คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,605 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกในที่ดินที่ยกให้ผู้อื่น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องรื้อถอนหากไม่ใช่เจ้าของบ้าน
บ้านพิพาทอยู่ในที่ดินที่ ท. จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้ ด. บุตรจำเลยโดยมิได้ระบุว่ายกให้แต่ที่ดินมิได้ยกบ้านพิพาทให้ด้วย ด. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจึงมีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 แม้จำเลยจะมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านพิพาทในฐานะเจ้าบ้านก็มิใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตามกฎหมาย การที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทส่วนที่รุกล้ำออกไปแต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม โจทก์จึงฟ้องจำเลยไม่ได้ เนื่องจากจำเลยมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาท แม้จำเลยจะอยู่ในบ้านพิพาทด้วยก็ถือว่าอยู่ในฐานะบริวารของ ด. จำเลยไม่ได้เป็นผู้โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย และจำเลยก็ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ไม่ตรงตามความประสงค์, ความประมาทเลินเล่อของผู้รับมอบ, และผลกระทบต่อค่าสินไหมทดแทน
จำเลยทำสัญญาขายอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อทรอนให้แก่โจทก์ จำเลยจะมอบสินค้ายี่ห้ออื่นแก่โจทก์มิได้ แม้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติการใช้งานเหมือนกันก็ตาม เมื่อจำเลยส่งมอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้ออื่น จึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ แต่ ว. พนักงานของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ตรวจรับมอบสินค้า มิได้ตรวจสอบสินค้าให้รอบคอบก่อนว่าเป็นยี่ห้อตรงตามสัญญาหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของ ว. ตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อของ ว. ด้วยตาม ป.พ.พ มาตรา 223 วรรคสอง ประกอบมาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยสินค้าผิดยี่ห้อ, ความประมาทเลินเล่อของผู้รับมอบสินค้า, และการแบ่งความรับผิดชอบของเจ้าหนี้
การที่จำเลยทำสัญญาขายอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อหนึ่งให้แก่โจทก์ จำเลยก็ต้องส่งมอบสินค้ายี่ห้อนั้น จะส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่นไม่ได้ แม้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติการใช้งานเหมือนกันก็ตาม เมื่อจำเลยส่งมอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อซึ่งมิใช่ยี่ห้อที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ แต่การที่ ว. พนักงานโจทก์ผู้ตรวจรับมอบสินค้าจากจำเลยตรวจสอบเฉพาะรุ่นของสินค้าและจำนวนเท่านั้น โดยมิได้ตรวจสินค้าให้รอบคอบก่อนว่าเป็นยี่ห้อตรงตามสัญญาซื้อขายหรือไม่ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของ ว. พนักงานโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อของ ว. ตัวแทนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคสอง ประกอบมาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับเมื่อกรรมการผู้มีอำนาจของนิติบุคคลทราบเหตุ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ย่อมต้องแสดงออกโดยผู้แทนของโจทก์คือกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง ส่วน ส. ตำแหน่งพนักงานซ่อมบำรุงเครือข่ายและ พ. ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายซ่อมข่ายสายฉุกเฉินนั้นเป็นเพียงพนักงานของโจทก์ แม้จะฟังว่าบุคคลทั้งสองได้รับทราบเหตุละเมิดและ พ. ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งซ่อมได้ดำเนินการจ้างบริษัท บ. เข้าซ่อมแซมจนแล้วเสร็จ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำในฐานะที่เป็นตัวแทนของบริษัทโจทก์และรับรู้ว่าบริษัทโจทก์ถูกบริษัทจำเลยกระทำละเมิดตั้งแต่วันเกิดเหตุ คือวันที่ 15 มิถุนายน 2540 แต่ ส. และ พ. ก็มีอำนาจเฉพาะในกรอบอำนาจหน้าที่ของตนเท่านั้นและไม่มีอำนาจที่จะฟ้องคดีแก่จำเลยในกรณีที่จำเลยไม่ชำระค่าซ่อมแซมให้แก่โจทก์จึงไม่อาจถือได้ว่า ส. และ พ. เป็นผู้แทนของบริษัทโจทก์ในการรับรู้เรื่องอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ด้วย ดังนั้น อายุความ 1 ปี จึงเริ่มนับแต่กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่ ส. หรือ พ. รู้ เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ผู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 10 สิงหาคม 2541 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายที่ดินจากผู้ครอบครองเดิม และการจดทะเบียนสิทธิครอบครอง
