คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 608

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ CIF, หน้าที่ประกันภัย, ข้อจำกัดความรับผิดโมฆะ, ตัวแทนรับผิดชอบสัญญา
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี. ไอ. เอฟ นั้น หมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซี.ไอ.เอฟ., การประกันภัยขนส่ง, ข้อยกเว้นความรับผิด, ตัวแทนรับผิดแต่ลำพัง
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ นั้นหมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ. เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาขนส่งสินค้าทางน้ำ: เหตุสุดวิสัยและการป้องกันความเสี่ยง
จำเลยใช้เชือกไนล่อนเส้นเดียวผูกเรือลำเลียงของจำเลยติดกับเรือเดินทะเลเพื่อขนถ่ายข้าวสารขึ้นเรือเดินทะเล ขณะที่กำลังขนถ่ายข้าวสารอยู่นั้นเกิดพายุอย่างแรง เชือกผูกหัวเรือลำเลียงขาด คลื่นตีหัวเรือลำเลียงออกไป ท้ายเรือและหางเสือไปกระแทกกับเรือเดินทะเลเป็นเหตุให้กระบอกหางเสือแตก น้ำเข้าเรือลำเลียงทางกระบอกหางเสือข้าวสารในเรือเปียกน้ำเสียหาย ขณะเกิดเหตุเป็นฤดูหนาวซึ่งมักมีคลื่นลมแรงตลอดวัน และการป้องกันไม่ให้เชือกขาดอาจทำได้โดยการผูกเรือด้วยเชือกหลาย ๆ เส้น ดังนี้เหตุที่เกิดขึ้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเพราะมีทางที่จะป้องกันมิให้เหตุนั้นเกิดขึ้น จำเลยจึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากความเสียหายต่อข้าวสารจากเหตุคลื่นลมแรง จำเลยต้องรับผิดหากมีวิธีป้องกันแต่ไม่ดำเนินการ
จำเลยใช้เชือกไนล่อนเส้นเดียวผูกเรือลำเลียงของจำเลยติดกับเรือเดินทะเลเพื่อขนถ่ายข้าวสารขึ้นเรือเดินทะเล ขณะที่กำลังขนถ่ายข้าวสารอยู่นั้นเกิดพายุอย่างแรง เชือกผูกหัวเรือลำเลียงขาด คลื่นตีหัวเรือลำเลียงออกไป ท้ายเรือและหางเสือไปกระแทกกับเรือเดินทะเลเป็นเหตุให้กระบอกหางเสือแตก น้ำเข้าเรือลำเลียงทางกระบอกหางเสือข้าวสารในเรือเปียกน้ำเสียหาย ขณะเกิดเหตุเป็นฤดูหนาวซึ่งมักมีคลื่นลมแรงตลอดวัน และการป้องกันไม่ให้เชือกขาดอาจทำได้โดยการผูกเรือด้วยเชือกหลาย ๆ เส้น ดังนี้เหตุที่เกิดขึ้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเพราะมีทางที่จะป้องกันมิให้เหตุนั้นเกิดขึ้น จำเลยจึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอด กรณีสินค้าสูญหาย - มาตรา 618
จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 1 มารับตู้ลำเลียงอันบรรจุสินค้าแล้ว ณ ท่าเรือสัตหีบแต่องค์การ ร.ส.พ. จำเลยที่ 2 เป็นผู้ผูกขาดการขนส่งสินค้าเข้าไปในบริเวณท่าเรือตลอดจนการให้บริการด้านการท่าเรือ จำเลยที่ 1 จึงจ้างจำเลยที่ 2 ให้จัดรถทำการลากจูงตู้ลำเลียงของจำเลยที่ 1 ไปบรรทุกสินค้าและลากจูงไปยังท่าเรือสัตหีบแต่การตกลงรับขนส่งของทั้งในช่วงทางบกและทางทะเลจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับติดต่อและตกลงกับเจ้าของสินค้าผู้ส่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทจากกรุงเทพมหานครผ่านท่าเรือสัตหีบไปให้แก่บริษัท ท. ที่ท่าเรือฮ่องกงดังนี้ จำเลยที่ 1เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางบกด้วย
การรับขนส่งสินค้าซึ่งแบ่งการขนส่งออกได้เป็นทอด ๆ การจ้างให้ผู้อื่นทำการขนส่งแทนในทอดใดทอดหนึ่งโดยให้ผู้นั้นไปรับค่าจ้างจากผู้จ้างได้โดยตรงนั้นไม่ทำให้ผู้รับขนพ้นความรับผิดสำหรับการขนส่งทอดนั้น ๆ ไปได้ตาม มาตรา 617 และ มาตรา 618
แม้จะฟังว่าสินค้าถูกคนร้ายลักไปในระหว่างที่พนักงานของจำเลยที่ 2 ลากจูงตู้ลำเลียงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจ้างขนส่งก็ยังต้องรับผิดในการที่สินค้าสูญหายตามมาตรา 617 และ มาตรา 618 อยู่นั่นเอง
การควบคุมดูแลรักษาสินค้าซึ่งบรรจุอยู่ในตู้ลำเลียงไม่จำเป็นต้องมีกุญแจหรือเครื่องมืออื่นใดในเมื่อจำเลยที่ 2 วางใจว่าการปิดประตูตู้แล้วผนึกด้วยตราของจำเลยที่ 1 และตราของเจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้นเป็นการเพียงพอจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งคนหนึ่งด้วยในการขนส่งสินค้ารายนี้
ตาม มาตรา 618 นั้น มิได้บัญญัติว่าต้องเป็นการร่วมกันทำการขนส่งดังนั้นการที่จะถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงไม่เป็นปัญหา
จำเลยที่ 1 รับจ้างขนสินค้ารายพิพาทจากคลังสินค้าของผู้ส่งไปยังท่าเรือสัตหีบแล้วขนส่งโดยทางเรือทะเลไปให้ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือฮ่องกงได้จ้างจำเลยที่ 2 ลากจูงตู้ลำเลียงซึ่งบรรจุสินค้าแล้ว จากคลังสินค้าของผู้ส่งไปยังท่าเรือสัตหีบ ต่อแต่นั้นจำเลยที่ 1 จึงใช้เรือเดินทะเลของตนขนส่งตู้ลำเลียงดังกล่าวไปยังท่าเรือปลายทางอีกทอดหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามความใน มาตรา 618 แล้ว
แม้ไม่ได้ความชัดว่าสินค้าหายไปในระหว่างที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 กันแน่นั้น ก็ไม่เป็นข้อขัดข้องที่จะบังคับตามมาตรา 618
ใบกำกับของและใบตราส่งนั้น ตามกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำให้แก่กัน จำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ที่จำเลยที่ 1 จ้างให้ทำการขนส่งทอดหนึ่งในการขนส่งหลายทอดอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำเอกสารดังกล่าวให้แก่กันไว้ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้าง กรณีรถร่วมเดินรถ และการมีส่วนร่วมในกิจการเดินรถ
