่ากำหนดค่าเสียหายจากการนำอัตราค่าจ้างสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานโดยประมาณ ยกเว้นโจทก์บางคนในคดีรวมพิจารณามีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายต่ำกว่าจำนวนที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็จะกำหนดให้ไม่เกินตามคำขอท้ายฟ้อง แต่กรณีของโจทก์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพียงคนเดียว โดยหากคำนวณตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้วจะได้จำนวนที่สูงกว่า 17,052 บาท ตามที่ลงไว้ในบัญชีสำหรับรวมพิจารณาเป็นจำนวนมาก แต่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับจำนวนเงินที่ลงไว้ในบัญชีดังกล่าวโดยไม่ปรากฏว่าเป็นเพราะเหตุใด แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นการนำข้อผิดพลาดในบัญชีดังกล่าวมากำหนดเป็นค่าเสียหาย จึงให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้โจทก์ใหม่โดยคำนึงถึงจำนวนเงินที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลพิจารณาเหตุผลที่แท้จริงของการเลิกจ้าง นอกเหนือจากเหตุตามที่นายจ้างอ้าง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ในฐานะผู้จัดการแผนกรับรถได้รับเรื่องการสั่งซ่อมรถยนต์คันพิพาทจากแผนกควบคุมแล้ว โจทก์มีหน้าที่ส่งเรื่องพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพื่อเคลมค่าอะไหล่กับบริษัทผู้รับประกันภายในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ไม่กระทำ ถือว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 อันเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว
ส่วนการพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างอันแท้จริงของนายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างอาจจะไม่ใช่เหตุตามคำให้การของจำเลยหรือที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ก็ได้ และเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาการเลิกจ้างนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุใดและเป็นธรรมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอาประกาศเรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.3 และหนังสือแจ้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.4 มาวินิจฉัยประกอบทางนำสืบของโจทก์ว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นผลมาจากจำเลยไม่พอใจที่จำเลยขอเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานปกติของโจทก์แล้ว แต่โจทก์โต้แย้งคัดค้านและยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานของโจทก์ได้ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อตามที่จำเลยให้การต่อสู้ได้ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต & การรับสภาพหนี้จากการหักบัญชีโดยมิได้รับความยินยอม
หนี้จากการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ หรือหนี้จากการถอนเงินสด ล้วนเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตด้วยกัน จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ไม่อาจแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้
การรับสภาพหนี้โดยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ดังนั้น การที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตอันเป็นการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ โดยมิได้มีข้อตกลงกันไว้ขณะทำสัญญา ดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจะถือว่าจำเลยยินยอมในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ กรณีไม่ถือว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนอันเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและการรับฟังพยานหลักฐานเอกสารการชำระเงินที่ไม่ใช่ต้นฉบับ
เอกสารการรับชำระเงิน เป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากต้นฉบับที่เก็บไว้ที่สาขาของโจทก์ อันแสดงให้เห็นว่าต้นฉบับเอกสารยังมีอยู่ที่สาขาของโจทก์ เมื่อจำเลยแถลงว่าเอกสารดังกล่าวที่โจทก์อ้างส่งเป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากสำเนาอีกครั้งหนึ่ง ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนี้ โจทก์จะต้องนำต้นฉบับเอกสารมาอ้าง การที่โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสาร โดยที่ยังสามารถนำต้นฉบับเอกสารมาอ้างได้ เช่นนี้ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามที่ปรากฏในเอกสารการรับชำระเงินดังกล่าว กรณียังไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ที่จะรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4101/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางท่อปิโตรเลียม: การดำเนินการตามกฎหมาย PPA และการกระทำในฐานะตัวแทน
โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 มาตรา 5, 7, 29, 30 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจะเข้าดำเนินการวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อด้วยตนเองหรือตั้งตัวแทน ตัวแทนค้าต่างเข้าไปดำเนินการแทนก็ได้ หาได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะว่าการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยต้องเข้าไปดำเนินการด้วยตนเองเท่านั้นไม่ เมื่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้ประกาศเรื่องการสำรวจเพื่อการสร้างระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบพร้อมทั้งให้โจทก์ไปรับค่าทดแทนแล้ว จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายครบถ้วนทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาให้ใช้สิทธิในแนวเขตระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย แล้วเข้าไป ขุด วางท่อขนส่งปิโตรเลียมและลำเลียงส่งปิโตรเลียมผ่านทางท่อขนส่งในที่ดินโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินจากการบังคับคดีล่าช้า และผลกระทบต่อการลงทุนของผู้ซื้อ