โจทก์เข้าไปทำสวนลำไยในที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิของ น. โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก น. และจดทะเบียนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ทั้ง น. ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองแล้วโดยจ้างให้คนดายหญ้าปีละ 2 ครั้ง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถในการฟ้องคดีของผู้พิการและการรับผิดของนายจ้างในคดีละเมิด
อำนาจฟ้องในคดีนี้เป็นของโจทก์ซึ่งเกิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างหรือตัวแทนของจำเลย แต่เนื่องจากโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสกายพิการและสมองได้รับการกระทบกระเทือนจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จนถึงวันฟ้อง ว. ภริยาโจทก์จึงฟ้องคดีนี้แทนในนามของโจทก์ซึ่งก็ปรากฏตามคำฟ้องว่า ก่อนฟ้องคดีนี้ ว. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และตั้ง ว. เป็นผู้พิทักษ์ แต่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางยังไม่ได้มีคำสั่ง และต่อมาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำสั่งว่า อาการของโจทก์ไม่ใช่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่เข้าลักษณะบุคคลวิกลจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 28 จึงมีคำสั่งว่า โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของ ว. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นคนวิกลจริตมาตั้งแต่ ว. ยื่นคำร้องขอดังกล่าว ดังนั้น ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์จึงเป็นบุคคลวิกลจริตซึ่งถือว่าเป็นผู้ไร้ความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 โจทก์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยต้องมีผู้อนุบาลเป็นผู้ทำการแทน แต่ตอนยื่นฟ้องยังไม่มีคำสั่งศาลตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาลโจทก์ ว. จึงไม่มีสิทธิทำการแทนเท่ากับโจทก์เสนอข้อหาเอง อันเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถเท่านั้น มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาลโจทก์ ว. จึงมีอำนาจที่จะทำการแทนโจทก์ในการเสนอข้อหาของโจทก์ได้ การบกพร่องในเรื่องความสามารถนี้แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามมาตรา 56 เมื่อได้แก้ไขโดยร้องขอต่อศาลและศาลมีคำสั่งตั้งให้ ว. เป็นผู้อนุบาลมีอำนาจทำการแทนโจทก์แล้ว เหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถก็หมดไป ทำให้การฟ้องคดีแทนโจทก์ที่บกพร่องมาแต่ต้นเป็นอันสมบูรณ์ด้วยการแก้ไขนี้แล้ว
จำเลยทำละเมิดแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสกายพิการ สมองได้รับความกระทบกระเทือนจนศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เสียความสามารถประกอบการงานอย่างสิ้นเชิงทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต้องลาออกจากราชการ แม้โจทก์นำสืบความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ส่วนที่จำเลยอ้างว่าหากไม่เกิดเหตุละเมิดก็ไม่แน่ว่าโจทก์จะรับราชการจนเกษียณหรือไม่ และอาจได้รับเงินบำเหน็จบำนาญนั้น ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับโดยชอบอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย
ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเป็นค่าเครื่องรับโทรทัศน์และตู้เย็นในห้องพักผู้ป่วยเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกอันจำเป็นแก่ผู้ป่วยและคนเฝ้าไข้ ทั้งโรงพยาบาลได้จัดเตรียมไว้ให้ใช้ในห้องอยู่แล้ว ถือเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่โจทก์ต้องเสียไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10458-10663/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการปรับเงินเดือนตามโครงสร้างใหม่หลังพ้นสภาพการจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิแม้มีการอนุมัติในหลักการ
จำเลยกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ ซึ่งต่อมาจำเลยได้ปรับโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าว และพนักงานของจำเลยรวมทั้งโจทก์คดีนี้ได้รับการปรับเงินเดือนครั้งนี้แล้ว ส่วนการปรับโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนของจำเลยอีกครั้งหลังการปรับตามข้อตกลง ปรากฏว่ามีการดำเนินการจนเสร็จสิ้นตามขั้นตอนหลังจากโจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการปรับเงินเดือนครั้งหลังด้วย (ฎ.7724 - 8191/2550)
of 161