คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1251

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนด จึงหมดสิทธิร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชี
โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์เพียงแต่ยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีไว้ โดยหาได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ไม่ กลับปล่อยเวลาล่วงเลย 10 ปีไปแล้วจึงได้ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียน ดังนี้ ขณะที่โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เพราะล่วงพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ดังนั้น โจทก์ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย จึงไม่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้ส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อชำระบัญชี ไม่ใช่การมอบอำนาจวินิจฉัยคดี
ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ชำระบัญชี เมื่อมีเหตุขัดข้องในการชำระบัญชี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์จำเลยเสนอหลักฐานต่าง ๆต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หาใช่เป็นการมอบอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกหนี้หลังเลิกบริษัท, การตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อกรรมการขัดแย้ง, และอำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อบริษัทเลิกกันแล้ว หน้าที่นำความไปจดทะเบียนเป็นของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1254 แต่บริษัท น. ยังไม่มีผู้ชำระบัญชี ทั้งโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท น.ยังโต้แย้งกันอยู่ในเรื่องการชำระบัญชี กรรมการของบริษัทย่อมยังไม่เข้าเป็นผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยซึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไปจดทะเบียนเลิกบริษัท น. เมื่อบริษัทเลิกกันแล้วแต่ยังไม่มีการชำระบัญชี จึงถือเป็นกรณีที่ผู้ชำระบัญชียังไม่ได้จัดการให้เงินหรือสิทธิเรียกร้องในหนี้ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจะต้องชำระให้แก่บริษัทเป็นของผู้ถือหุ้นคนใดโจทก์ในฐานะส่วนตัวที่เป็นผู้ถือหุ้นและไม่ใช่เป็นผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้ได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัท น.แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สมควรจะเป็นผู้ชำระบัญชี เพราะโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัท น. ต่างไม่ไว้วางใจกันและไม่อาจเป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกัน และเป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้ชำระบัญชีศาลก็มีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นคนกลางเป็นผู้ชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-เลิกห้าง-อำนาจฟ้อง-ภาษีเด็ดขาด-หนี้ภาษี
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและต้อง มีการชำระบัญชี ซึ่ง ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดย จำเลยที่ 2ในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12491251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1โดย จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้อง รับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำ กว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนิน กิจการมาให้ตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522,2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาทจำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี แต่ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการให้จำเลยรับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068,1050 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดเจ้าหน้าที่ของโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1ให้มาพบกับมีหมายเรียกให้มาไต่สวนให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนทั้งไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลประเมินภาษีแล้วให้จำเลยที่ 1ทราบ จำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้อุทธรณ์แต่อย่างใด ฉะนั้นภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นภาษีเด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 87 ทวิ,88,21 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีที่เจ้าพนักงานประเมิน ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ เจ้าหน้าที่ของโจทก์หมายเรียกมาสอบถามและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบแต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปไต่สวนและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ประเมินและแจ้งผลการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ทราบแล้วจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 71(1),21 จำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า500,000 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-การเลิกห้าง-ภาษีค้างชำระ: ศาลยืนฟ้องล้มละลายได้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี ซึ่งห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 1251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้
จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522, 2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) 21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสมาคมและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1293 และ 1251 วรรคแรก ให้คณะกรรมการสมาคมเป็นผู้ชำระบัญชี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1293 เป็นบทบัญญัติถึงการเลิกสมาคม และให้ตั้งผู้ชำระบัญชี แต่เมื่อศาลมีคำสั่งเลิกสมาคมแล้ว จะตั้งผู้ใดเป็นผู้ชำระบัญชีได้บ้าง ต้องอาศัยมาตรา 1294ซึ่งให้นำมาตรา 1251 มาใช้โดยอนุโลม โดยมาตรา 1251 วรรคแรกเป็นบทบัญญัติถึงเรื่องที่จะตั้งผู้ใดเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี เลิกกิจการเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย มิใช่จำกัดเฉพาะคดีที่เลิกโดยหุ้นส่วนของห้าง ฯหรือคณะกรรมการของบริษัท หรือสมาคมลงมติให้เลิก แม้แต่ศาลมีคำสั่งเลิกสมาคมโดยมีผู้ร้องขอตามมาตรา 1293 ก็อยู่ในบังคับของมาตรานี้ และเมื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือสมาคมเลิกกัน มาตรา 1251 วรรคแรกกำหนดให้หุ้นส่วนผู้จัดการห้าง หรือกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชี ฉะนั้นถ้าเป็นกรณีของสมาคมก็ต้องให้คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ชำระบัญชี เว้นแต่จะมีข้อสัญญาของห้าง ฯ หรือข้อบังคับของบริษัทหรือสมาคมกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นแต่ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าวในวรรคแรก จึงจะนำวรรคสองของมาตรา1251 มาใช้บังคับ โดยพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียเป็นผู้ร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชี ซึ่งศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้ชำระบัญชีก็ได้
ศาลชั้นต้นสั่งให้เลิกสมาคมผู้ร้อง ซึ่งสมาคมผู้ร้องยังมีรายชื่อคณะกรรมการที่จดทะเบียนไว้อยู่ และข้อบังคับของสมาคมมิได้กำหนดเกี่ยวกับการตั้งผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่น คำสั่งศาลที่ตั้งให้คณะกรรมการของสมาคมผู้ร้องเป็นผู้ชำระบัญชีจึงถูกต้องแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน กรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่และมีข้อขัดแย้ง
การตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น แม้จะเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้และบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างด้วย แต่ก็เพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างเป็นประการสำคัญ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 ซึ่งแสดงว่าผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงไว้ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนให้ใครเป็นผู้ชำระบัญชีก็ได้ เมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดและ ว. สามีผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ว. ถึงแก่กรรม มีผลให้ห้างเลิกและต้องตั้งผู้ชำระบัญชี การที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีเพราะผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีโดยคำสั่งศาลไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1253, 1254 และมีข้อขัดแย้งกันอยู่กับผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้ชำระบัญชีและตั้ง ส. เป็นผู้ชำระบัญชีคนใหม่แทนตามคำร้องของผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนและตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด กรณีผู้ชำระบัญชีไม่ปฏิบัติหน้าที่ และมีข้อขัดแย้งกับผู้ร้อง
การตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น แม้จะเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้และบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างด้วย แต่ก็เพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างเป็นประการสำคัญ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251ซึ่งแสดงว่าผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงไว้ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนให้ใครเป็นผู้ชำระบัญชีก็ได้เมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดและ ว. สามีผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการว. ถึงแก่กรรมมีผลให้ห้างเลิกและต้องตั้งผู้ชำระบัญชีการที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีเพราะผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีโดยคำสั่งศาลไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1253,1254 และมีข้อขัดแย้งกันอยู่กับผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้ชำระบัญชีและตั้ง ส. เป็นผู้ชำระบัญชีคนใหม่แทนตามคำร้องของผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสมาคมที่ถูกเพิกถอน: ผู้ชำระบัญชียังมีอำนาจฟ้องได้จนกว่าการชำระบัญชีจะเสร็จสิ้น
ป. นายกสมาคมโจทก์ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของสมาคมโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 1294 แม้สมาคมโจทก์ถูกลบชื่อจากทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี สมาคมโจทก์โดยป. ผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวของโจทก์ได้
of 5