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาททั้งสามแปลงจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จะร้องขอให้ยกเลิกการขายที่ดินพิพาท และให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายและส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องได้ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านการขายทอดตลาดมาโดยตลอด ทำให้ผู้ร้องไม่สามารถพัฒนาที่ดินพิพาทเพื่อขายในทางธุรกิจได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายไปจนกว่าศาลจะพิพากษาคดีที่จำเลยที่ 2 ร้องคัดค้านการขายทอดตลาดจะถึงที่สุดซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง 10 ปีหาได้ไม่ เพราะข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้ร้องมิได้เป็นข้อกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค 4 ลักษณะ 2 อันว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายเมื่อคดีถึงที่สุด: การชำระค่าจ้างตามผลสำเร็จของงาน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาอาจจะตกลงเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือขั้นตอนในการชำระหนี้กันอย่างไรก็ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ตกลงชำระค่าจ้างว่าความให้แก่โจทก์เมื่อใดจึงต้องชำระค่าจ้างว่าความให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จกล่าวคือเมื่อคดีถึงที่สุด
โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเงื่อนไขการชำระเงินค่าจ้างว่าความไว้เป็นส่วนๆ ว่าโจทก์ทำการงานถึงขั้นตอนใดๆ จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์จำนวนเท่าใด หรือเมื่อคดีเสร็จเด็ดขาดในขั้นต้นใด จำเลยทั้งสองจะต้องชำระค่าจ้างว่าความแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใด อันเป็นการตกลงให้ค่าจ้างตามผลแห่งการงานที่ทำ จึงต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงจ้างว่าความกันโดยคำนึงถึงผลสำเร็จของการงานที่ทำเป็นประการสำคัญ โดยไม่คำนึงว่าการงานที่ให้ทำนั้นจะสำเร็จเมื่อใด ในขั้นตอนใด ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำการงานโดยดำเนินคดีให้แก่จำเลยทั้งสองจนจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับคู่กรณีได้ และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุด ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ทำการงานสำเร็จตามที่ตกลงว่าจ้างกันแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ ผลสำเร็จคือคดีถึงที่สุด ค่าจ้างต้องจ่ายเมื่อผลสำเร็จนั้นเกิดขึ้น
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 จึงถือเอาผลสำเร็จของงาน คือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความจนคดีถึงที่สุด และการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น คู่สัญญาอาจจะตกลงเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือขั้นตอนในการชำระหนี้กันอย่างไรก็ได้หากไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีประชาชน เมื่อไม่ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยตกลงจะชำระค่าจ้างว่าความเมื่อใด จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างว่าความเมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ คือเมื่อคดีถึงที่สุด เมื่อคดีที่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2542 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างว่าความแก่โจทก์ในวันที่ 28 ธันวาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง หาใช่นับแต่วันที่โจทก์บังคับคดีให้แก่จำเลยเสร็จไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215-2234/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าชดเชยครูเอกชน: ศาลพิจารณาเหตุผลการจ่ายเงินอุดหนุนเกินจริง และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ หมวด 7 จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 19 ถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 19 จึงมีอำนาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 8 ได้โดยไม่จำต้องเสนอข้อขัดแย้งให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานวินิจฉัยชี้ขาดตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ ก่อน โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 19 จึงมีอำนาจฟ้อง
