พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน แม้เริ่มงานก่อนเวลา และซื้อของนอกสถานที่ ก็ยังอยู่ในขอบเขตงาน
ท. มีตำแหน่งเป็นแม่บ้าน มีหน้าที่ดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยภายในสำนักงาน บริการจัดหาเครื่องดื่ม ของว่างและอาหารแก่ผู้มาติดต่อและพนักงานที่ประจำอยู่ ณ สำนักงาน กับจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคตามบันทึกข้อมูลขอบข่ายหน้าที่ของพนักงาน ซึ่งโดยลักษณะงานย่อมจะต้องเข้าทำงานก่อนพนักงานอื่น และต้องทำงานนอกสถานที่ทำงานของโจทก์เพราะต้องจัดซื้ออาหารและเครื่องดื่มจากตลาด โจทก์ได้กำหนดค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเป็นรายเดือนให้ด้วย โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจาก ท. ต้องเริ่มทำงานก่อนเวลาทำการปกติ แสดงแจ้งชัดว่า ท. ต้องเริ่มทำงานให้โจทก์ก่อนเวลา 8 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาทำงานปกติของพนักงาน แม้ ท. จะยังมิได้ลงชื่อเข้าทำงานก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะตามสภาพความเป็นจริง ท. ได้เริ่มปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้ว สามารถลงชื่อเข้าทำงานในภายหลังได้ เมื่อขณะ ท. ขับรถจักรยานยนต์ไปที่ทำงาน ท. ได้แวะซื้อของที่ตลาดเพื่อนำไปเตรียมไว้รับรองแขกและพนักงานของโจทก์ตามหน้าที่ เมื่อซื้อของเสร็จกำลังขับรถจากตลาดไปที่ทำงานได้เกิดเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่ง เป็นเหตุให้ ท. ได้รับบาดเจ็บกรณีจึงเป็นการที่ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง อันเป็นการประสบอันตรายตามความหมายของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน และความรับผิดของนายจ้าง/บริษัทประกันภัยตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ท. มีตำแหน่งเป็นแม่บ้านของโจทก์ มีหน้าที่ดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยภายในสำนักงาน บริการจัดหาเครื่องดื่ม ของว่าง และอาหารแก่ผู้มาติดต่อและพนักงานที่ประจำอยู่สำนักงาน กับจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคตามขอบข่ายหน้าที่ ลักษณะงานของ ท. ต้องเข้าทำงานก่อนพนักงานอื่นและต้องทำงานนอกสถานที่ โจทก์กำหนดค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายให้ แสดงว่า ท. ต้องเริ่มทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ ท. ขับรถจักรยานยนต์ไปที่ทำงาน ได้แวะซื้อของที่ตลาดเพื่อนำไปเตรียมไว้รับรองแขกและพนักงานของโจทก์ตามหน้าที่ ขณะกำลังขับรถจากตลาดไปที่ทำงานได้เกิดเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่ง ท. ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการที่ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง เป็นการประสบอันตรายตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทวงถามให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาล ท. แต่จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงชำระเงินค่ารักษาพยาบาล ท. แทนจำเลยไป จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินไป จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่จำต้องทวงถาม จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงินไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทวงถามให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาล ท. แต่จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงชำระเงินค่ารักษาพยาบาล ท. แทนจำเลยไป จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินไป จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่จำต้องทวงถาม จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงินไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการวินิจฉัยคดีเงินทดแทนและการคุ้มครองลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากความประมาทของตนเอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อใดข้อหนึ่งก่อนจึงเป็นอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะใช้ดุลพินิจยกปัญหาข้อใดขึ้นวินิจฉัยก่อนหรือหลังก็ได้ตามที่เห็นสมควรแก่รูปคดี ทั้งเมื่อได้วินิจฉัยปัญหาข้อหนึ่งข้อใดแล้วเห็นว่าสามารถชี้ขาดตัดสินคดีได้ จะไม่วินิจฉัยปัญหาข้ออื่น ๆ ต่อไปอีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปก็ได้
