พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เริ่มนับแต่วันเลิกจ้าง ไม่ต้องรอผลการพิจารณาเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และการที่ลูกจ้างจะเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องรอผลการวินิจฉัยในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมเสียก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง" ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่จ่ายให้ กรณีนายจ้างไม่บอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 และ ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี กรณีฟ้องของโจทก์อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2547 อันเป็นวันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 จึงเกินกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9649/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมว่าลูกจ้างได้รับครบถ้วนแล้ว
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานฝ่าฝืนจากคำพยานหลักฐานในสำนวนเช่นวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยก็ดีเอกสารหมายล.1ถึงล.13เป็นรายงานการปฏิบัติงานที่ไม่ชอบของโจทก์แต่ที่จริงเป็นเอกสารที่มีข้อความชดเชยโจทก์ก็ดีและควรวินิจฉัยว่าพยานบุคคลที่โจทก์นำมาสืบรับฟังได้ว่าโจทก์ปฏิบัติงานมาด้วยดีส่วนพยานหลักฐานของจำเลยล้วนแต่เป็นพนักงานของจำเลยไม่ควรรับฟังก็ดีปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้วินิจฉัยฝ่าฝืนพยานหลักฐานดังกล่าวโดยมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดเพราะเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยส่วนพยานเอกสารหมายล.1ถึงล.13ตรวจดูแล้วก็มิใช่หนังสือชมเชยการปฏิบัติงานของโจทก์ที่โจทก์อ้างว่ามีข้อความชดเชยว่าโจทก์ปฏิบัติงานดีก็ไม่มีปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นเอกสารใดคงมีแต่เอกสารหมายจ.7และจ.8ที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นล้วนแต่โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานจึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงส่วนที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ตักเตือนเป็นหนังสือและศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ถูกรองกรรมการผู้จัดการของจำเลยเขียนหนังสือเตือนให้ปรับปรุงตัวใหม่ก็มิใช่หนังสือเตือนตามกฎหมายนั้นเป็นเพียงการนำมาประกอบเหตุผลในการวินิจฉัยว่าพฤติกรรมในการทำงานของโจทก์มีอย่างไรเท่านั้นเพราะในกรณีเลิกจ้างและจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นั้นไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่ามีการเตือนเป็นหนังสือหรือไม่อุทธรณ์ข้อนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนแต่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสุดท้ายของเดือนเมื่อวันที่31กรกฎาคม2532จำเลยเลิกจ้างโจทก์และตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้นจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ตามเอกสารหมายล.9จำนวนเงิน73,920บาทซึ่งแยกเป็นค่าชดเชย63,350บาทกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า10,560บาทโจทก์ยอมรับว่าค่าชดเชยถูกต้องคงโต้แย้งเฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าดังนี้เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์วันที่31กรกฎาคม2532ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนจึงเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582วรรคหนึ่งซึ่งนายจ้างอาจจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่บัญญัติในมาตรา582วรรคสองเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอีก1เดือนเท่านั้นดังนั้นโจทก์จึงได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว