พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8767/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ชี้ขาดอำนาจศาล
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 ได้บัญญัติไว้ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ถ้าศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลที่ส่งความเห็นให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลนั้นหรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ แต่ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลใด และวรรคท้ายของมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเองก่อนมีคำพิพากษาด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดยะลา) ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยเสียก่อนเบื้องต้นแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องโจทก์ไว้เป็นไม่รับฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะหน่วยงานของรัฐซึ่งฟ้องได้บรรยายถึงการกระทำโดยการใช้อำนาจทางกฎหมายของจำเลยทั้งสองอันเป็นที่มาของการก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) นั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นเองว่าคดีโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองก่อนมีคำพิพากษา ซึ่งกรณีนี้ได้แก่ศาลปกครองสงขลา ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองสงขลา หากศาลปกครองสงขลาเห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองสงขลา ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะโอนคดีไปยังศาลปกครองสงขลา หรือจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องคดีที่ศาลปกครองสงขลา แต่ถ้าศาลปกครองสงขลามีความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนี้ ศาลชั้นต้นก็ต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องไว้เป็นไม่รับฟ้องและศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7696/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดข้อเท็จจริงเพียงพอ ศาลยกฟ้องคดีบุคคลถูกตัดสิทธิสอบ
จำเลยทั้งสิบห้าเป็นคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 274 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 บัญญัติให้มีขึ้น การดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารงานบุคคล และเป็นการกระทำทางปกครองประเภทหนึ่ง ถ้าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีสิทธิเสนอคดีย่อมนำคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคสอง (2) บัญญัติว่า การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 271 บัญญัติว่า "ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น" ดังนั้น คดีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากาษากล่าวอ้างว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมที่เกี่ยวกับการไม่รับสมัครสอบโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสิบห้าในฐานะคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมได้ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำปี 2546 รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ไว้ และโจทก์ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนจึงสมัครสอบ แต่เมื่อประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบกลับไม่ปรากฏชื่อโจทก์ โจทก์มีหนังสือสอบถาม แต่ไม่ได้รับคำชี้แจง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับสิทธิสอบคัดเลือก คำสั่งในการตัดสิทธิสอบดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ดังกล่าว คือ คุณสมบัติประการใดบ้างโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการอย่างไร ที่ทำให้โจทก์มีสิทธิสอบ ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสิบห้าประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบแต่ไม่ปรากฏรายชื่อโจทก์ โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามเหตุผลไปยังเลขาธิการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม แต่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชี้แจงโดยไม่มีเหตุผล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์อาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเพื่อให้ต้องตอบหนังสือสอบถามของโจทก์ หากไม่ตอบเป็นการผิดต่อกฎหมายฉบับใด เพราะเหตุใด นอกจากนี้ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าในการมีคำสั่งตัดสิทธิสอบของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็มิได้ระบุว่าไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด มาตราใด เพราะเหตุใด ทั้งข้อหาหรือฐานความผิดโจทก์ระบุแต่เพียงว่าละเมิด ปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอื่น ๆ แต่ไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องใด มาตราใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้รับฟังได้ว่า มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสิบห้าในฐานะคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมได้ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำปี 2546 รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ไว้ และโจทก์ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนจึงสมัครสอบ แต่เมื่อประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบกลับไม่ปรากฏชื่อโจทก์ โจทก์มีหนังสือสอบถาม แต่ไม่ได้รับคำชี้แจง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับสิทธิสอบคัดเลือก คำสั่งในการตัดสิทธิสอบดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ดังกล่าว คือ คุณสมบัติประการใดบ้างโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการอย่างไร ที่ทำให้โจทก์มีสิทธิสอบ ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสิบห้าประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบแต่ไม่ปรากฏรายชื่อโจทก์ โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามเหตุผลไปยังเลขาธิการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม แต่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชี้แจงโดยไม่มีเหตุผล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์อาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเพื่อให้ต้องตอบหนังสือสอบถามของโจทก์ หากไม่ตอบเป็นการผิดต่อกฎหมายฉบับใด เพราะเหตุใด นอกจากนี้ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าในการมีคำสั่งตัดสิทธิสอบของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็มิได้ระบุว่าไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด มาตราใด เพราะเหตุใด ทั้งข้อหาหรือฐานความผิดโจทก์ระบุแต่เพียงว่าละเมิด ปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอื่น ๆ แต่ไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องใด มาตราใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้รับฟังได้ว่า มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลปกครอง: คดีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิเสธออกใบแทนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ยอมดำเนินการออกใบแทนใบสำคัญประจำตัวให้แก่โจทก์โดยไม่ถูกต้อง เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 9 (1) แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ แทนที่จะกล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีความหมายอย่างเดียวกันเพราะการกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ก็คือการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ต่อโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: การส่งความเห็นขัดแย้งบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ต้องเป็นกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ การที่จะพิจารณาว่าศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 จำเลยให้การว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางแต่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 276 ที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ มาตรา 9 บัญญัติยกเว้นมิให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 นั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนศาลปกครองเปิดทำการ
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯจะมีผลเป็นการจัดตั้งศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองในภูมิภาคขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองก็ตาม แต่ศาลปกครองเหล่านั้นจะเปิดทำการเมื่อใดต้องเป็นไปตามประกาศของประธานศาลปกครองสูงสุด เมื่อยังไม่มีประกาศดังกล่าวก็ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้มิฉะนั้นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แม้โจทก์จะใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ก็ตาม แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาล ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนศาลปกครองเปิดทำการ
เมื่อประธานศาลปกครองสูงสุดยังมิได้ประกาศกำหนดให้ศาลปกครองกลางเปิดทำการในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งเป็นศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 มาตรา 105 บัญญัติให้ศาลอื่นที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับ มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีนั้นถึงที่สุดเป็นเหตุผลที่แสดงว่าศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีปกครองที่ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่อไป คงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้เฉพาะคดีที่ยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติรับรองอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องจำหน่ายคดีให้ไปฟ้องต่อศาลปกครองที่จะเปิดทำการในเวลาต่อมาหาใช่ประสงค์จะจำกัดอำนาจศาลยุติธรรมไม่ให้รับฟ้องคดีปกครองในระหว่างที่ศาลปกครองกลางยังไม่ได้เปิดทำการดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา