คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,605 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3216/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญาระหว่างบริษัทในเครือ, การริบเงินมัดจำ, และเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
ตามสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยกำหนดเงื่อนไขในข้อ 1 ว่าในการปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินที่ซื้อขาย ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะว่าจ้างผู้จะขายหรือบริษัทในเครือของผู้จะขายเป็นผู้ปลูกสร้างโดยจะใช้แบบของผู้จะขายเท่านั้น และโจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ท. ปลูกสร้างบ้านแบบกรรณิการ์ลงบนที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินกับจำเลย จำเลยและบริษัท ท. ต่างมี บ. และ ธ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเช่นเดียวกัน สำนักงานที่ตั้งก็เป็นสถานที่เดียวกัน ผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินและสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านก็เป็นชุดเดียวกัน บริษัท ท. จึงเป็นบริษัทในเครือของจำเลยตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาซึ่งต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันในการขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยแบ่งแยกกันทำหน้าที่ดำเนินการในด้านต่างๆ จึงต้องร่วมกันผูกพันตามสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแต่เพียงผู้เดียวให้รับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้ จำเลยจะอ้างการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือมาปฏิเสธ เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความผูกพันกับบริษัท ท. ที่จะต้องคืนเงินค่าปลูกสร้างบ้านและรั้วบ้านหาได้ไม่
เงินที่โจทก์ทั้งสองมอบให้แก่จำเลยในวันจองซื้อที่ดินพร้อมบ้าน ถือว่าเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองส่งมอบให้แก่จำเลยเพื่อเป็นหลักฐานและเป็นการประกันในการปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นมัดจำ ส่วนเงินที่โจทก์ทั้งสองชำระในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินนั้น ตามสัญญาดังกล่าวระบุว่าให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้งวดที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ทั้งสองชำระค่าที่ดินและค่าพัฒนาที่ดินตามสัญญามิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงไม่ใช่มัดจำ เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาและสัญญาเป็นอันยกเลิก จำเลยย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นได้ ส่วนเงินค่าที่ดิน ค่าปลูกสร้างบ้าน ค่าสร้างรั้วและค่าต่อเติมบ้านที่โจทก์ทั้งสองชำระให้จำเลย จำเลยจะต้องให้โจทก์ทั้งสองกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม การที่โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีข้อตกลงกันว่าถ้าโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาเป็นอันยกเลิก โจทก์ทั้งสองยินยอมให้ริบเงินที่ได้ชำระไว้แล้วทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อลดเบี้ยปรับลงโดยให้จำเลยคืนเบี้ยปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่ เพราะการที่จำเลยริบเงินดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี ต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี
ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสาม ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลส่งคำร้องพร้อมสำนวนความไปให้ผู้พิพากษาดังกล่าวพิจารณาต่อไป คดีนี้โจทก์เพียงแต่ยื่นอุทธรณ์ โดยหาได้ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้อนุญาตให้อุทธรณ์ ทั้งผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ หาได้มีข้อความใดแสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท: การแสดงความคิดเห็นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาครอบครัว vs. การประจานต่อหน้าบุคคลอื่น
การที่ ส. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับการร้องขอจาก ห. ให้ไปช่วยไกล่เกลี่ยเรื่องบุตรของ ห. ทะเลาะวิวาทกันเอง จึงไปที่บ้านของ ค. พบ ค. และบุตรของ ห. อีกหลายคน บรรดาบุตรของ ห. และจำเลยเข้าใจว่าโจทก์ร่วมมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับ ห. จึงปรึกษาหารือพูดคุยกับ ส. เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว โดยจำเลยกับพวกเกรงว่า ห. จะถูกโจทก์ร่วมหลอกลวงเอาทรัพย์สินไปหมดจะทำให้จำเลยกับพวกเดือดร้อน ข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถือได้ว่าในฐานะที่จำเลยเป็นลูกบ้านอยู่ในความปกครองของ ส. การพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นการปรับทุกข์กับ ส. เพื่อให้ ส. หาทางช่วยแก้ไขปัญหาให้ครอบครัวของ ห. เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม แต่เมื่อ ป. เข้ามาร่วมรับฟังในภายหลังและจำเลยกล่าวต่อหน้า ป. ว่าโจทก์ร่วมเป็นชู้กับ ห. และหลอกเอาเงิน ห. แม้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์ร่วมเป็นชู้กับ ห. และหลอกเอาเงิน ห. ก็ตาม แต่ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะกล่าวประจานโจทก์ร่วมต่อหน้า ป. ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาท เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ให้โจทก์ร่วมได้รับความอับอายและเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ร่วม การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีชำเรา ความพิรุธของคำให้การ และหลักการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นความผิด 2 กระทง กระทงแรกกระทำในขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 13 ปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) กระทงที่ 2 กระทำผิดในขณะผู้เสียหายอายุเกิน 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้กระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) จะต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาซึ่งครอบคลุมไปถึงความผิดดังกล่าว ยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวด้วยหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องไปถึงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15843/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำให้เกิดอุทกภัยตาม ป.อ.มาตรา 228 ต้องมีเจตนาโดยตรง การเล็งเห็นผลใช้ไม่ได้
