พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790-5822/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและกำหนดจ่ายสินจ้าง การบอกกล่าวล่วงหน้าต้องกระทำก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจำตลอดมา ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ตกลงกับลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกำหนดจ่ายค่าจ้างจากวันสิ้นเดือนเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน โดยปริยาย และเป็นกรณีไม่ตกอยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20
โจทก์ได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยจำเลยกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จึงมิใช่เป็นการบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในเดือนมิถุนายน 2541 อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในคราวถัดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 582
โจทก์ได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยจำเลยกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จึงมิใช่เป็นการบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในเดือนมิถุนายน 2541 อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในคราวถัดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790-5822/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกำหนดจ่ายค่าจ้างโดยปริยายและการบอกกล่าวเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจำตลอดมาย่อมถือได้ว่าจำเลยตกลงกับลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกำหนดการจ่ายค่าจ้างโดยปริยาย การที่โจทก์ทั้งสามสิบสามได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า ณ วันสิ้นเดือนจึงมิใช่เป็นการบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนจะกำหนดจ่ายสินจ้าง อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในคราวถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องเกิดขึ้นขณะเลิกจ้าง การกระทำหลังเลิกจ้างมิอาจเป็นเหตุเลิกจ้างได้ และลูกจ้างทดลองงานก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ
++ เรื่อง คดีแรงงาน
++ คดีแดงที่ 4530-4534/2543
++
การกระทำความผิดของลูกจ้างที่จะทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดที่นายจ้างถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างซึ่งจะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2541แต่การกระทำของโจทก์ทั้งหกที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงนั้นเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกแล้วการกระทำดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างย้อนหลังเพื่อเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกในวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างได้ แม้จะให้การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2541 ก็ตาม
จำเลยก็ไม่ได้ออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกใหม่อีกครั้งโดยยกเอาการกระทำภายหลังดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกเป็นเหตุเลิกจ้าง ฉะนั้นไม่ว่าการกระทำภายหลังของโจทก์ทั้งหกดังกล่าวจะเป็นความผิดตามที่จำเลยอุทธรณ์หรือไม่ ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างได้กำหนดไว้ในข้อ 2ว่า "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โดยไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างทดลองงานไม่ให้ถือว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายแห่งประกาศข้อดังกล่าว โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ตั้งแต่เป็นลูกจ้างทดลองงานแล้ว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 กันยายน 2539 ข้อ 7 ที่กำหนดว่า ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในส่วนที่จ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามประกาศดังกล่าวให้แก่โจทก์
++ คดีแดงที่ 4530-4534/2543
++
การกระทำความผิดของลูกจ้างที่จะทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดที่นายจ้างถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างซึ่งจะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2541แต่การกระทำของโจทก์ทั้งหกที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงนั้นเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกแล้วการกระทำดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างย้อนหลังเพื่อเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกในวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างได้ แม้จะให้การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2541 ก็ตาม
จำเลยก็ไม่ได้ออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกใหม่อีกครั้งโดยยกเอาการกระทำภายหลังดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกเป็นเหตุเลิกจ้าง ฉะนั้นไม่ว่าการกระทำภายหลังของโจทก์ทั้งหกดังกล่าวจะเป็นความผิดตามที่จำเลยอุทธรณ์หรือไม่ ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างได้กำหนดไว้ในข้อ 2ว่า "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โดยไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างทดลองงานไม่ให้ถือว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายแห่งประกาศข้อดังกล่าว โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ตั้งแต่เป็นลูกจ้างทดลองงานแล้ว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 กันยายน 2539 ข้อ 7 ที่กำหนดว่า ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในส่วนที่จ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามประกาศดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอ้างเหตุเลิกจ้างภายหลังหนังสือเลิกจ้าง
แม้นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันมีลักษณะตามข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตาม แต่เมื่อนายจ้างมิได้อ้างเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างโดยนายจ้างเพิ่งจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเมื่อถูกลูกจ้างฟ้องคดีศาลแรงงานย่อมไม่สามารถจะหยิบยกข้อต่อสู้ของนายจ้างมาประกอบการพิจารณาได้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างอ้างเหตุเลิกจ้างภายหลังไม่ได้ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลไม่อาจนำมาพิจารณาได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
แม้นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างกระทำต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันมีลักษณะตามข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตาม แต่เมื่อนายจ้างมิได้อ้างเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างโดยนายจ้างเพิ่งจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเมื่อถูกลูกจ้างฟ้องคดี ศาลแรงงาน ย่อมไม่สามารถจะหยิบยกข้อต่อสู้ของนายจ้างมาประกอบการพิจารณาได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างงานและสิทธิของลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างจึงอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง
จำเลยมีกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2541 ซึ่งเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างก่อนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันจ่ายค่าจ้าง ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยอาจกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่เมื่อจำเลยแสดงเจตนาในหนังสือเลิกจ้างกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 กันยายน2541 ก็ย่อมทำได้ และถือว่าการเลิกจ้างมีผลในวันดังกล่าวตามเจตนาของจำเลยแล้วตามมาตรา 118 วรรคสอง แต่จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2541 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 582 วรรคสอง และพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่
เมื่อการเลิกจ้างมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 โจทก์ซึ่งเข้าทำงานเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2538 ทำงานถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 รวมอายุงานได้ 2 ปี 11 เดือน 27 วัน จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (2)
จำเลยมีกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2541 ซึ่งเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างก่อนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันจ่ายค่าจ้าง ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยอาจกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่เมื่อจำเลยแสดงเจตนาในหนังสือเลิกจ้างกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 กันยายน2541 ก็ย่อมทำได้ และถือว่าการเลิกจ้างมีผลในวันดังกล่าวตามเจตนาของจำเลยแล้วตามมาตรา 118 วรรคสอง แต่จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2541 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 582 วรรคสอง และพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่
เมื่อการเลิกจ้างมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 โจทก์ซึ่งเข้าทำงานเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2538 ทำงานถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 รวมอายุงานได้ 2 ปี 11 เดือน 27 วัน จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้าง, วันมีผลเลิกจ้าง, และสิทธิค่าชดเชยตามอายุงาน
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลานายจ้างหรือลูกจ้างจึงอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง
จำเลยมีกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2541 ซึ่งเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างก่อนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันจ่ายค่าจ้าง ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยอาจกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่เมื่อจำเลยแสดงเจตนาในหนังสือเลิกจ้างกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 กันยายน 2541 ก็ย่อมทำได้ และถือว่าการเลิกจ้างมีผลในวันดังกล่าวตามเจตนาของจำเลยแล้วตามมาตรา 118 วรรคสองแต่จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จนถึงวันที่ 30กันยายน 2541 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคสองและพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่
เมื่อการเลิกจ้างมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 โจทก์ซึ่งเข้าทำงานเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2538 ทำงานถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 รวมอายุงานได้ 2 ปี 11 เดือน 27 วัน จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (2)
จำเลยมีกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2541 ซึ่งเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างก่อนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันจ่ายค่าจ้าง ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยอาจกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่เมื่อจำเลยแสดงเจตนาในหนังสือเลิกจ้างกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 กันยายน 2541 ก็ย่อมทำได้ และถือว่าการเลิกจ้างมีผลในวันดังกล่าวตามเจตนาของจำเลยแล้วตามมาตรา 118 วรรคสองแต่จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จนถึงวันที่ 30กันยายน 2541 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคสองและพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่
เมื่อการเลิกจ้างมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 โจทก์ซึ่งเข้าทำงานเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2538 ทำงานถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 รวมอายุงานได้ 2 ปี 11 เดือน 27 วัน จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกจ้างด้วยวาจาและการยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119
ในการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้นั้น มีบัญญัติเป็นหลักทั่วไปไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582ซึ่งมิได้กำหนดไว้ว่าการบอกเลิกการจ้างจะต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การบอกเลิกการจ้างจึงอาจจะทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือเพื่อเลิกจ้างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย กำหนดมิให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วยเหตุนี้หากมีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติในสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบ ขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา ส่วนบทบัญญัติมาตรา 17 วรรคสาม มีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างจะยกขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น มาตรา 17 วรรคสาม จึงมิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้นายจ้างบอกเลิกการจ้างด้วยวาจา เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ไว้ในรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งมีสาระสำคัญถึงเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 119 คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป เพราะหากฟังได้ว่าจำเลยได้บอกเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว แม้จะเป็นการบอกเลิกจ้างด้วยวาจา จำเลยก็อาจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ จึงต้องสืบพยานและฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างด้วยวาจาและสิทธิในการอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องแจ้งเหตุขณะบอกเลิกจ้าง
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือถูกจำกัดโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย ว่าไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา119 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
บทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยมิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามหาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ
บทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยมิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามหาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างด้วยวาจาและการแจ้งเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือถูกจำกัดโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย ว่า ไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม หาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาจำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม หาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาจำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