ผู้ตายปีนขึ้นไปบนโครงจอภาพยนตร์แล้วเอาเสาธงเหล็กฟาดสายไฟฟ้าแรงสูงจนถูกไฟฟ้าดูดและตกลงมาเสียชีวิต เพราะผู้ตายต้องการแสดงโอ้อวดตนเองว่าเป็นผู้วิเศษ มิได้เกิดเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
ผู้ตายปีนขึ้นไปบนโครงจอภาพยนตร์แล้วเอาเสาธงเหล็กฟาดสายไฟฟ้าแรงสูงจนถูกไฟฟ้าดูดและตกลงมาเสียชีวิต เพราะผู้ตายต้องการแสดงโอ้อวดตนเองว่าเป็นผู้วิเศษ มิได้เกิดเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานนอกสถานที่และช่วงเวลาปกติ: สิทธิประโยชน์จากการประสบอันตรายในการทำงาน
การเดินทางไปเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าตามหน้าที่ ซึ่งนายจ้างไม่เคร่งครัดต่อการลงเวลาทำงานในแต่ละวันและลูกจ้างได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบแล้ว ทั้งเวลาที่เดินทางไปและนัดหมายให้ไปรับเงินก็ต่อเนื่อง และคาบเกี่ยวกับเวลาเริ่มทำงานปกติ เหมาะสมตามสภาพของงานที่ลูกจ้างจะพึงกระทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถือว่าเป็นการเริ่มทำงานให้นายจ้างแล้ว เมื่อลูกจ้างประสบเหตุทางรถยนต์ถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปเก็บเงิน จึงเป็นการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานนอกเวลางานปกติและการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน การเก็บเงินค่าสินค้าถือเป็นการทำงาน
การเดินทางไปเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าตามหน้าที่ ซึ่งนายจ้างไม่เคร่งครัดต่อการลงเวลาทำงานในแต่ละวันและลูกจ้างได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบแล้ว ทั้งเวลาที่เดินทางไปและเวลานัดหมายให้ไป รับเงินก็ต่อเนื่องและคาบเกี่ยวกับเวลาเริ่มทำงานปกติ เหมาะสมตามสภาพของงานที่ลูกจ้างจะพึงกระทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถือว่า เป็นการเริ่มทำงานให้นายจ้างแล้ว เมื่อลูกจ้างประสบเหตุทางรถยนต์ ถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางไปเก็บเงินจึงเป็นการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อการตายจากโรคหัวใจล้มเหลวเนื่องจากการทำงาน แม้ไม่ได้เกิดขณะปฏิบัติงาน
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 กำหนดนิยามของคำว่าเจ็บป่วยไว้ ซึ่งเห็นได้จากคำนิยามดังกล่าวว่าจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างแต่ละราย โดยพิจารณาตามลักษณะหรือสภาพของงานนั้น ๆ โดยหาได้มีข้อจำกัดว่าการที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรคที่เกิดขึ้นนั้น จะต้องเป็นการเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้างไม่ งานที่ผู้ตายทำมีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องใช้แรงงานมากต้องอยู่กับสภาพเสียงดังก่อให้เกิดความอ่อนเพลียและความเครียดแก่ผู้ตายอย่างมากผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหลอดโลหิตหัวใจล้มเหลวอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ถือได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานต้องด้วยคำนิยามว่า เจ็บป่วย ตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการทำงาน แม้ไม่ได้เกิดขณะปฏิบัติงาน
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 กำหนดคำนิยามของคำว่าเจ็บป่วยหมายความว่า การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรค ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างแต่ละรายโดยพิจารณาตามลักษณะหรือสภาพของงานนั้น โดยหาได้มีข้อจำกัดว่า การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้างไม่ การตายของผู้ตายจึงเป็นการตายด้วยโรค ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง เห็นได้ว่าลักษณะและสภาพของงานที่ผู้ตายทำซึ่งต้องใช้แรงงานมาก และต้องอยู่กับสภาพเสียงดังก่อให้เกิดความอ่อนเพลียและความเครียดแก่ผู้ตายเป็นอย่างมาก แล้วฟังว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหลอดโลหิตหัวใจล้มเหลวอันเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง กรณีจึงถือได้ว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุบัติเหตุระหว่างเดินทางไปทำงาน: ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