โรงเรียนของจำเลยได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน (เพิ่มเติม) จากงบประมาณสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเพื่อปรับเงินเดือนให้ครู วันที่ 18 สิงหาคม 2548 จำเลยนำเงินอุดหนุนของเดือนเมษายน 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม 2548 เข้าบัญชีโจทก์คนละ 12,222 บาท แล้วถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์คนละ 5,515.51 บาท ในวันเดียวกันโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบวันที่ 30 สิงหาคม 2548 โจทก์ทั้งยี่สิบจึงไปร้องทุกข์ให้สอบสวนหาข้อเท็จจริง ดังนี้ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ถอนเงินออกจากบัญชีของโจทก์ทั้งยี่สิบโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2548 ที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงเป็นเวลาถึง 12 วัน จำเลยมีเวลาพอที่จะชี้แจงเหตุผลที่ถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบได้แต่ก็ไม่กระทำ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากความบกพร่องของจำเลย และมีเหตุสมควรที่โจทก์ทั้งยี่สิบจะติดตามหาสาเหตุที่เงินในบัญชีของตนถูกถอนไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งยี่สิบจงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาต (จำเลย) ได้รับความเสียหายและทำให้โรงเรียนของจำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียงตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 34 (2) (5) ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัย และหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 6 (5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบด้วยเหตุนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบ
เมื่อจำเลยจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิเข้าบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบโดยใช้ฐานการคำนวณจากอัตราเดือนละ 900 บาท เป็นเงินคนละ 12,222 บาท แต่จำเลยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนไม่ถึงอัตราเงินเพิ่มตามวุฒิ อีกทั้งจำเลยไม่ผูกพันต้องจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิในอัตราเดือนละ 900 บาท แก่โจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยชอบที่จะจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบตามสัดส่วนของเงินที่ได้รับ การที่จำเลยจ่ายเงินอุดหนุนให้โจทก์ทั้งยี่สิบเกินส่วนที่ได้รับโดยนำเงินของจำเลยสมทบเพิ่มไปด้วยจึงเป็นการจ่ายโดยผิดหลง จำเลยจึงชอบที่จะติดตามเอาเงินของจำเลยที่จ่ายสมทบเพิ่มคืน จำเลยชี้แจงเหตุผลแก่โจทก์ทั้งยี่สิบและครูทั้งโรงเรียนแล้วเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 และวันที่ 2 กันยายน 2548 ว่าจำเลยได้รับเงินอุดหนุนมาไม่พอ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบยังคงยืนยันร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์และยืนยันให้ดำเนินคดีแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ทั้งยี่สิบเป็นบุคคลไม่ยอมรับฟังเหตุผลและความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เหมาะสมแก่การเป็นครู (อาจารย์) ผู้สั่งสอนถ่ายทอดความรู้และจริยธรรมให้แก่นักเรียนผู้เป็นศิษย์ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 6 กำหนดไว้ในข้อ (1) มิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู จำเลยเป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน โจทก์ทั้งยี่สิบเป็นครู (อาจารย์) จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่ศาลแรงงานภาค 8 พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 จึงไม่ถูกต้อง ค่าชดเชยที่จำเลยต้องรับผิดจ่ายแก่โจทก์ทั้งยี่สิบต้องบังคับตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การรับรู้ความผิดของผู้เสียหายเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
จำเลยชักชวนโจทก์ร่วมให้ลงทุนทำธุรกิจกับจำเลย โดยอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ของโรงแรมเพื่อจัดแสดงสินค้าหัตถกรรมไทยให้ชาวต่างประเทศมาซื้อและนำไปทำกล่องปากกาย่านลิเภาส่งให้บริษัท ก. พร้อมกับนำหลักฐานการติดต่อโรงแรมและบริษัท ก. มาให้ดู โจทก์ร่วมจึงโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยรวม 13 ครั้ง จากนั้นโจทก์ร่วมก็ไม่เห็นว่าจำเลยจะดำเนินการใดๆ และคอยติดตามทวงถามจำเลยว่าดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจไปมากน้อยเพียงใด จำเลยบ่ายเบี่ยงว่ากำลังติดต่ออยู่และยังดำเนินการไม่เสร็จ โจทก์ร่วมจึงทวงเงินคืน แต่แทนที่จำเลยจะคืนเงินกลับสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ร่วมสองฉบับ ซึ่งนับแต่วันที่ 28 เมษายน 2543 อันเป็นวันที่โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยครั้งแรกถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2543 อันเป็นวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คฉบับแรกให้โจทก์ร่วมนั้นก็เป็นระยะเวลาหลายเดือน โจทก์ร่วมย่อมน่าจะรู้แต่นั้นแล้วว่าจำเลยหลอกลวงเอาเงินไปโดยมิได้ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจตามที่ชักชวนไว้ ครั้นโจทก์ร่วมนำเช็คทั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินธนาคารก็ปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมทวงถาม แต่จำเลยผัดผ่อนว่าจะนำเงินสดมาชำระคืนและขอให้โจทก์ร่วมไม่ดำเนินคดีตามกฎหมายอีก จึงเป็นพฤติการณ์ที่มาสนับสนุนให้โจทก์ร่วมรู้แน่ชัดยิ่งขึ้นอีกว่าถูกจำเลยหลอกลวงแล้ว การที่จำเลยผัดผ่อนว่าจะนำเงินสดมาชำระคืนและขอให้โจทก์ร่วมไม่ดำเนินคดีตามกฎหมายนั้นไม่เป็นผลลบล้างการรับรู้ของโจทก์ร่วมที่ถูกจำเลยหลอกลวง แต่วันที่โจทก์ร่วมไปทวงถามเงินคืนจากจำเลยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด จึงต้องถือเอาวันที่ 10 ตุลาคม 2543 อันเป็นวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คฉบับแรกให้โจทก์ร่วมเป็นวันที่โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์ร่วมแล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จึงเกินกว่า 3 เดือน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
of 161