คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,605 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8815/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารอันเกิดจากการแจ้งความเท็จ และการลงโทษซ้ำซ้อนในความผิดอาญา
เอกสารอันเกิดจากการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ คือ รายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหาย มิใช่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นเอกสารที่เป็นผลมาจากการแจ้งดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แสดงต่อธนาคาร พ. สาขาบ้านไร่ จึงไม่ใช่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8542/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การร่วมกันกระทำผิด และการใช้คำรับสารภาพที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นั่งรถคันเดียวกันมาที่ร้านอาหาร แล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เจรจาตกลงขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ดาบตำรวจ ก. ต่อมาสิบตำรวจโท ป. พาจำเลยที่ 3 ไปตรวจนับเงินค่าเมทแอมเฟตามีน วันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาที่จุดนัดหมาย จำเลยที่ 1 ตรวจนับเงิน จำเลยที่ 2 พาสิบตำรวจโท ป. ไปรับเมทแอมเฟตามีนที่สถานีบริการน้ำมันคิวเอท ส่วนจำเลยที่ 4 นำเมทแอมเฟตามีนมามอบให้จำเลยที่ 2 ที่สถานีบริการน้ำมันคิวเอทและจำเลยที่ 2 ส่งมอบต่อให้สายลับในทันที พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสี่ฟังได้ว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันรู้เห็นเป็นใจและแบ่งหน้าที่กันทำมาตั้งแต่ต้น
ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนซึ่งเจ้าพนักงานไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ทราบก่อนและไม่ได้แจ้งว่าจะไม่ให้การก็ได้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 นั้น เห็นว่า มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 ได้มีการแก้ไขโดยพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 ได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: ประเด็นการแย่งการครอบครองและสิทธิในที่ดินเมื่อมีการอ้างสิทธิโดยคู่กรณี
จำเลยให้การว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพราะผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบิดายกให้และจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ส่วนผู้ร้องสอดร้องสอดว่า ครอบครองที่ดินพิพาทเพราะบิดายกให้ ผู้ร้องสอดทำประโยชน์ตลอดมาและแบ่งที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่จำเลยปลูกบ้านพักอาศัย เมื่อโจทก์ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยและผู้ร้องสอดคัดค้านจนเจ้าพนักงานที่ดินไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องขอปลดเปลื้องการครอบครองเกินเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง จึงเสียสิทธิในการฟ้องคดี ดังนี้ คดีไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินที่เป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนเองและได้ครอบครองทำประโยชน์เอง จึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง จึงไม่มีสิทธิฟ้องเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น ย่อมไม่ชอบ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและขัดแย้งกับข้อต่อสู้ในคำให้การและคำร้องสอด ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีวันที่ออก สลักหลังลงวันที่ภายหลัง ไม่เป็นความผิดอาญา
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ถือได้ว่าไม่มีวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็คกระทำความผิด การที่จำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายตามที่ตกลงกับโจทก์ร่วมในภายหลัง เป็นเพียงแต่ให้เช็คมีรายการต่างๆ สมบูรณ์ตามกฎหมายเพื่อฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง หาทำให้กลับมาเป็นความผิดทางอาญาไม่ แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คกับจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังร่วมกันออกเช็คนั้นก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ต้องทำหลังศาลมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ มิใช่ก่อน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตในคำร้องขออนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น ซึ่งเป็นดุลพินิจเฉพาะตัวจะอุทธรณ์ไม่ได้ ทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ทำอุทธรณ์ฉบับใหม่หาได้มีผลเป็นการสั่งรับอุทธรณ์หรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ แต่ศาลชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่เข้ามาเฉพาะฐานความผิดของจำเลยที่ 1, ที่ 3, ที่ 4, และที่ 7 ที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพื่อศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับใหม่ต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ แต่โจทก์กลับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้น โดยมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปโดยไม่ได้โต้แย้งว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ทำอุทธรณ์ฉบับใหม่ไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ถูกขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามลักทรัพย์: การกระทำยังไม่สำเร็จ ความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ และการพิสูจน์ความร่วมมือ