การที่โจทก์ออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ปรุงอาหารและประสบอุบัติเหตุขับรถชนต้นไม้ในระหว่างเดินทางก่อนถึงเวลาปฏิบัติงานนั้นโจทก์ยังไม่ได้ลงมือทำงานให้แก่บริษัทนายจ้าง แม้หัวหน้างานของโจทก์สั่งให้โจทก์มาทำงานในวันเกิดเหตุ งานที่โจทก์ได้รับมอบหมายให้ทำก็อยู่ในห้องครัวของบริษัทดังกล่าวอันเป็นสถานที่ที่โจทก์กำลังเดินทางไป และอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่าง6 นาฬิกา ถึง 15 นาฬิกาเท่านั้น การที่โจทก์ต้องกลับบ้านไปบอกให้ครอบครัวทราบว่าโจทก์จะต้องทำงานในวันเกิดเหตุจึงทำให้โจทก์ต้องเดินทางออกจากบ้านมายังที่ทำงาน เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ไม่เกี่ยวกับงานที่โจทก์จะต้องทำ และที่โจทก์ตั้งใจจะแวะซื้อเครื่องปรุงอาหารบางอย่างที่โจทก์เห็นว่าขาดหรือหมดไปจากตลาดที่อยู่ในระหว่างทางมาใช้ในการทำงานของโจทก์ด้วย ก็ไม่ปรากฎว่านายจ้างได้มีคำสั่งให้กระทำเช่นนั้น จึงแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์กระทำเอง ไม่ได้ทำตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างหรือเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์จึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายตามความหมายของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการเดินทางไปทำงาน: การเดินทางเพื่อทำงานยังไม่ถือเป็นการทำงานตามกฎหมายเงินทดแทน
การที่โจทก์ออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ปรุงอาหารและประสบอุบัติเหตุขับรถชนต้นไม้ในระหว่างเดินทางก่อนถึงเวลาปฏิบัติงานนั้นโจทก์ยังไม่ได้ลงมือทำงานให้แก่บริษัทนายจ้าง แม้หัวหน้างานของโจทก์สั่งให้โจทก์มาทำงานในวันเกิดเหตุ งานที่โจทก์ได้รับมอบหมายให้ทำก็อยู่ในห้องครัวของบริษัทดังกล่าวอันเป็นสถานที่ที่โจทก์กำลังเดินทางไป และอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่าง 6 นาฬิกา ถึง 15 นาฬิกาเท่านั้น การที่โจทก์ต้องกลับบ้านไปบอกให้ครอบครัวทราบว่าโจทก์จะต้องทำงานในวันเกิดเหตุจึงทำให้โจทก์ต้องเดินทางออกจากบ้านมายังที่ทำงาน เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ไม่เกี่ยวกับงานที่โจทก์จะต้องทำ และที่โจทก์ตั้งใจจะแวะซื้อเครื่องปรุงอาหารบางอย่างที่โจทก์เห็นว่าขาดหรือหมดไปจากตลาดที่อยู่ในระหว่างทางมาใช้ในการทำงานของโจทก์ด้วย ก็ไม่ปรากฏว่านายจ้างได้มีคำสั่งให้กระทำเช่นนั้น จึงแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์กระทำเอง ไม่ได้ทำตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างหรือเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์จึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายตามความหมายของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการเดินทางไปทำงาน: กรณีที่ยังไม่ได้เริ่มทำงาน และการซื้อของส่วนตัวไม่อยู่ในขอบเขตของหน้าที่
การที่โจทก์ออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่และประสบอุบัติเหตุในระหว่างเดินทาง โจทก์ยังไม่ได้ลงมือทำงานให้แก่นายจ้าง ที่โจทก์ต้องกลับบ้านไปบอกให้ครอบครัวทราบว่าโจทก์จะต้องทำงานในวันเกิดเหตุทำให้โจทก์ต้องเดินทางออกจากบ้านมายังที่ทำงานก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ไม่เกี่ยวกับงานที่โจทก์ต้องทำ และการที่โจทก์ตั้งใจแวะซื้อเครื่องปรุงอาหารบางอย่างที่โจทก์เห็นว่าขาดหรือหมดไปจากตลาดที่อยู่ในระหว่างทาง ก็ไม่ปรากฏว่านายจ้างได้มีคำสั่งให้กระทำเช่นนั้น จึงแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์กระทำเอง ไม่ได้ทำตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างหรือเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์มิใช่การประสบอันตรายตามความหมายของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน