คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1251

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8937/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกบริษัทจำกัดจากความขัดแย้งกรรมการ และการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีที่เป็นกลาง
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัท ซ. หยุดทำการเนื่องจากเกิดความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายผู้ร้องที่ 1 กับฝ่ายผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท และต่างฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน เช่นนี้ หากแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชี ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะต้องเกิดปัญหาในการชำระบัญชี เป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชี และไม่เกิดประโยชน์แก่บริษัท ซ. การที่ศาลล่างทั้งสองแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชี ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลฎีกามีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นซึ่งถือว่าเป็นคนกลางเป็นผู้ชำระบัญชีได้ และเห็นสมควรแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้ชำระบัญชีแทนผู้คัดค้านที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10525/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่ความตาย และการตั้งผู้ชำระบัญชี
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1055 (5) ประกอบมาตรา 1080 ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย เมื่อ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ถึงแก่ความตายลงย่อมเป็นเหตุให้ห้างดังกล่าวเลิกกัน อันเป็นไปตามผลของกฎหมาย โดยมิจำต้องพิจารณาว่ามีข้อขัดแย้งกันระหว่างทายาทผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายกับหุ้นส่วนที่เหลือหรือไม่ และแม้มาตรา 1060 จะบัญญัติว่าในกรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเพราะเหตุตามมาตรา 1055 (4) หรือ (5) ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไป สัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังคงอยู่ด้วยกัน แต่ก็ได้ความว่าหุ้นของ อ. ยังไม่มีการดำเนินการโอนไปยังทายาทหรือหุ้นส่วนอื่นแต่อย่างใด เหตุที่ทายาทยังไม่อาจรับโอนหุ้นของ อ. และห้างไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้เพราะค้างชำระค่าภาษีนั้นก็มิใช่เหตุอันจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันย่อมต้องมีการชำระบัญชีเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วน ตลอดจนเจ้าหนี้ รวมทั้งบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างหุ้นส่วนภายหลังจากห้างหุ้นส่วนจำกัดพ้นสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วน จัดการใช้หนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้น โดยมาตรา 1249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการห้างย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี เว้นไว้แต่สัญญาของห้างจะมีกำหนดไว้เป็นสถานอื่น แต่ถ้าไม่มีผู้ชำระบัญชีดังว่ามานี้ เมื่อพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้ร้องขอ ศาลย่อมตั้งผู้ชำระบัญชีให้ได้ ตามมาตรา 1251 ซึ่งในกรณีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นี้ เมื่อเลิกกันเพราะ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อบังคับของห้างกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ชำระบัญชี ทั้งไม่มีผู้ใดเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของห้าง พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียย่อมร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากจะเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนที่เหลือ ทายาท หรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายแล้ว ย่อมหมายรวมถึงบรรดาเจ้าหนี้ของห้างด้วยเพราะการชำระบัญชีย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ หรือบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างเป็นสำคัญ หากไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อสะสางทรัพย์สินหนี้สินของห้าง ผู้เป็นเจ้าหนี้หรือติดต่อค้าขายกับห้างอาจได้รับความเสียหายได้ เมื่อได้ความจากคำเบิกความผู้ร้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องได้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี อันเป็นการตั้งสิทธิเรียกร้องเพื่อบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของห้าง เช่นนี้ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6783/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบริษัทหลังจดทะเบียนเลิก และอำนาจฟ้องคดีของโจทก์
ในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยนายทะเบียนได้ขีดชื่อบริษัทจำเลยออกจากทะเบียนแล้ว อันเป็นผลทำให้บริษัทต้องเป็นอันเลิกกันแต่เมื่อการเลิกโดยเหตุที่นายทะเบียนขีดชื่อนั้น เป็นการเลิกโดยเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย จึงต้องมีการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 และมาตรา 1249 บัญญัติไว้ว่า แม้ว่าบริษัทจะเลิกกันแล้วก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี เมื่อปรากฏว่ายังไม่มีการชำระบัญชีของจำเลยจึงถือว่าบริษัทคงตั้งอยู่ตลอดมา โจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีหลังเพิกถอนการเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ศาลมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่ไม่ใช่โจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ชำระบัญชีและให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชี เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนและให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดตามคำขอของโจทก์แล้ว จึงเป็นกรณีผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง ซึ่งศาลย่อมมีอำนาจตั้งผู้ชำระบัญชีได้ และตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติบังคับศาลให้ต้องตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นคนกลางได้ ไม่เป็นการมีคำพิพากษา หรือคำสั่งเกินคำขอของโจทก์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เมื่อการเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดมิได้เกิดจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลายอันจะเป็นเหตุให้สมควรตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ชำระบัญชี จึงเห็นสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งสมัครใจให้เป็นผู้ชำระบัญชีแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี: ศาลมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นไม่ใช่เฉพาะโจทก์ตามคำขอ
ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง มิได้บังคับศาลต้องแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีได้ และไม่เป็นการมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8047/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคลล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
อำนาจฟ้องในคดีอาญาเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงทำให้บริษัทโจทก์เป็นอันเลิกกันโดยบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) และโจทก์ย่อมหมดอำนาจที่จะทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปอีก การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการแต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 , 24 ทั้งมาตรา 1247 ก็บัญญัติไว้ว่า การชำระบัญชีบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามบทกฎหมายล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ ดังนั้นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่กลับมีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้อีกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เพราะมาตรา 1251 ก็ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้แล้วว่าบริษัทในเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย กรรมการของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี คดีนี้บริษัทโจทก์เลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย กรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีและไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 1252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340-6345/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินหลังบริษัทร้าง: สิทธิของผู้ชำระบัญชี, การโอนโดยมิชอบ, และความสุจริตของผู้รับโอน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกขอให้โอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อันเป็นการใช้อำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 (1) และเมื่อเพิกถอนการโอนได้แล้วที่ดินพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. มิได้ตกเป็นของโจทก์ ส่วนที่โต้แย้งว่าโจทก์เลือกปฏิบัติโดยไม่ฟ้องดำเนินคดีแก่บุตรของโจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับโอนที่ดินจากบริษัท อ. นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากจำเลยทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท อ. เห็นว่า โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการถอดถอนโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ต่อไป การที่โจทก์ไม่ฟ้องบุคคลอื่นดังกล่าว จึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246 (5) ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การที่ผู้ชำระบัญชีโอนที่ดินพิพาทของบริษัท อ. ให้แก่จำเลยทั้งหกตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบ จำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง จำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทและการชำระบัญชี: ศาลสั่งตั้งผู้ชำระบัญชีหลังถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
บริษัท น.จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาบริษัท น.หยุดประกอบกิจการ เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและได้ประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทำให้บริษัท น.เป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย และเมื่อเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลาย จึงต้องมีการชำระบัญชีของบริษัท น.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 เพื่อให้ผู้ชำระบัญชีเข้ามาจัดการงานของบริษัทเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมทรัพย์สิน จำหน่ายทรัพย์สิน ชำระหนี้คืนทุนแบ่งกำไรหรือขาดทุน และทำการอย่างอื่น ๆ ตามแต่จำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี การที่ผู้ร้องในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท น.ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี จึงมิใช่เป็นการข้ามขั้นตอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1246 (6) เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้สั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนบริษัท ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายและการตั้งผู้ชำระบัญชี
บริษัท น. ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯ ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษา บริษัท น. จึงเป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย อันเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลายซึ่งต้องมีการชำระบัญชีของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 ผู้ร้องในฐานะกรรมการของบริษัท น. จึงมีอำนาจขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายและการตั้งผู้ชำระบัญชี กรณีบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
บริษัท น. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาบริษัท น. หยุดประกอบกิจการ เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและได้ประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษาแล้วทำให้บริษัท น. เป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย และเมื่อเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลาย จึงต้องมีการชำระบัญชีของบริษัท น. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 เพื่อให้ผู้ชำระบัญชีเข้ามาจัดการงานของบริษัทเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมทรัพย์สิน จำหน่ายทรัพย์สิน ชำระหนี้คืนทุนแบ่งกำไรหรือขาดทุน และทำการอย่างอื่น ๆ ตามแต่จำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี การที่ผู้ร้องในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท น. ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี จึงมิใช่เป็นการข้ามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6) เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้สั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนบริษัท ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี
of 5