คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 608

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า รวมถึงการกำหนดภูมิลำเนาของบริษัทต่างชาติ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือ เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเจ้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้าบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่า การปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่า ค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 3 (2) (ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่ 28 เมษายน 2534และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอา พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรับขนของทางทะเล, การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ, และความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือเมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเข้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้า บริษัทอ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้วจะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่าการปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่าค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ต่อศาลแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 3(2)(ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่28 เมษายน 2534 และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะ มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็น บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมาย ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอาพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี และจำเลยที่ 1เป็นผู้ติดต่อให้เรือท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะ เป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้า พิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616 ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาท บริษัทอ. ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวรับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้า ที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล, การขนส่งหลายทอด, เหตุสุดวิสัย และขอบเขตการนำกฎหมายมาใช้
ขณะที่บริษัท ค. ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้รับขนส่งสินค้าพิพาททางทะเล พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับและไม่มีบทบัญญัติให้มีผลย้อนหลังนำไปปรับใช้กับสัญญารับขนของทางทะเลที่ทำกันขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ประกอบกับสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งทำกันขึ้นนั้นคู่สัญญามีเจตนาให้ผูกพันกันตามสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญากัน ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับใช้นั้น จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจรับขนส่งทางทะเล และเป็นบริษัทสาขาหรือเครือเดียวกันกับจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้รับขนสินค้าพิพาทที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ ได้ดำเนินการนำเรือ ป.เข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพโดยได้รับบำเหน็จค่าจ้าง ทั้งยังเป็นผู้ดำเนินการติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องเช่น กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กองตรวจคนเข้าเมืองการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือดังกล่าวเข้าเทียบท่าเรือเมื่อเรือดังกล่าวเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพจำเลยที่ 2ก็เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือดังกล่าวให้ผู้ซื้อสินค้าทราบทั้งยังเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าพิพาทนำไปรับสินค้าจากเรือขนส่ง นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ ป. ลงเรือลำเลียงหรือเรือฉลอม และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการนำเรือขนถ่ายสินค้าด้วย การดำเนินการต่าง ๆของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดำเนินการขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 618 โดยจำเลยที่ 2 หาจำต้องเป็นผู้ออกใบตราส่งหรือเป็นเจ้าของเรือ ป.ไม่ ขณะเรือ ป. เดินทางอยู่ในทะเลได้เผชิญกับพายุอย่างรุนแรงเรือโยกคลอน น้ำซัดเข้าเรือเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทได้รับความเสียหาย โดยไม่ได้ความว่าพายุรุนแรงขนาดไหน ความเสียหายดังกล่าวเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้เพราะ เหตุใด และผู้ควบคุมเรือซึ่งต้องประสบเหตุเช่นนั้นได้จัดการ ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะ และภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร จึงรับฟังไม่ได้ว่าความเสียหาย ของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งหลายทอดร่วมกันรับผิดชอบความเสียหายสินค้า - ข้อจำกัดความรับผิดโมฆะหากไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าพิพาทของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างประเทศและในระหว่างที่จำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือขึ้นรถบรรทุกเพื่อนำไปเก็บในคลังสินค้าลูกจ้างของจำเลยทั้งสองได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกจากรถเสียหายจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนเรือและจำเลยทั้งสองมิได้เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือไปเก็บในคลังสินค้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ3ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทหรือไม่เช่นนี้การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทแล้ววินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมขนส่งในการขนส่งหลายทอดโดยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การซึ่งรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้นั่นเองหาได้วินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ ผู้ขนส่งสินค้าของโจทก์มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากเรือขึ้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนส่งมอบให้แก่โจทก์จำเลยที่1เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบออกใบปล่อยสินค้าให้แก่โจทก์เรียกเก็บเงินค่าเปิดตู้จากโจทก์ไปจ่ายให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้าจากคลังสินค้ารับมอบสินค้าจากเรือปิยะภูมิเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์และมีหน้าที่แจ้งความเสียหายของสินค้าแก่โจทก์และบริษัทส. ผู้ขนส่งทอดแรกส่วนจำเลยที่2เป็นผู้ติดต่อทำพิธีการต่าง ๆกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าเทียบท่าคือการท่าเรือแห่งประเทศไทยกรมศุลกากรกรมเจ้าท่าและกองตรวจคนเข้าเมืองและจำเลยที่2เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยจำเลยที่2เป็นผู้ว่าจ้างให้บริษัทอ. ดำเนินการดังกล่าวจึงถือได้ว่ากรณีเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมีผู้ซื้อถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608และ618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล แม้ที่ด้านหลังใบตราส่งจะมีลายเซ็นพร้อมตามประทับของบริษัทจ. ผู้ขนส่งลงไว้ก็ตามแต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อไว้ลอยๆหาได้มีข้อความใดระบุลงไว้ให้ชัดแจ้งว่าผู้ส่งทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ปรากฏในใบตราส่งการลงชื่อสลักหลังดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงเพื่อโอนใบตราส่งให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการรับสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าวข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่1อ้างจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าในกรณีขนส่งหลายทอดและการจำกัดความรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าพิพาทของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างประเทศ และในระหว่างที่จำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือขึ้นรถบรรทุกเพื่อนำไปเก็บในคลังสินค้า ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกจากรถเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนเรือและจำเลยทั้งสองมิได้เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือไปเก็บในคลังสินค้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ 3 ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทหรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาท แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมขนส่งในการขนส่งหลายทอดโดยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้าย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การซึ่งรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้นั่นเอง หาได้วินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่