ตาม ป.อ. มาตรา 228 จำเลยจะต้องมีเจตนาให้เกิดอุทกภัยโดยตรง จะยกเอาการเล็งเห็นผลของการกระทำตามมาตรา 59 วรรคสอง มาใช้ไม่ได้
ที่นาของผู้เสียหายทั้งสองอยู่สูงกว่าที่นาของจำเลยและมีทางออกสู่คลองส่งน้ำสาธารณะได้ ที่นาของจำเลยซึ่งเป็นที่ลุ่มรองรับน้ำตามธรรมชาติที่ไหลมาจากที่สูงระบายลงสู่คลองส่งน้ำสาธารณะ การที่เจ้าของที่นาของผู้เสียหายที่ 1 ขุดร่องน้ำผ่านที่นาของตนไปยังที่นาของจำเลยทำให้น้ำระบายเข้าสู่ที่นาของจำเลยโดยตรงและไม่ใช่น้ำที่ระบายลงมาสู่ที่ต่ำโดยธรรมชาติ ที่นาของจำเลยจึงมีน้ำท่วมขังตลอดปีเพราะไม่สามารถระบายน้ำออกไปสู่คลองส่งน้ำสาธารณะได้ จำเลยถมดินลงไปในที่นาของตนเองปิดกั้นทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำที่ระบายมาจากร่องระบายน้ำดังกล่าวท่วมที่นาของจำเลย ผู้เสียหายทั้งสองไม่ทำการระบายน้ำออกคลองส่งน้ำสาธารณะซึ่งง่ายและสะดวกกว่าที่จะให้น้ำในที่นาของตนระบายออกโดยทางร่องน้ำที่ขุดขึ้น การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาทำให้เกิดอุทกภัยแก่ที่นาของผู้เสียหายทั้งสองตามมาตรา 228 จึงไม่เป็นความผิด แม้จำเลยมิได้ฎีกาแต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาและเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15544/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเงินค่านำหมายที่แก้ไขเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ
ใบรับเงินค่านำหมายที่จำเลยปลอมขึ้นและนำไปใช้ขอรับเงินค่านำหมายจากผู้เสียหาย เป็นหลักฐานที่ใช้แสดงว่าจำเลยได้ชำระค่าป่วยการและค่าพาหนะให้แก่เจ้าพนักงานในการนำส่งหมายเรียกพยานโจทก์และหมายเรียกจำเลยที่ 1 ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ข้อ 5 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น จึงเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานระงับซึ่งสิทธิที่ศาลชั้นต้นจะเรียกเงินค่านำหมายจากผู้เสียหาย จึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารของศาลชั้นต้นโดยเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้จัดทำขึ้น จึงเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13882/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกายาเสพติด: การไม่ยื่นคำร้องขอรับฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คดีนี้โจทก์ฟ้องและศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่ง จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วย่อมเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ฎีกาในส่วนคำขอท้ายฟ้องให้ริบของกลางเพียงอย่างเดียว แต่มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้รับฎีกาไว้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12795/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกัน ยักยอกทรัพย์-ทำลายเอกสาร ศาลฎีกาชี้การบรรยายฟ้องต้องระบุวันเวลาชัดเจน
แม้ในฟ้องข้อ (ก) โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไป ต่างวันต่างเวลากัน รวม 262 ครั้ง และฟ้องข้อ (ข) โจทก์บรรยายรวมกันมาว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องต่อไปว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารบันทึกการขายสินค้าประจำวัน (กระดาษเจอร์นอล) ของผู้เสียหาย จำนวน 262 แผ่น ต่างวันต่างเวลากัน จำนวน 262 ครั้ง ก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ในข้อ (ก) และข้อ (ข) ว่า เมื่อระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม 2547 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยง โดยมิได้ระบุว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันยักยอกและเอาไปเสียซึ่งเอกสารในแต่ละครั้ง วันเวลาใดให้ชัดแจ้ง ส่วนวันเวลาที่โจทก์อ้างตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้น เป็นเพียงวันเวลาที่แสดงว่าโจทก์ร่วมตรวจพบการทุจริตของพนักงานเก็บเงินในบริษัทโจทก์ร่วมเมื่อใด จะถือเอาวันเวลาตามเอกสารดังกล่าวมาประกอบกันเพื่อให้เข้าใจเอาเองว่ามีการกระทำผิดข้อหาร่วมกันยักยอกในแต่ละครั้งเกิดขึ้นตามวันเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12497/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินโดยการครอบครอง ไม่ผูกพันจำเลยในการส่งมอบเอกสาร นำไปสู่การไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการครอบครอง มิใช่ได้มาโดยนิติกรรมจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10448/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดด้วยการแพร่ข่าวเท็จใส่ร้ายโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการเงิน
ข้อความทั้งหมดตามบทความสรุปว่า โจทก์ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่กำกับดูแลกรมศาสนา ทำงานไม่เป็น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกาย ท่าดีทีเหลว โอบอุ้มพระธัมมชโยเนื่องจากรับเงินสินบนจากพระธัมมชโย 150,000,000 บาท เมื่ออ่านโดยตลอดแล้วมีลักษณะเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ซึ่งจำเลยทั้งสามก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่ลักษณะของการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอข้อเท็จจริงโดยสุจริตหรือติชมด้วยความเป็นธรรม จำเลยทั้งสามจึงกระทำละเมิดต่อโจทก์
of 161