จำเลยที่ 1 เพียงแต่นั่งคร่อมรถจักรยานยนต์เพื่อจะใช้กุญแจผีไขรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายโดยยังไม่ได้เอารถออกไป เป็นการลงมือลักทรัพย์แล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะเจ้าพนักงานตำรวจและผู้เสียหายมาถึงที่เกิดเหตุก่อน ทำให้จำเลยที่ 1 เอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปไม่ได้ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ในเวลากลางคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่มีเจตนาให้สินบนเจ้าพนักงาน และการเป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง
การที่จำเลยหลอกลวงโจทก์ทั้งสองว่าจำเลยสามารถวิ่งเต้นพนักงานอัยการและผู้พิพากษา ล้มคดีให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ และเรียกเอาเงินเพื่อนำไปให้พนักงานอัยการและผู้พิพากษาเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสองหลงเชื่อและได้มอบเงินจำนวน 58,000 บาทแก่จำเลยไป การกระทำของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน และถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองใช้ให้จำเลยกระทำผิด แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้นำเงินไปเป็นค่าวิ่งเต้นคดีก็ตาม โจทก์ทั้งสองก็มิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่ฟ้องคดีความผิดฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงและความเสียหายจากการร่วมให้สินบน เจ้าพนักงาน ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย
จำเลยหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยสามารถวิ่งเต้นพนักงานอัยการและผู้พิพากษาล้มคดีให้แก่โจทก์ได้ และเรียกเอาเงินเพื่อนำไปให้พนักงานอัยการและผู้พิพากษาเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้อง โจทก์หลงเชื่อได้มอบเงินจำนวน 58,000 บาท แก่จำเลยไป การกระทำของโจทก์มีวัตถุประสงค์เป็นการร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน อันอาจถือได้ว่าโจทก์ใช้ให้จำเลยกระทำความผิดแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าจำเลยมิได้นำเงินไปเป็นค่าวิ่งเต้นคดีก็ตาม โจทก์ก็มิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำรับสารภาพในชั้นสอบสวน และพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกาย ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นหยิบยกคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองมาพิจารณาประกอบคำรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลย แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่ว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง โดยยกเหตุผลรวม 8 ข้อ ซึ่งเมื่ออ่านรวมแล้วพอได้ความว่า จำเลยโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่ามีการชุลมุนต่อสู้กันเท่านั้น มิใช่ให้การรับสารภาพตามที่โจทก์ฟ้อง และมีพยานหลายปากคือ ธ. และ บ. ที่ให้การว่า เหตุเกิดในงานรื่นเริงที่มีการชุลมุนต่อสู้ทำร้ายกัน โจทก์มีประจักษ์พยานคือผู้เสียหายเพียงสองปาก น่าเชื่อว่าผู้เสียหายทั้งสองมีส่วนร่วมในการชุลมุนต่อสู้ และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 299 ตามที่จำเลยให้การรับสารภาพ พอถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 295 และ 297 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้บริโภค: การฟ้องแย้งของจำเลยในคดีผู้บริโภคชอบด้วยกฎหมายและผลของการผิดสัญญา
การแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีหน้าที่ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคก็เท่ากับว่าผู้บริโภคได้ร้องขอให้คณะกรรมการดำเนินคดีแทนตน โดยผู้บริโภคมีผลประโยชน์ในมูลความแห่งคดี และหากผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี ศาลจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่ผู้บริโภค มิได้ชำระให้แก่คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคแต่อย่างใด ดังนั้น การที่คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ย่อมต้องถือว่าผู้บริโภคนั้นเป็นโจทก์ผู้ยื่นคำฟ้องเอง ส่วนผู้ประกอบการซึ่งถูกฟ้องมีฐานะเป็นจำเลย และทั้งโจทก์และจำเลยย่อมมีฐานะเป็น "คู่ความ" ตามวิเคราะห์ศัพท์ใน ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ดังนี้จำเลยผู้ถูกฟ้องย่อมฟ้องแย้งได้ และเมื่อฟ้องแย้งว่า จำเลยพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งให้ผู้บริโภคเข้าครอบครองอยู่อาศัยมาโดยตลอด ขอให้ผู้บริโภคชำระราคาส่วนที่เหลือจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอจะรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
of 161