ผู้ขนส่งสินค้าของโจทก์มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากเรือขึ้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนส่งมอบให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบ ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่โจทก์ เรียกเก็บเงินค่าเปิดตู้จากโจทก์ไปจ่ายให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้าจากคลังสินค้า รับมอบสินค้าจากเรือปิยะภูมิเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ และมีหน้าที่แจ้งความเสียหายของสินค้าแก่โจทก์และบริษัท ส. ผู้ขนส่งทอดแรก ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าเทียบท่าคือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมศุลกากรกรมเจ้าท่าและกองตรวจคนเข้าเมือง และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างให้บริษัท อ. ดำเนินการดังกล่าว จึงถือได้ว่ากรณีเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
แม้ที่ด้านหลังใบตราส่งจะมีลายเซ็นพร้อมตราประทับของบริษัท จ.ผู้ขนส่งลงไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อไว้ลอย ๆ หาได้มีข้อความใดระบุลงไว้ให้ชัดแจ้งว่าผู้ส่งทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ปรากฏในใบตราส่ง การลงชื่อสลักหลังดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงเพื่อโอนใบตราส่งให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการรับสินค้า จึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าว ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีประกันภัยทางอากาศ, ฟ้องเคลือบคลุม, และความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าหลายทอด
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า "(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิดเช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำ ประกันภัยทางอุบัติเหตุประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้ แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้น โจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลย จำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทยจำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่น ซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617 และ 618 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาท ซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงิน ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์การประกอบกิจการประกันภัยครอบคลุมประกันภัยทุกชนิด ผู้รับขนส่งมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากการขนส่ง
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า"(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำประกันภัยทางอุบัติเหตุ ประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลยจำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทย จำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของป.พ.พ.มาตรา 617 และ 618
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงต้องมีสัญญาขนส่ง หากไม่มีสิทธิยึดหน่วงเกิดขึ้น การยึดทรัพย์จึงไม่เป็นละเมิด
โจทก์เป็นเพียงผู้ให้เช่ารถเพื่อใช้บรรทุกและเก็บสินค้าคือเครื่องจักรพิพาทไว้ในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนกว่าเจ้าของสินค้าจะขนย้ายออกไปเท่านั้นไม่ได้มีสัญญาต่อกันว่าโจทก์จะต้องขนสินค้าดังกล่าวไปส่งให้แก่เจ้าของสินค้าณสถานที่แห่งอื่นอย่างไรจึงไม่มีค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่โจทก์จะเรียกเอาจากเจ้าของสินค้าได้คงมีเฉพาะค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระอยู่สัญญาระหว่างโจทก์กับเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่สัญญารับขนของโจทก์จึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา630ยึดหน่วงเครื่องจักรพิพาทที่จำเลยที่6และที่7ประมูลซื้อไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระหาได้ไม่และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าวการที่จำเลยที่2ร่วมกับจำเลยที่7เข้าทำการตรวจค้นที่ทำการของโจทก์แล้วยึดเอาเครื่องจักรพิพาทจากโจทก์ไปจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการขอให้ชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องเป็นผู้ขนส่งตามสัญญาขนส่ง หากไม่ใช่สิทธิยึดหน่วงไม่มีผล
โจทก์เป็นเพียงผู้ให้เช่ารถเพื่อใช้บรรทุกและเก็บสินค้าคือเครื่องจักรพิพาทไว้ในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนกว่าเจ้าของสินค้าจะขนย้ายออกไปเท่านั้น ไม่ได้มีสัญญาต่อกันว่าโจทก์จะต้องขนสินค้าดังกล่าวไปส่งให้แก่เจ้าของสินค้า ณ สถานที่แห่งอื่นอย่างไรจึงไม่มีค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่โจทก์จะเรียกเอาจากเจ้าของสินค้าได้ คงมีเฉพาะค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระอยู่สัญญาระหว่างโจทก์กับเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่สัญญารับขนของโจทก์จึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 630ยึดหน่วงเครื่องจักรพิพาทที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ประมูลซื้อไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระหาได้ไม่และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2ร่วมกับจำเลยที่ 7 เข้าทำการตรวจค้นที่ทำการของโจทก์แล้วยึดเอาเครื่องจักรพิพาทจากโจทก์ไป จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการขอให้ชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงต้องเป็นผู้ขนส่งตามสัญญา หากไม่ใช่สิทธิยึดหน่วงไม่มีผลบังคับใช้
โจทก์เป็นเพียงผู้ให้เช่ารถเพื่อใช้บรรทุกและเก็บสินค้าคือเครื่องจักรพิพาทไว้ในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนกว่าเจ้าของสินค้าจะขนย้ายออกไปเท่านั้นไม่ได้มีสัญญาต่อกันว่าโจทก์จะต้องขนสินค้าดังกล่าวไปส่งให้แก่เจ้าของสินค้าณสถานที่แห่งอื่นอย่างไรจึงไม่มีค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่โจทก์จะเรียกเอาจากเจ้าของสินค้าได้คงมีเฉพาะค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระอยู่สัญญาระหว่างโจทก์กับเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่สัญญารับขนของโจทก์จึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา630ยึดหน่วงเครื่องจักรพิพาทที่จำเลยที่6และที่7ประมูลซื้อไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระหาได้ไม่และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าวการที่จำเลยที่2ร่วมกับจำเลยที่7เข้าทำการตรวจค้นที่ทำการของโจทก์แล้วยึดเอาเครื่องจักรพิพาทจากโจทก์ไปจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการขอให้ชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247
of 7