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการใช้รถร่วมเดินรถ และความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างในการเดินรถ
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้วแม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งคนโดยสารกรณีรถพลิกคว่ำจากความบกพร่องของรถยนต์ ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่า เหตุที่รถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุด โดยคนขับไม่ได้ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วท้ากันขอให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า จำเลยจะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ปรากฏฟ้องของโจทก์บรรยายว่านายอิ้วจือได้ขับรถยนต์ของจำเลยจากตลาดหญ้าคาไปตลาดดงเค็งเพื่อรับส่งสินค้าและคนโดยสารตามทางการที่จำเลยจ้าง โดยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ขับรถเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ทำให้รถยนต์ที่ขับพลิกคว่ำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้โดยสารตกลงจากรถได้รับบาดเจ็บ จึงขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เห็นได้ว่าฟ้องของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้รับขนส่งคนโดยสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 จำเลยมิได้ปฏิเสธว่าจำเลยมิใช่ผู้รับขนส่งคนโดยสารดังโจทก์ฟ้อง ฉะนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่โจทก์ซึ่งเป็นคนโดยสาร เว้นแต่การเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 634 แม้คู่ความจะแถลงรับกันว่ารถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุดอันไม่ใช่เพราะขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดในฐานเป็นผู้รับขนส่งคนโดยสารไปได้ จำเลยจะอ้างว่าทางพิจารณาต่างกับฟ้องโดยขอให้ศาลยกฟ้องหาได้ไม่
การที่รถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุด ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 เพราะยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขับจะสามารถป้องกันได้ หากใช้ความระมัดระวังตามสมควรตรวจดูสภาพรถให้เรียบร้อยดีก่อนนำออกขับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับขนส่งต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการพลิกคว่ำของรถ แม้ไม่ใช่จากความเร็ว แต่เกิดจากความบกพร่องในการตรวจสภาพรถ
โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่า เหตุที่รถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุดโดยคนขับไม่ได้ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วท้ากันขอให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า จำเลยจะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ปรากฏฟ้องของโจทก์บรรยายว่านายอิ้วจือได้ขับรถยนต์ของจำเลยจากตลาดหญ้าคาไปตลาดดงเค็งเพื่อรับส่งสินค้าและคนโดยสารตามทางการที่จำเลยจ้าง โดยความประมาทปราศจากความระมัดระวังขับรถเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ทำให้รถยนต์ที่ขับพลิกคว่ำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้โดยสารตกลงจากรถได้รับบาดเจ็บ จึงขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เห็นได้ว่าฟ้องของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้รับขนส่งคนโดยสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 จำเลยมิได้ปฏิเสธว่าจำเลยมิใช่ผู้รับขนส่งคนโดยสารดังโจทก์ฟ้อง ฉะนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่โจทก์ซึ่งเป็นคนโดยสาร เว้นแต่การเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 634 แม้คู่ความจะแถลงรับกันว่ารถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุดอันไม่ใช่เพราะขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดในฐานเป็นผู้รับขนส่งคนโดยสารไปได้ จำเลยจะอ้างว่าทางพิจารณาต่างกับฟ้องโดยขอให้ศาลยกฟ้องหาได้ไม่
การที่รถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุด ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 เพราะยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขับจะสามารถป้องกันได้ หากใช้ความระมัดระวังตามสมควรตรวจดูสภาพรถให้เรียบร้อยดีก่อนนำออกขับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้เช่ารถยนต์ไม่เข้าข่ายการรับขนส่ง แม้มีข้อตกลงเพิ่มหน้าที่ให้ผู้ให้เช่า ต้องเสียภาษีการค้าจากการให้เช่าทรัพย์สิน
โจทก์มีรถยนต์หลายประเภทสำหรับให้ผู้อื่นเช่าไปใช้ประโยชน์ กำหนดเวลาเช่าเป็นรายเดือนก็มี เป็นเวลา 1 ปีก็มี ค่าเช่าคิดเป็นรายเดือนต่อรถยนต์หนึ่งคัน แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้เช่าจะเพิ่มหน้าที่ของโจทก์นอกเหนือไปจากหน้าที่ของผู้ให้เช่าตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ลักษณะของสัญญาเช่าเปลี่ยนแปลงไปเป็นสัญญารับขนดังโจทก์อ้าง ถือว่าการค้าของโจทก์เป็นการค้าประเภทให้เช่าทรัพย์สินที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ต้องคำนวณภาษีการค้าร้อยละ 2.5 ของรายรับ ไม่ใช่ร้อยละ 0.5
of 7